กสม.ชง ครม.กำหนดนโยบายห้องน้ำสาธารณะรองรับคนทุกเพศ พร้อมให้ กกร.ส่งเสริมสิทธิการใช้ห้องน้ำให้มีความเสมอภาคทางเพศ
03 มี.ค.2565 - นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แถลงข่าวว่า ตามที่ กสม.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเด็นเกี่ยวกับการจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ จำนวน 36 คำร้อง ตั้งแต่ปี 2564 – 2565 ระบุว่า จากการเข้าใช้บริการห้องน้ำในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า สถานศึกษา หน่วยงานราชการ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หลายแห่ง พบว่าสถานที่ทั้งหมดข้างต้น ไม่มีห้องน้ำสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ส่งผลให้ผู้ร้องเกิดความรู้สึกไม่สบายใจเมื่อต้องใช้ห้องน้ำ และเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศนั้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2565 ได้พิจารณาคำร้องความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยงานของรัฐ และเอกชน ตลอดจนบทบัญญัติของกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ได้บัญญัติรับรองสิทธิและความเสมอภาคของบุคคล และวางหลักการห้ามเลือกปฏิบัติด้วยปัจจัยด้านเพศสภาพ ทั้งในการกำหนดนโยบาย กฎหมาย หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน หรือบุคคลใดไว้ โดยเมื่อพิจารณาถึงแนวทางการใช้ห้องน้ำของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน พบว่า ในสถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน รวมถึงสถานประกอบการต่าง ๆ มีเพียงการจัดห้องน้ำตามเพศสรีระอันเป็นเพศแต่กำเนิด ได้แก่ ห้องน้ำชายและห้องน้ำหญิงเท่านั้น ทำให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มีความรู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติ เพราะไม่สามารถใช้ห้องน้ำได้ตรงตามอัตลักษณ์ทางเพศหรือตามการแสดงออกทางเพศของตนได้ โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลข้ามเพศ (Transgender) ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศแตกต่างจากเพศสรีระอันเป็นเพศแต่กำเนิด รวมทั้งยังมีประเด็นทัศนคติของผู้ใช้ห้องน้ำร่วมกับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่ยังอาจขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ
นายวสันต์ กล่าวว่า เพื่อคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและขจัดการเลือกปฏิบัติในเรื่องนี้ กสม.จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.ให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนผู้ถูกร้องทั้ง 36 แห่ง รวมถึงหน่วยงานที่กำกับดูแลพิจารณาปรับปรุงห้องน้ำที่มีอยู่ หรือปรับเปลี่ยนห้องน้ำบางส่วนให้เป็นห้องน้ำสำหรับบุคคลทุกเพศ และเคารพซึ่งเจตจำนงส่วนบุคคลของคนที่มีความหลากหลายทางเพศที่จะสามารถใช้ห้องน้ำตามเพศสภาพหรืออัตลักษณ์ทางเพศของตน 2.ในระยะสั้นให้ ครม. มอบหมายหน่วยงานของรัฐ พิจารณากำหนดนโยบาย มาตรการ หรือแนวทางในการใช้ห้องน้ำในสถานที่ราชการ และหน่วยงานอื่นในกำกับของรัฐ โดยส่งเสริมให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถใช้ห้องน้ำได้ตามเพศสภาพหรืออัตลักษณ์ทางเพศตามเจตจำนงของตนได้ โดยให้พิจารณาบริหารจัดการห้องน้ำที่มีอยู่แล้ว หรืออาจเพิ่มเติมห้องน้ำสำหรับบุคคลทุกเพศนอกเหนือไปจากห้องน้ำชาย ห้องน้ำหญิง และห้องน้ำคนพิการ 3. ในระยะยาว ให้ ครม. มอบหมายหน่วยงานของรัฐ ศึกษาและออกแบบการจัดทำห้องน้ำ ว่าห้องน้ำสาธารณะควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะรองรับการใช้งานของบุคคลทุกคนได้อย่างเหมาะสม เป็นไปตามหลักความเสมอภาคของบุคคล เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดให้มีห้องน้ำ ที่สามารถรองรับการใช้งานของบุคคลทุกเพศ ทุกวัย
นายวสันต์ กล่าวอีกว่า 4. ให้ ครม. มอบหมายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานที่จัดบริการสาธารณะอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้แก่บุคลากรภาครัฐและประชาชนทั่วไป ในส่วนของภาคเอกชน ขอให้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประสานความร่วมมือและส่งเสริมให้ภาคเอกชนคำนึงถึงสิทธิและความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งมีนโยบายส่งเสริมให้มีการปรับปรุงห้องน้ำเพื่อรองรับบุคคลทุกเพศ ตลอดจนสนับสนุนให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถใช้ห้องน้ำได้ตามเพศสภาพหรืออัตลักษณ์ทางเพศตามเจตจำนงของตน บนพื้นฐานของหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) ประกอบกับหลักการ SOGIESC ซึ่งปรากฏอยู่ในหลักการยอกยาการ์ตา 10+ อันเป็นแนวปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กสม. ประกาศ 9 บุคคลและองค์กร ที่ส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
กสม. ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 - 2567
คปท.บุกทำเนียบฯ ยื่น นายกฯ-ครม. ค้าน ‘กิตติรัตน์’ นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
คปท. ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี คัดค้านการเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ดแบงก์ชาติ
‘ภูมิธรรม’ มั่นใจนายกฯกลับมาประชุมตั้ง ‘เจทีซี’ เสร็จ ชงเข้าครม.19 พ.ย.ทันที
‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44
'สนธิญา' ยื่น 'กสม.' สอบ 'ทักษิณ' ละเมิดสิทธิ์ หานักร้องเป็นหมา
ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นายสนธิญา สวัสดี เดินทางยื่นหนังสือ พร้อมหลักฐานภาพข่าวการหาเสียงนายก องค์การ
ครม. ไฟเขียวร่างพ.ร.ฎ. 2 ฉบับ แก้ปัญหาที่ดินทำกินในเขตป่าอนุรักษ์ ยันไม่ได้จำกัดสิทธิเสรีภาพ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบทบทวนร่างพระราชกฤษฎีกา โครงการอนุรักษ์ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ มาตรา 64
'เผ่าภูมิ' เผย ครม.อนุมัติโครงการสินเชื่อสร้างอาชีพ 1.5 หมื่นล้าน
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า กระทรวงการคลังได้เสนอ 2 เรื่องเข้าสู่ที่ประชุม โดยเรื่องที่ 1.เป็นเรื่องสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ เป็นโครงการของธนาคารออมสิน ยอดวงเงิน 15,000 ล้านบาท