ชี้ค้ามนุษย์ซ่อนในสังคมไทย ประจานแผลทุจริตในระบบราชการ

นักวิชาการชี้ รัฐบาลต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้นในการแก้ปัญหาการว่างงาน ระบุ ประเทศไทยยังเป็นแหล่งของการค้ามนุษย์ค้าแรงงานทาสของกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติอยู่ สะท้อนให้เห็นถึงการทุจริตในระบบราชการที่เกี่ยวข้อง และการไม่มีสำนึกทางด้านสิทธิมนุษยชนและมองคนเท่ากัน

20 ก.พ.2565 – รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ  อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ม. รังสิต  กล่าวว่า แม้นสถานการณ์การจ้างงานโดยรวมปรับตัวในทิศทางดีขึ้นโดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออก ภาคการท่องเที่ยวกระเตื้องขึ้นบ้างหลังการเปิดประเทศ แต่รัฐบาลต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้นในการแก้ปัญหาการว่างงานโดยเฉพาะการว่างงานของธุรกิจอุตสาหกรรมที่ควบรวมกิจการและได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยี การปรับหลักสูตรและระบบการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรที่สอดคล้องสำหรับระบบเศรษฐกิจใหม่เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังควบคู่กับการปรับทักษะ พัฒนาทักษะ สร้างทักษะให้กับแรงงาน

รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ ภาคเอกชนรวมทั้งภาคราชการได้มีการจ้างงานแบบสัญญาจ้างระยะสั้นมากขึ้น จ้างงานตามโปรเจกต์มากขึ้น จ้างงานแบบรายวันรายชิ้นมากขึ้น จ้างงานแบบทำงานจากที่บ้านมากขึ้น มีการทำงานจากระยะไกลมากขึ้น การทำงานแบบแชร์ความสามารถส่วนบุคคล (Talent Sharing) มีการทำงานแบบฟรีแลนซ์ ซึ่งระบบการจ้างงานหรือทำงานแบบยืดหยุ่นที่เป็น Non-Standard เหล่านี้ก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายขององค์กร ก่อให้เกิดความคล่องตัว ปรับเปลี่ยนได้เร็ว มีความยืดหยุ่น แต่ควบคุมคุณภาพได้ยาก และ

รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่า  ขณะเดียวกันอาจเป็นการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมได้ และเรียกร้องให้รัฐกำกับ “การจ้างงานแบบยืดหยุ่น” “การจ้างงานแบบเหมาช่วง” “การจ้างงานแบบ Non-Standard” ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานและสร้างความไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างได้  มาตรฐานแรงงานไทยและอาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานแรงงานโลก กระทรวงแรงงานได้ประกาศมาตรฐานแรงงานไทยเมื่อ 27 มิ.ย. 2546       เพื่อให้สถานประกอบการทุกประเภท ทุกขนาด นำไปปฏิบัติต่อแรงงานในสถานประกอบการด้วยความสมัครใจ การดำเนินธุรกิจและดำเนินการผลิตต้องมีความรับผิดชอบทางสังคมที่ครอบคลุมสิทธิมนุษยชน (รวมสิทธิแรงงานด้วย) สภาพการจ้างและสภาพการทำงาน

“ รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานต้องทบทวนข้อกำหนดแห่งมาตรฐานแรงงานในช่วงนี้เนื่องจากมีสถานการณ์เลิกจ้างรุนแรงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อลูกจ้างและทำให้เกิดระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี มาตรฐานนี้ครอบคลุมไปยังผู้รับเหมาช่วงและการจ้างงานแบบไม่เป็นมาตรฐานด้วย สถานประกอบกิจการต้องให้ลูกจ้างได้รับข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้าง และค่าตอบแทนการทำงานที่ได้รับทั้งหมดในแต่ละงวด เป็นลายลักษณ์อักษร และสามารถเข้าใจรายละเอียดส่วนประกอบต่างๆได้ “ รศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุ

รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวด้วยว่า  ขณะนี้หลายกิจการ หลายธุรกิจอุตสาหกรรมลดมาตรฐานแรงงานลงมาเพื่อลดต้นทุน อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวอาจเป็นเงื่อนไขต่อการเพิ่มการกีดกันทางการค้าอันนำมาสู่ผลกระทบต่อกิจการและประเทศชาติโดยรวมในที่สุด หากมีการจ้างงานอย่างไม่ธรรมมากๆ ไม่มีสวัสดิการ ได้รับค่าตอบแทนต่ำด้วยชั่วโมงการทำงานยาวนานและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความเสี่ยง ไม่ปลอดภัยและไม่มีอาชีวอนามัย ก็อาจจะดีกว่า “แรงงานทาส” ไม่มากนัก เป็นการมอง “แรงงาน” เป็นเพียงปัจจัยการผลิตและต้นทุน ไม่ได้มอง “แรงงาน” ในฐานะมนุษย์ ในฐานะเพื่อนร่วมชาติ ร่วมโลก และ สภาวะดังกล่าวมักเกิดขึ้นกับแรงงานอพยพที่ไม่มีทางเลือก และเราได้เห็นการกดขี่เอาเปรียบเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น กรณีชาวโรฮิงยา กรณีชาวเมียร์มาร์ในกิจการประมง

 “การที่ประเทศไทยยังเป็นแหล่งของการค้ามนุษย์ค้าแรงงานทาสของกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติอยู่สะท้อนปัญหาที่ซ่อนอยู่ในสังคมไทยหลายประการรวมทั้งปัญหาการทุจริตในระบบราชการที่เกี่ยวข้องและการไม่มีสำนึกทางด้านสิทธิมนุษยชน มองคนเป็น “สินค้า” และมองคนไม่เท่ากัน” รศ.ดร.อนุสรณ์ ระบุ.  

  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ศิริกัญญา' ปูดรัฐบาลวางแผนยึดการบินไทย

“ศิริกัญญา” ชวนจับตา “รัฐบาล” วางแผนยึด “การบินไทย” ส่งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่ม 2 คน กุมเสียงข้างมาก คลังจ่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนเต็มสิทธิ์ ถามเอาเงินจากไหน ไม่พ้นต้องควักเงินภาษี

'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน