“เลขา ครป.” เรียกร้องจุฬาฯ ทบทวนคำสั่งปลดนายก อบจ. ซัดไม่ได้อยู่ในยุคจอมพลประภาส ชี้ต้องยกเลิกรูปแบบตัดคะแนนความประพฤติ สืบทอดอำนาจนิยมเผด็จการ โดยไม่ฟังเสียงนิสิต
27 ก.พ.65 – นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า ขอคัดค้านคำสั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสั่งปลดนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล จากตำแหน่งนายกสโมสรนิสิต จุฬาฯ จากข้อหาความประพฤตินิสิต โดยขอเรียกร้องให้ สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบทวนคำสั่งที่ 0821/2565 เรื่อง ลงโทษตัดคะแนนความประพฤตินิสิต และลงโทษสั่งปลดนายกสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) เนื่องจากจัดกิจกรรมที่ขัดระเบียบและทำลายเกียรติมหาวิทยาลัย เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวนั้นเป็นรูปแบบคำสั่งแบบเผด็จการ สร้างสถาบันรูปแบบอำนาจนิยมขึ้นมาโดยไม่ฟังเสียงนิสิต ซึ่งนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ.จากนิสิตมากกว่าหนึ่งหมื่นคน มหาวิทยาลัยไม่ควรมีอำนาจในการผูกขาดศีลธรรมแบบเผด็จการเช่นในอดีต
“เราไม่ได้อยู่ในยุคที่จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นอธิการบดีแล้ว มหาวิทยาลัยต้องเป็นหลักทางปัญญาและแบบอย่างประชาธิปไตยให้เยาวชน นิสิต นักศึกษา ได้เรียนรู้และสร้างสรรค์ การกักขังทางความคิด การออกแบบศีลธรรมด้วยคะแนนความประพฤติอันมีลักษณะบัญชาการจากผู้ผูกขาดความถูกต้อง เป็นรูปแบบที่ล้าสมัยไปแล้ว ไม่ต่างจากยุคนาซีในเยอรมนี และไม่ต่างจากการรัฐประหารโดยกองทัพในการเมืองการปกครองไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องยกเลิกรูปแบบการให้คะแนนความประพฤติไม่กำหนดความถูกต้องชอบธรรม” นายเมธา กล่าว
นายเมธา ยังกล่าวว่า การกักขังทางความคิดในมหาวิทยาลัย ไม่ต่างจากรัฐบาลอำนาจนิยม ที่กักขังเพนกวิ้น รุ้ง ไผ่ และอานนท์ การกักขังเยาวชนคนหนุ่มสาวที่คิดเห็นต่างทางการเมือง คือการทำลายประเทศ ทำลายอนาคตของชาติ ผู้นำที่มีความคิดจะไม่ทำเช่นนั้น แต่จะต้องเปิดโอกาสให้เยาวชนคนหนุ่มสาวมีพื้นที่และร่วมกันสร้างสรรค์ทางปัญญาและหาทางออกของประเทศร่วมกัน
“การสั่งปลดนายก อบจ. ด้วยนิสัยแบบเผด็จการอำนาจนิยม ระวังจะเป็นชนวนทำให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคมรอบใหม่ การลุกขึ้นสู้และปฏิวัติสังคมครั้งแรกของคนหนุ่มสาวของโลก จนกระทั่งขับไล่รัฐบาลเผด็จการออกไปได้ สังคมไทยควรจะเรียนรู้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เป็นบทเรียน ทั้ง 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 และ 17 พฤษภา 35 ซึ่งครบรอบ 30 ปีในปีนี้ ที่กำลังจะมีการชำระประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ เพื่อสร้างบทเรียนร่วมกันทางสังคม จากประวัติศาสตร์การต่อสู้ของประชาชน” นายเมธา ระบุ
นายเมธา กล่าวด้วยว่า ผลของการรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ 2534 นำมาสู่เหตุการณ์นองเลือดในเดือนพฤษภา 2535 และสามารถปฏิรูปกองทัพ ยับยั้งบทบาททหารกับการเมืองไปได้ 14 ปี จนเกิดการรัฐประหาร 2549 ซึ่งสะสมความขัดแย้งมาจนเกิดเหตุการณ์พฤษภา 2553 และการรัฐประหาร 2557 ที่ความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ถึงปัจจุบัน
“เราจะเรียนรู้บาดแผลของสังคมในอดีตได้ด้วยการยึดถือสิทธิมนุษยชนและยอมรับประชาธิปไตยเท่านั้นสังคมไทยถึงจะเปลี่ยนแปลงและก้าวไปข้างหน้า การผูกขาดความคิดยึดติดว่าตนเองเป็นศูนย์กลางความถูกต้องได้สร้างความขัดแย้งและความรุนแรงมาอย่างยาวนาน จะต้องยกเลิกการผูกขาดความถูกต้องแบบทหาร ซึ่งลุกลามมาถึงครูบาอาจารย์มหาวิทยาลัยแล้ว และจะทำให้ประเทศนี้ไม่มีอนาคตเหลืออยู่ในมหาวิทยาลัย” นายเมธา ระบุ .
