หมวดหมู่: ยังไม่ตายก็อยู่กันไป

45 ปี 6 ตุลาฯ : แนวโน้มการครองอำนาจยาวนานของผู้นำทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงระหว่างและหลังสงครามเย็น

แม้ว่าการเมืองพม่าจะตกอยู่ภายใต้รัฐบาลทหารที่มีนายพลเนวินเป็นผู้นำต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 26 ปี แต่การครองอำนาจยาวนานของนายพลเนวินไม่ได้เริ่มต้นเมื่อเขาได้เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรกในปลายปี พ.ศ. 2501 เพราะในการขึ้นสู่อำนาจครั้งนั้นเกิดขึ้นจากการที่นายอู นุ ลาออกและเชิญ

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตอนที่ ๑)

แปดเดือนหลังเสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนใจอย่างยิ่งต่อประเด็นปัญหาเรื่องรูปแบบการปกครองของสยาม โดยวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙

ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๓): ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัฐธรรมนูญ จาก พ.ศ. ๒๔๗๕-ปัจจุบัน 'อำนาจการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์'

หลังจากตอนที่ ๑ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ออกไป มีผู้อ่านคือ คุณ Manit Sriwanichpoom ให้ความเห็นมาว่า           “หากมองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรธน.60 จะเห็นว่าบทบาทตัวแทนประชาชนผ่านรัฐสภากับสถาบันกษัตริย์​ได้ถูกลดทอนลงไปจากรธน.ฉับก่อนๆ​ ในแง่นี้จำเป็นหรือไม่ที่เรื่องควรผ่านความเห็นชอบของสภา​ก่อน

ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๒): ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัฐธรรมนูญ จาก พ.ศ. ๒๔๗๕-ปัจจุบัน 'อำนาจการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์'

หลังจากตอนที่ ๑ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ออกไป มีผู้อ่านคือ คุณ Manit Sriwanichpoom ให้ความเห็นมาว่า “หากมองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรธน.60 จะเห็นว่าบทบาทตัวแทนประชาชนผ่านรัฐสภากับสถาบันกษัตริย์ได้ถูกลดทอนลงไปจากรธน.ฉับก่อนๆ ในแง่นี้จำเป็นหรือไม่ที่เรื่องควรผ่านความเห็นชอบของสภาก่อน ถ้าจำไม่ผิดมาตรานี้ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลังจากรธน.60 ผ่านการลงประชามติของประชาชนแล้ว

ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๑): ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัฐธรรมนูญ จาก พ.ศ. ๒๔๗๕-ปัจจุบัน

ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๕๗ (ฉบับที่ ๔) วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มีการแก้ไขเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการดังนี้คือ ในมาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และข้อความที่ให้เพิ่มเติมคือ “

ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประเพณีการปกครองของอังกฤษ (ตอนที่ ๙)

ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้กล่าวถึง พ.ร.บ. ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของอังกฤษ และขยายความเกี่ยวกับเงื่อนไขที่องค์พระประมุข “ทรงบริหารพระราชภารกิจไม่ได้” โดยเงื่อนไขหลักได้แก่ ไม่ทรงประทับอยู่ในราชอาณาจักร, ทรงพระประชวร, ทรงพระเยาว์ เป็นต้น และผู้เขียนได้ย้ำและให้ตัวอย่างต่างๆในกรณีของอังกฤษที่ชี้ว่า แม้ว่าเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. จะมุ่งให้ครอบคลุมเงื่อนไขต่างๆ

ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประเพณีการปกครองของอังกฤษ (ตอนที่ ๘)

ในกรณีของอังกฤษและรวมถึงประเทศอื่นๆที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ การแต่งตั้งผู้ที่อยู่ในอันดับแรกที่จะสืบราชสันตติวงศ์

ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประเพณีการปกครองของอังกฤษ (ตอนที่ ๗)

ในอังกฤษ มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๓๗ (the Regency Act 1937) ต่อมาแก้ไขเพิ่มเติมในปี ค.ศ. ๑๙๔๓ และ ค.ศ. ๑๙๕๓ ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่า พ.ร.บ. ที่ออกมาครั้งแรกไม่สามารถตอบโจทย์หรือสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น

ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประเพณีการปกครองของอังกฤษ (ตอนที่ ๖)

อังกฤษมีพระราชบัญญัติว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๓๗ (the Regency Act 1937) โดยมุ่งให้ พ.ร.บ. นี้ครอบคลุมกรณีต่างๆที่พระมหากษัตริย์จะทรงบริหารพระราชภารกิจไม่ได้ (royal incapacity) โดยกำหนดให้มีการตั้งสภาสำเร็จราชการแผ่นดินหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (แล้วแต่กรณี) ปฏิบัติภารกิจแทนพระมหากษัตริย์

ว่าด้วยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประเพณีการปกครองของอังกฤษ (ตอนที่ ๕)

ในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการที่องค์พระมหากษัตริย์จะทรงบริหารพระราชภารกิจไม่ได้ (royal incapacity) อังกฤษได้ออกกฎหมายที่มีเจตนารมณ์ที่จะครอบคลุมกรณีต่างๆที่พระมหากษัตริย์จะทรงบริหารพระราชภารกิจไม่ได้ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตและรวมทั้งในกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต กฎหมาย ฉบับนี้คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ค.ศ. ๑๙๓๗ (The Regency Act 1937) สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ค.ศ. ๑๙๓๗ มีสามประการ เริ่มต้นจาก

เพิ่มเพื่อน