ป้ายกำกับ :
วิทูรย์ ทิพย์กองลาศ
ศรีลังกาลาแล้ว
นาอูชา คนขับตุ๊กๆ ผู้กลายมาเป็นเพื่อน เมื่อคืนนี้เขาจอดตุ๊กๆ ค้างคืนไว้ที่ลานจอดรถแห่งหนึ่ง ดื่มเบียร์กับผมแล้วเขาก็โบกตุ๊กๆ กลับบ้าน เช้านี้โดยสารตุ๊กๆ ของคนอื่นไปยังตุ๊กๆ ของตัวเอง จ่ายค่าที่จอด 150 รูปีแล้วขับมาหาผมที่โรงแรม
วัดกัลยาณีและเพื่อนชาวศรีลังกา
มหาวงศ์-พงศาวดารศรีลังกาบันทึกไว้ว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมายังเกาะลังกา 3 ครั้งตลอดพระชนม์ชีพ ครั้งที่ 3 คือบริเวณวัดเกลานิยะ (Kelaniya Temple) หรือ “วัดกัลณียา” ชานกรุงโคลัมโบในปัจจุบัน
ความเป็นไทยในโคลอมเบีย
ท่ามกลางผู้ที่เตะต่อยเป้ามวยไทยอยู่บนเวทีหอประชุมมหาวิทยาลัยซานโตโทมัส หนึ่งในนั้นคือท่านสรยุทธ ชาสมบัติ เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐโคลอมเบีย ส่วนคนล่อเป้าคือเดวิด กอนซาเลซ ประธานสมาพันธ์มวยไทยแห่งโคลอมเบีย อดีตแชมป์มวยไทยรุ่นเล็กของภูมิภาคลาตินอเมริกา
วัดหลวงพ่อโตแห่งเมืองแคนดี
ออกจากวัดพระเขี้ยวแก้วแล้วผมก็แวะกินมื้อค่ำที่ร้าน The Pub บนถนน Sri Dalada Veediya มีเครื่องดื่มเป็นเบียร์ 2 ไพนต์ ตามด้วยสุรากลั่นจากน้ำตาลจั่นมะพร้าวหรือที่เรียกว่า “อารัค” อีก 2 แก้ว ก่อนเรียกเก็บเงินเดินกลับที่พักเวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง
สักการะพระเขี้ยวแก้ว
“ผู้ใดครองพระเขี้ยวแก้ว ผู้นั้นได้สิทธิ์ครองราชบัลลังก์” ชาวศรีลังกาถือคตินี้สืบต่อกันมาช้านาน แต่หากจะกล่าวใหม่ว่า “ผู้ใดครองราชบัลลังก์ ผู้นั้นได้สิทธิ์ครองพระเขี้ยวแก้ว” ดูจะตรงตามความเป็นจริงมากกว่า
แคนดีกับการเสียกรุงและความเกี่ยวข้องกับสยาม
หากกล่าวกันตามความเป็นจริง ศรีลังกา หรือชื่อเดิมคือ “ราชารตะ” อันมีเอกราชสืบต่อมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าวิชัยที่เสด็จมาจากดินแดนในอนุทวีปอินเดียและได้ก่อตั้ง “ราชอาณาจักรทัมบาปันนี” ขึ้นเมื่อ พ.ศ.1 นั้น
ทะเลสาบแคนดีและพระอุบาลีเถระ
ศรีลังกามีประวัติความเป็นชาติยาวนานมากกว่า 2,600 ปี ใน 14 ศตวรรษแรกราชธานีอยู่ที่อนุราธปุระ จากนั้นย้ายไปที่โปลอนนารุวะเกือบ 2 ร้อยปี ธรรมเปนียะ 1 ร้อยกว่าปี กัมโพละไม่ถึง 1 ร้อยปี โกตเตเกือบ 2 ร้อยปี สิตาวกะช่วงสั้นๆ ก่อนจะถึงกรุงกัณฏี หรือ “แคนดี” ดินแดนเอกราชผืนสุดท้ายบนเกาะลังกา
สิกิริยา–ดัมบุลลา
ฝนพรำลงมาตั้งแต่เช้าตรู่ หรืออาจตกโปรยปรายมาหลายชั่วโมงก่อนรุ่งสางก็เป็นได้ ผมเดินลงจากบ้านต้นไม้ของเกสต์เฮาส์อย่างระมัดระวังเพราะกลัวจะลื่นไถลตกบันไดรับอรุณ
มอง ‘สิกิริยา’ จาก ‘ปิดูรังกาลา’
เราจะกล่าวได้หรือไม่ว่า “ชนใดใส่ใจในอาหารเช้า ชนนั้นมีอารยธรรม” และอาจกล่าวต่อไปได้ว่า “ลักษณะของอาหารเช้าบ่งบอกพื้นฐานงานอาชีพ” อย่างเช่น ถ้าอาหารเช้าของชนชาติใดมากไปด้วยสารอาหารประเภทแป้งและจัดเตรียมไว้หลากหลายชนิด ประชากรหลักของถิ่นฐานนั้นน่าจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม
อวุกนะ-พระพุทธรูปหินแห่งความเพียร
