คน กทม.เกินครึ่งหนุนให้ 'หาบเร่แผงลอย' ขายบนฟุตบาท!

'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจหาบเร่บนทางเท้า คนกรุงเกิน 90% เคยใช้บริการ 59.14%เห็นด้วยให้ กทม.ผ่อนปรนวางขายบนฟุตบาทที่มีขนาดใหญ่ ไม่น่าเชื่อ 67% เชื่อมั่นแก้ไขปัญหาได้

23 ก.พ.2565 - ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “หาบเร่แผงลอยกับทางเท้าใน กทม.” ซึ่งทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-21 กุมภาพันธ์ 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,319 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับหาบเร่แผงลอยบนทางเท้า
ในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเคยเดินซื้อของจากหาบเร่แผงลอยบนทางเท้าในกรุงเทพมหานครของประชาชน พบว่า ตัวอย่าง 92.12% ระบุว่า เคยเดินซื้อของจากหาบเร่แผงลอยบนทางเท้า และ 7.88% ระบุว่า ไม่เคยเดินซื้อของจากหาบเร่แผงลอยบนทางเท้า

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการหาบเร่แผงลอยบนทางเท้าในกรุงเทพมหานคร พบว่า ตัวอย่าง 59.14% ระบุว่า กทม. ควรผ่อนปรนให้เฉพาะทางเท้าที่มีขนาดใหญ่เพียงพอ รองลงมา 13.8% ระบุว่า กทม. ไม่ควรอนุญาตให้ขายของบนทางเท้าโดยเด็ดขาด 13.19% ระบุว่า กทม. ควรอนุญาตให้ขายของบนทางเท้าได้เฉพาะฝั่งหน้าตึกเท่านั้น 9.7% ระบุว่า กทม. ควรอนุญาตให้ขายของบนทางเท้าได้ทั้งฝั่งหน้าตึกและริมถนน และ 4.17% ระบุว่า กทม.ควรอนุญาตให้ขายของบนทางเท้าได้เฉพาะฝั่งริมถนนเท่านั้น

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาหาบเร่แผงลอยบนทางเท้าในกรุงเทพมหานคร พบว่า ตัวอย่าง 66.57% ระบุว่า สามารถแก้ไขปัญหาได้แน่นอน และ 33.43% ระบุว่า ไม่มีทางแก้ไขปัญหาได้เลย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โพลชี้ ปี 67 คนเหนื่อยหน่าย ‘รายได้ต่ำ-เศรษฐกิจตก’

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา”

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด