'ธีระชัย'วิเคราะห์สถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย เชื่อทั้งรัสเซีย-ยูเครนรวมถึงสหรัฐถอยไม่ได้ หวั่นรัสเซียอาจเปลี่ยนไปใช้ conventional warfare โดยระดมยิงปืนใหญ่เข้าใส่เมืองจะทำให้คนตายและบาดเจ็บหนักขึ้น
2 มี.ค.2565- นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงสถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย ในหัวข้อ “เฝ้าระวังมหาวิกฤตเศรษฐกิจ” มีเนื้อหาดังนี้
ยุโรปเปลี่ยนไปแล้ว
ในปี 2008 ที่นาโต้ประกาศพร้อมจะรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนั้น ประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ บุช เป็นคนผลักดัน
ในขณะนั้น ยุโรปเดินตามหมากการเมืองของสหรัฐ
แต่ล่าสุด ยุโรปได้เปลี่ยนไปแล้ว เยอรมันนีเปลี่ยนนโยบาย บัดนี้พร้อมจะให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ยูเครนแล้ว
ตั้งแต่ WW2 เยอรมันนีไม่เน้นงบประมาณด้านการทหาร เป็นเช่นนี้มาตลอด แต่ครั้งนี้ ยักษ์ใหญ่ที่เป็นตัวการเริ่มสงครามโลกสองครั้ง ได้ถูกปลุกให้ตื่นแล้ว
ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป นางเออซูลา ซึ่งเป็นนักการเมืองเยอรมัน เมื่อเร็วๆ นี้ จู่ๆ แถลงข่าวเชื้อเชิญให้ยูเครนเข้าร่วมอียู
รูป 1 ประธานาธิบดียูเครนตอบสนอง โดยยื่นจดหมายสมัครเข้าเป็นสมาชิกอียู
รูป 2 ยูเครนขอให้อียูพิจารณารับยูเครน แบบ fast track แต่ในข้อเท็จจริง อียูไม่มีกติกาแบบนี้
ที่ผ่านมา กว่าจะรับประเทศใด จะต้องใช้เวลาตรวจสอบฐานะ และธรรมาภิบาลระดับหนึ่ง
กรณีตุรกีแสดงความจำนงมานานหลายปี แต่อียูก็ยังไม่รับเข้าเป็นสมาชิก
รูป 3 ปรากฏว่า เมื่อวานนี้ ตัวแทนอียูประชุมด่วนเพื่อพิจารณารับยูเครน และจะเอาเรื่องเข้าที่ประชุมอียูซัมมิต ที่กรุงปารีส ในวันที่ 10-11 มี.ค.
ท่าทีของอียูที่สนับสนุน และของยูเครนที่ตอบสนอง เช่นนี้ อาจจะทำให้การเจรจารัสเซีย-ยูเครนจบลงได้ยาก
🇺🇦 ในแง่มุมของยูเครน รูป 4 จะเห็นได้ว่า ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ฝั่งตะวันตก สีแดง พื้นเพเป็นชนเผ่าที่พูดภาษายูเครน
มีแต่พื้นที่ฝั่งตะวันออก สีเหลือง ที่เป็นชนเผ่ารัสเซีย
นี่เอง ที่ประชากรในพื้นที่สีแดง พากันเลือกนายซีเลนสกี้ ด้วยหวังจะให้พายูเครนออกจากอ้อมกอดของหมีขาว
มีนักวิเคราะห์ว่า ปูตินอาจจะเล็งครอบครองเฉพาะพื้นที่สีเหลือง เพราะจะปกครองง่ายกว่า
แต่จบวิธีนี้ ก็คงไม่ง่าย เพราะพื้นที่สีแดงต้องอาศัยแม่น้ำในการขนส่งออกทะเลดำ (ลูกศรสีเขียว)
ดังนั้น การแบ่งยูเครนออกเป็นแดงกับเหลือง ย่อมจะทำให้สีแดงมีปัญหาในการออกทะเล
ในแง่มุมของประวัติศาสตร์รัสเซีย จะเห็นได้ว่า เคยถูกรุกรานหลายครั้ง ครั้งใหญ่โดยพวกมองโกลเมื่อเจ็ดร้อยปีก่อน
หลังจากนั้น ก็โดนกลุ่มเชื้อชาติโปแลนด์รุกราน ระหว่างปี 1609-1618 รูป 5
ต่อมา ในปี 1708 ก็โดยสวีเด็นบุกอีก รูป 6 ต่อด้วยนโปเลียน ที่เข้าไปเผากรุงมอสโควในปี 1812 และกองทัพเยอรมันนี 3 ล้านนาย ในสมัยฮิตเลอร์ ที่บุกเกือบถึงกรุงมอสโคว
เรียกได้ว่า รัสเซียถูกรุกรานเข้าไปถึงดินแดนชั้นใน แทบจะทุกหนึ่งร้อยปี!