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘แพทองธาร’ ยันพรรคร่วมไร้ปัญหา หลังภาพ 'ทักษิณ-อนุทิน' ออกรอบตีกอล์ฟด้วยกัน
ความจริงแล้วตนและนายอนุทิน ก็คุยกันอยู่แล้ว ถึงจะมีปัญหาอะไรก็คุยกันเคลียร์กันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพรรคภูมิใจไทยหรือพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆถึงเวลาถ้ามีอะไรก็คุย
อย่างหล่อ! ‘อนุทิน’ ปัดตีกอล์ฟเคลียร์ขัดแย้ง ‘ทักษิณ’ ยันการกระทำสำคัญกว่าคำพูด
‘อนุทิน’ ปัดตีกอล์ฟ ‘ทักษิณ’ เคลียร์ปมขัดแย้ง ยัน ‘การกระทำสำคัญ กว่าคำพูด’ ย้ำอีแอบ ไม่ได้หมายถึงตัวเอง - ภูมิใจไทยชัดเจน เพราะข้อเท็จจริงเข้าประชุมครม.
การเมืองมกรา’68 พรรคร่วมร้อนรุ่มแตกหัก ‘ทักษิณ’ หนาวสะท้านชั้น 14
ทักษิณขยี้หนัก โชว์ภาพตีกอล์ฟขนาบข้างทุนผูกขาด ส่อสื่อสัญญาณรุก “พีระพันธุ์-รวมไทยสร้างชาติ” คาดชะตากรรมไม่แตกต่าง “ประวิตร-พปชร.” ประเมินปี 68 ปมชั้น 14 ทำการเมืองร้อนแรง
สัญญาณชัด! ‘เทพไท’ ฟันฉับความขัดแย้งในรัฐบาล เกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็วแน่นอน
เป็นเรื่องปกติที่พรรคการเมือง ซึ่งมีจุดยืนและอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน แต่กระโดดข้ามขั้วจัดตั้งรัฐบาลด้วยกัน
นักเขียนค่ายผู้จัดการ มองทางเลือก ‘ทักษิณ’ ยุบสภาล้างไพ่ใหม่ เหตุมั่นใจกระแส ’อิ๊งค์-ตัวเอง’
ทักษิณโชว์ร่วมก๊วนกอล์ฟอนุทิน โดยมีเจ้าสัวพลังงานร่วมด้วย โดยสื่อบอกว่าสยบรอยร้าว2พรรค ซึ่งจริงๆแม้ 2 พรรคจะขบเหลี่ยมทิ่มแทงกันบ้าง ก็ไม่ใช่เป้าหมายที่ทักษิณขู่ฟอด
‘แม้ว’ ไล่ทุบ- ‘ภูมิใจไทย’ ไม่หมู ‘แดง-น้ำเงิน’ ทนอยู่แบบตบจูบ
นาทีนี้ศึกฝ่ายค้าน-รัฐบาลยังไม่เดือดเท่ากับศึกรัฐบาลด้วยกันเอง แรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการขบเหลี่ยมของพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2