ในบรรดาผู้เดินทางท่องเที่ยวศรีลังกา สิกิริยา-พระราชวังบนก้อนหินยักษ์เป็นหนึ่งในจุดหมายอย่างไม่ต้องสงสัย แต่หากนักท่องเที่ยวท่านใดมีต้นทางจากอนุราธปุระแล้วล่ะก็ แนะนำว่าอย่าเพิ่งเร่งรีบมุ่งหน้าไปยังสิกิริยา เพราะ “อวุกนะ” พระพุทธรูปองค์โตแกะสลักจากหินอายุเกือบ 1,600 ปี ตั้งอยู่ระหว่างต้นทางและปลายทาง รอให้ท่านแวะไปกราบสักการะ
จาฟฟ์นาลาแล้ว
บนถนน Hospital Rd. ระหว่างทางเดินจากสถานีรถไฟจาฟฟ์นากลับที่พักในย่านใจกลางเมืองมีร้านอาหารตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายมือหลายร้าน หลังจากมื้อเช้าที่โฮสเทล และมื้อเที่ยงอย่างง่าย
หนุ่มทมิฬและสาวเยอรมัน
หากใครบางคนกดลิฟต์ขึ้นไปยังชั้นดาดฟ้าของโรงแรม Jetwing ในเมืองจาฟฟ์นาโดยที่เขาไม่ได้เป็นแขกของโรงแรม ให้สันนิษฐานว่าเขาต้องการขึ้นไปดื่มเครื่องดองของเมาเป็นการเฉพาะ เพราะบนชั้นดาดฟ้าคือที่ตั้งของ Rooftop Bar และตามข้อมูลที่ผมได้รับนี่คือบาร์แห่งเดียวในตัวเมืองจาฟฟ์นา
ขึ้นเหนือสู่ ‘จาฟฟ์นา’
ทัวร์เมืองโบราณอนุราธปุระและมหินทเลด้วยรถตุ๊กๆ ของผมจบลงโดยใช้เวลารวมกันประมาณ 6 ชั่วโมงเท่านั้น เริ่มในช่วงสายแก่ๆ และจบลงในตอนเย็น คุณน้าวสันตรา คนขับตุ๊กๆ บริหารเวลาให้ครอบคลุมสถานที่สำคัญๆ ส่วนใหญ่
ชมโบราณสถาน ‘อนุราธปุระ’ (จบ)
หลังจากจัดการกับแซนด์วิชคนละชิ้นเป็นมื้อกลางเสร็จเรียบร้อย ผมก็ตอบตกลงที่จะไป “มหินทเล” กับน้าวสันตรา- คนขับตุ๊กๆ ซึ่งพอผมตอบตกลงแกก็พาไปชมโบราณสถานในเมืองโบราณอนุราธปุระอีกแค่ 1 แห่งก่อนมุ่งหน้ามหินทเล ผมค่อนข้างแน่ใจว่าแกได้ตัดบางสถานที่สำคัญออกไปเพื่อทำเวลา
ชมโบราณสถาน ‘อนุราธปุระ’ (2)
โบราณสถานในอดีตราชธานี “อนุราธปุระ” มีอยู่มากมายหลายแห่ง เพราะเมืองโบราณแห่งนี้กินพื้นที่กว้างขวางมากกว่า 40 ตารางกิโลเมตร จึงมีการจัดลำดับ
ชมโบราณสถาน ‘อนุราธปุระ’
พงศาวดาร “มหาวงศ์” บันทึกไว้ว่าเจ้าชายวิชัยจากอาณาจักรสิงหปุระในอนุทวีปอินเดีย เดินทางพร้อมทหารและผู้ติดตามประมาณ 700 คน ถึงลังกาทวีปเมื่อ พ.ศ.1 หรือปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานตามการนับแบบศรีลังกา
นั่งรถไฟไปอนุราธปุระ
ถนนหนทางในกรุงโคลัมโบมีรถตุ๊กๆ วิ่งวนทำมาหากินวันละหลายแสนคัน บางครั้งคนขับตุ๊กๆ ก็เรียกยานพาหนะของพวกเขาเองว่า “แท็กซี่” เพราะรถยนต์ที่เป็นแท็กซี่ไม่ออกมาวิ่งหาลูกค้าตามท้องถนน แต่จะรอการเรียกทางโทรศัพท์และทาง App
ตุ๊กๆ โคลัมโบ (ตอนต่อมา)
สิ้นสุดการตระเวนถ่ายภาพสถานที่สำคัญในย่าน Cinnamon Gardens ลงในเวลาไม่ถึง 3 ชั่วโมง และภาวะอึดอัดกระอักกระอ่วนในร้านอัญมณีและเครื่องประดับอีกราว 20 นาที
ทัวร์สวนอบเชยกับตุ๊กๆ โคลัมโบ
เสียงของเครื่องยนต์ที่ดังตุ๊กๆๆๆ ทำให้รถสามล้อเครื่องมีชื่อเรียกอย่างกว้างขวางทั่วโลกว่า Tuk Tuk บางประเทศอาจเรียกแตกต่างกันออกไปบ้าง ภาษากลางของโลกเรียกว่า “ออโตริคชอว์”
จากเมืองคริสต์สู่เมืองพุทธ
“ค่าซิมการ์ด 200 รูปี ค่าทำให้ซิมการ์ดใช้งานได้ 150 รูปี ค่าโทร 60 นาที 200 รูปี ค่าอินเทอร์เน็ต 4 GB 300 รูปี รวมทั้งหมด 850 รูปี” คือคำอธิบายค่าใช้จ่ายการเปิดเบอร์โทรโดยหนุ่มเจ้าร้านขายของชำเล็กๆ ขนาด 1 คูหาจิ๋ว แต่เป็นตัวแทนขายซิมการ์ดพร้อมแพ็กเกจมือถือของ Dialog ยักษ์ใหญ่สื่อสารของศรีลังกา