อาจจะเพราะเหตุที่รัสเซียถูกรุกรานหลายครั้ง จึงอ่อนไหวต่อการป้องกันประเทศ
แผนที่รูป 7 แสดงยุโรปด้านเหนือ มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบขยาดยักษ์ เรียกว่า Northern European Plain
กองทัพบกสามารถเคลื่อนพลจากฝรั่งเศส เข้าไปถึงรัสเซียได้อย่างสะดวก ตามลูกศรสีแดง
(กรุงมอสโคว อยู่ที่ปลายลูกศรสีน้ำเงิน)
ด้วยเหตุนี้ ในอดีต สหภาพโซเวียตจึงวางแนวเขตป้องกันตนเองเอาไว้ห่างไกล โดยยึดเทือกเขา Carpathian เป็นแนว ในวงกลมสีส้ม รูป 7
ในรูป 8 จะเห็นได้ว่า เทือกเขา Carpathian ซึ่งจะเป็นแนวป้องกันธรรมชาติให้แก่สหภาพโซเวียตได้นั้น ก็คือชายแดนระหว่างยูเครน กับโปแลนด์ นั่นเอง
มีนักวิเคราะห์กล่าวว่า รัสเซียอาจจะเพียงต้องการให้ยูเครน แค่วางตัวเป็นกลาง ดังเช่นตัวอย่างฟินแลนด์
แต่นายซีเลนสกี้ คงไม่ถอย เพราะได้หาเสียงนโยบายเอียงเข้าไปหาอียูอย่างเต็มที่
ส่วยอียูที่เปลี่ยนท่าทีไปจากปี 2008 อย่างมาก ก็คงไม่ถอยเช่นกัน
สำหรับสหรัฐ ยิ่งไม่ถอย เพราะต้องการแสดงท่าทีต่อจีน และสหรัฐเองจะถูกกระทบจากสงครามน้อยกว่ายุโรป
ที่ผ่านมา จำนวนพลเรือนตายและบาดเจ็บยังไม่มาก เพราะรัสเซียใช้ surgical strike ขีปนาวุธเจาะเป้าทางการทหาร เพื่อกดดันให้ยูเครนกลับลำ
น่ากลัวว่า ในการรบระยะต่อไป รัสเซียอาจจะเปลี่ยนไปใช้ conventional warfare โดยระดมยิงปืนใหญ่เข้าใส่เมือง
ซึ่งมีแต่จะทำให้จำนวนคนตายและบาดเจ็บหนักขึ้น
วันที่ 2 มีนาคม 2565
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
Facebook Thirachai Phuvanatnaranubala
(เครดิตภาพตามแหล่งที่แสดงชื่อ)
หมายเหตุ: การกล่าวถึงชื่อบุคคลใดมิใช่เป็นการกล่าวหากระทำความผิด แต่เป็นเพื่อประกอบการบรรยายทางวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธีระชัย' ไขปมคุณสมบัติ 'กิตติรัตน์'
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานคณะกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)
พปชร.ค้านMOU2544จี้ 'นายกฯอิ๊งค์' เลิกด่วน
'พปชร.' แถลงค้านกรอบ MOU 2544 เตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึก จี้ 'นายกฯ' ยกเลิกด่วน ก่อนเสียดินแดน โต้ 'ภูมิธรรม' เกาะกูดอยู่ในใจกัมพูชา เผย 'ลุงป้อม' เล่าเองเจรจาทีไรพูดถึงทุกที จนต้องเลื่อนออกไป
‘ธีระชัย’ ถาม ‘ภูมิธรรม’ ปมเกาะกูด หลักฐาน MOU44 ชัวร์หรือมั่วนิ่ม
เห็นตามหลักฐานเหล่านี้ว่า MOU44 อาจจะผิดกฎหมาย ผมจึงขอแนะนำให้นายภูมิธรรม ระวังดำเนินการที่ผิดกฎหมาย ควรเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ยกเลิก MOU44 พร้อมแจ้งกัมพูชาว่า การที่ในปี 2515 กัมพูชาลากเส้นผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด ออกไปยังอ่าวไทย เพื่อกำหนดเขตไหล่ทวีปนั้น ไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาฯ
'ธีระชัย' ข้องใจ 'อุ๊งอิ๊ง' เป็นนายกฯ เพื่อประชาชนหรือตลาดทุนปมกองทุนวายุภักษ์
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)
อดีตขุนคลังสอนเรื่องค่าเงินให้แพทองธาร!
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ
'ธีระชัย' ตีแผ่ 6 ข้อทำ 22 ล้านคนส่อฝันค้างกลางอากาศได้เงินดิจิทัล
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