28 ก.พ.2565 - ศาลอาญากรุงเทพใต้ออกเอกสารข่าวเผยเเพร่คำสั่งประกันนายอานนท์ นำภา ความว่า นายนรเศรษฐ นาหนองตูม ทนายความได้ยื่นคำร้อง ขอปล่อยชั่วคราว นายอานนท์ นำภา จำเลยในคดีหมายเลขดำที่ อ1671/2564 และในคดี หมายเลขดำที่ อ1802/2564 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านระบบ บริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (Court Integral Online Service : CIOS)
ซึ่งคณะผู้บริหาร ของศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้ร่วมกันพิจารณาคำร้องขอปล่อยชั่วคราวและเอกสารประกอบแล้ว มีคำสั่งดังนี้ “เห็นว่าแม้จำเลยเคยปฏิบัติผิดเงื่อนไขการขอปล่อยตัวชั่วคราวและศาลเพิกถอน การปล่อยตัวชั่วคราวมาแล้วครั้งหนึ่ง จนจำเลยต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำจนถึงปัจจุบัน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวในวันนี้ โดยอ้างเหตุผลและสมัครใจเสนอเงื่อนไข การขอปล่อยตัวชั่วคราวมาหลายข้อว่า จำเลยจะไม่กระทำการใดอันทำให้เกิดความเสื่อมเสีย ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และจะไม่ก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองอีกและจะปฏิบัติตามเงื่อนไข ของศาลอย่างเคร่งครัดนั้น การที่จำเลยเสนอเงื่อนไขมาจึงน่าเชื่อว่าเงื่อนไขดังกล่าวน่าจะควบคุม พฤติกรรมของจำเลยได้ว่า หากปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยจะไม่ไปก่อภัยอันตรายหรือก่อความเสียหาย ที่เกิดจากการปล่อยตัวชั่วคราวอีก ดังนี้ จึงเห็นควรให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอต่อศาล สักช่วงเวลาหนึ่ง มีกำหนด 3 เดือน (ครบกำหนดวันที่ 28 พฤษภาคม 2565)
ตีราคาหลักประกัน 200,000 บาท ยึดหลักประกัน ทำสัญญาประกัน ให้ตรวจคืนหลักประกันเมื่อสัญญาประกันสิ้นสุด ระหว่างปล่อยตัวชั่วคราวโดยมีกำหนดเวลา
เห็นควรกำหนดเงื่อนไข ดังนี้
1.ห้ามจำเลยทำกิจกรรมหรือกระทำการใดๆ ที่อันจะทำให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือด้อยค่าต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันศาลในทุกด้าน
2.ห้ามจำเลยกระทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางกระบวนพิจารณาคดีของศาล
3.ห้ามจำเลยโพสต์ข้อความที่เป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น หรือชักชวนให้มวลชนเข้าร่วม
4. กิจกรรมชุมนุมในสื่อโซเชียลมีเดียหรือเข้าร่วมชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวาย ในบ้านเมือง
5.ห้ามจําเลยออกนอกเคหสถานในช่วงเวลา 19.00น.-06.00 น. ของวันใหม่ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาลหรือได้รับอนุญาตจากศาล
6.ห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล
7.ให้จําเลยมารายงานตัวต่อศาลทุกๆ 30 วัน นับแต่วันที่ปล่อยตัวชั่วคราว (วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565)
8.ให้จำเลยติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ EM เพื่อจำกัดระยะเวลาเดินทาง ศาลอาญากรุงเทพใต้
ขอชี้แจ้งต่อสื่อมวลชนว่า เนื่องจากจําเลยเสนอเงื่อนไข รวมถึงให้คำมั่นว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนั้น ศาลจึงเห็นควรให้โอกาสจำเลย โดยการปล่อย ตัวชั่วคราวอันมีเวลาจำกัดเพียง 3 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้ว นายอานนท์ นำภา ต้องถูกกักขัง ณ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง เว้นแต่จะมีการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวอีกครั้งหนึ่ง
อนึ่งหากนายอานนท์ นําภา ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวศาลอาจมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง หรือเพิกถอนคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราวอันมีเวลาจำกัดและเมื่อครบกำหนดปล่อยตัวชั่วคราว ให้ นายอานนท์ นภา มารายงานตัวต่อศาลและให้ผู้ประกันส่งตัว นายอานนท์ นำภาต่อศาลในวันที่ 28 พ.ค.65 เวลา 10.00 น. ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขให้ปฏิบัตินั้นเป็นการกำหนดตามที่นายนรเศรษฐ นาหนองตูม ทนายความของนายอานนท์ นำภา เสนอต่อศาลและนายอานนท์ นำภา ยินยอมที่จะปฏิบัติตามโดยสมัครใจ หากศาลกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สามนิ้ว' โวยซื้อน้ำขวดในคุกไม่ได้ ต้องกินน้ำก๊อกมาเป็นอาทิตย์แล้ว
เพจ อานนท์ นำภา ของนายอานนท์ นำภา ต้องโทษม.112 ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ไม่แน่ใจว่าทำไมช่วงนี้
'ชัยธวัช-ปชน.' ผิดหวังสภาคว่ำข้อสังเกตกมธ.นิรโทษฯ สะท้อนรัฐบาลขาดเอกภาพ
ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม นำโดย นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการฯ นายชัย
ดร.ณัฏฐ์ เตือนนิรโทษกรรมเหมาเข่ง 112 สารตั้งต้นล่มสลายรัฐบาลแพทองธาร!
สืบเนื่องจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 33 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 เข้าสู่วาระพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม เพื่อ
'พิเชษฐ์' สั่งปิดประชุมสภาฯกะทันหัน เลื่อนโหวตรายงานกมธ.นิรโทษฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่สส.อภิปรายแสดงความคิดเห็นครบทุกพรรคแล้ว นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่1 ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุม กล่าวสรุปว่าเนื่องจากรายงานของ
'เพจอานนท์' โวยเรือนจำไม่ขายปากกาเป็นเดือนแล้ว ไม่เห็นความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขัง
เพจอานนท์ นำภา โพสต์ข้อความว่า คำถามจากคนในเรือนจำ “ไม่เอาปากกามาขายเป็นเดือนแล้ว จะให้เขียนจดหมายกับอะไร ?”
พร้อมสู้ ‘ธนกร’ ขวางแก้112 ‘นันทิวัฒน์’ เชื่อหยุดที่คุก!
ไม่ลดเพดานเจอกันแน่! "ธนกร" ลั่นหากพรรคประชาชนยังคิดแก้ ม.112 อีก