6 มี.ค. 2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อยากได้ใคร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 11” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้ง ในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,313 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 11 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 38.01 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 13.40 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 11.73 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 4 ร้อยละ 8.83 ระบุว่าเป็น ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) อันดับ 5 ร้อยละ 8.61 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 6 ร้อยละ 5.56 ระบุว่า ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) อันดับ 7 ร้อยละ 4.27 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อันดับ 8 ร้อยละ 3.73 ระบุว่าเป็น น.ส.รสนา โตสิตระกูล อันดับ 9 ร้อยละ 1.83 ระบุว่า จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันดับ 10 ร้อยละ 1.29 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรค พลังประชารัฐ และร้อยละ 2.74 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครจากพรรคกล้า ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย ผู้สมัครจากพรรคไทยภักดี และดร.ประยูร ครองยศ (พรรคไทยศรีวิไลย์)
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 10 เดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) และผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยังไม่ตัดสินใจ ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) และ น.ส.รสนา โตสิตระกูล มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
สำหรับบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร พบว่า
1.กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 35.30 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 15.13 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 11.77 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอันดับ 4 ร้อยละ 10.92 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
2. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 32.97 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 15.93 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 3 ร้อยละ 13.74 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และอันดับ 4 ร้อยละ 12.09 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
3. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 38.27 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 13.72 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 11.55 ระบุว่าเป็น ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) และอันดับ 4 ร้อยละ 8.66 ระบุว่าเป็น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
(พรรคประชาธิปัตย์)
4.กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 40.62 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 13.44 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 3 ร้อยละ 12.19 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และอันดับ 4 ร้อยละ 7.19 ระบุว่าเป็น ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) และ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) ในสัดส่วนที่เท่ากัน
5. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 38.18 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 15.76 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 3 ร้อยละ 11.51 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และอันดับ 4 ร้อยละ 7.88 ระบุว่าเป็น ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล)
6.กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 39.20 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 14.80 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 10.00 ระบุว่าเป็น ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) และอันดับ 4 ร้อยละ 8.00 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ด้านบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 26.89 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 15.99 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 10.44 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) อันดับ 4 ร้อยละ 9.14 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 5 ร้อยละ 8.53 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ อันดับ 6 ร้อยละ 8.45 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อันดับ 7 ร้อยละ 6.55 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย อันดับ 8 ร้อยละ 4.95 ระบุว่า ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) อันดับ 9 ร้อยละ 2.74 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม น.ส.รสนา โตสิตระกูล อันดับ 10 ร้อยละ 1.83 ระบุว่า จะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันดับ 11 ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ และร้อยละ 2.89 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ผู้สมัครจากพรรคกล้า ผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทย ผู้สมัครในทีม นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครจากพรรคไทยภักดี และผู้สมัครในทีม ดร.ประยูร ครองยศ (พรรคไทยศรีวิไลย์)
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่ 10 เดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า ผู้สมัครในทีม
ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) ผู้สมัครในทีม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) และผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ ผู้สมัครในทีม ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ และจะไม่ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
สำหรับบุคคลที่ประชาชนจะเลือกให้เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร พบว่า
1.กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 22.69 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 15.13 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 11.77 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) และอันดับ 4 ร้อยละ 10.92 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
2.กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 25.27 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 15.93 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 13.74 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) และอันดับ 4 ร้อยละ 9.34 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
3.กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 28.88 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 14.80 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 14.08 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) และอันดับ 4 ร้อยละ 9.03 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ
4.กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 28.44 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 13.44 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 10.62 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง และอันดับ 4 ร้อยละ 9.69 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล)
5. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 25.45 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 18.79 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 11.51 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครอิสระที่ไม่เกี่ยวกับผู้สมัครผู้ว่าฯ และอันดับ 4 ร้อยละ 10.30 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง
6.กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 26.80 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 2 ร้อยละ 19.20 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 10.40 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล) และอันดับ 4 ร้อยละ 8.80 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครในทีม ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โพลชี้ ปี 67 คนเหนื่อยหน่าย ‘รายได้ต่ำ-เศรษฐกิจตก’
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา”
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน
ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี
'นิด้าโพล' ชี้ประชาชน กว่า 61% ไม่เห็นด้วยกับโทษยุบพรรค ในคดีล้มล้างการปกครอง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
โพลชี้คนเกินครึ่งไม่เข้าใจ MOU44 - เกาะกูด
นิด้าโพลเผยผลสำรวจประเด็น MOU 44 และเกาะกูด พบว่าประชาชนไม่เข้าใจเลย สูงถึง 58.86% และส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าใจข้อโต้แย้งและสถานการณ์ที่ชัดเจน ส่วนคนที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ ชี้ 1 ใน 3 ไม่ไว้วางใจรัฐบาลปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้