กสม.ติงรัฐบาลใช้ 'พ.ร.ก.ฉุกเฉิน' มากเกินกว่าเหตุ!

กสม.ห่วงใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ชี้กระทบเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม ติงต้องไม่ปิดกั้นเกินกว่าเหตุและไม่ได้สัดส่วนกับการควบคุมโรค

17 ก.พ.2565 - นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แถลงข่าวว่า ตามที่ กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเมื่อวันที่ 31 ม.ค.2565 จากนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และพวกขอให้ตรวจสอบการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ดำเนินคดีกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ภายหลังผู้ร้องและพวกถูกตั้งข้อกล่าวหาในคดีอาญาฐานชุมนุมโดยฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินจากการรวมตัวเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ณ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564

กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 7 ก.พ.2565 พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ผู้ร้องและพวกใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมโดยสงบตามที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 34 และมาตรา 44 รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 19 และข้อ 21 ในการยื่นหนังสือร้องเรียนรัฐบาลที่กระทำการอันอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ณ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ในวันดังกล่าว แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งความดำเนินคดีอาญาข้อหาชุมนุมโดยฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินอาจมีประเด็นเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิในการชุมนุม จึงเห็นควรรับไว้เป็นคำร้องเพื่อดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชนดำเนินการ

ในประเด็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้ กสม. เคยมีรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีการชุมนุมทางการเมืองระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 พร้อมข้อเสนอแนะแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2564 ระบุว่าแม้ว่ารัฐบาลมีความชอบธรรมในการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในการจัดการและควบคุมการชุมนุมด้วยเหตุผลเพื่อเป็นการป้องกันภัยทางสาธารณสุข ประกอบกับเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบอาจถูกจำกัดได้ แต่เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบนั้น มีคุณค่าและมีความสำคัญเป็นอย่างมากในระบอบประชาธิปไตย การบังคับใช้กฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบจะต้องสอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุ กล่าวคือต้องไม่ทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบได้โดยสิ้นเชิง แม้จะเป็นช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโรคก็ตาม การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเพื่อควบคุมการชุมนุมของรัฐบาลมีแนวโน้มเป็นการห้ามการชุมนุมแบบเหมารวมและห้ามชุมนุมโดยเด็ดขาด และไม่ได้สัดส่วนระหว่างเสรีภาพในการชุมนุม กับความปลอดภัยสาธารณะหรือการป้องกันภัยทางสาธารณสุข ซึ่ง กสม. ได้มีข้อเสนอแนะให้คณะรัฐมนตรีหลีกเลี่ยงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุม เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ เป็นไปเพื่อป้องกันภัยร้ายแรงที่กระทบต่อความมั่นคง และไม่อาจนำไปใช้ในการชุมนุมทางการเมืองทั่วไป

“กสม. มีความห่วงกังวลเป็นอย่างมากต่อการใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินดำเนินคดีประชาชนซึ่งรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกถึงข้อเรียกร้องทางการเมือง และข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในหลายกรณีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมของกลุ่มเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นเมื่อปลายปี 2564 หรือการชุมนุมของกลุ่มพีมูฟเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งประชาชนหลายคนต้องถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาชุมนุมโดยฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินเช่นกัน กสม.จึงขอเน้นย้ำให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชนที่มิควรถูกปิดกั้นหรือถูกจำกัดอย่างเกินสมควรแก่เหตุ และไม่ได้สัดส่วนกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค”นายวสันต์กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสม.แนะแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินปชช. ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ

กสม. แนะกระทรวงพลังงานเร่งเสนอ ครม. แก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

'ลุงป้อม' เปิดมูลนิธิป่ารอยต่อฯ รับอวยพรปีใหม่

'ลุงป้อม' สดใส เปิดมูลนิธิป่ารอยต่อฯ รับอวยพรปีใหม่ ย้ำพระราชเสาวนีย์พระพันปีหลวง ปกป้องป่าให้ลูกหลาน ด้าน ผบ.เหล่าทัพ ทยอยอวยพร 3 ป. วานนี้

กสม.ชงนายกฯทบทวนโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรภายในเขตอุทยานฯหวั่นกระทบสิทธิปชช.

กสม. เสนอแนะนายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนและชะลอพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวกับโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตอุทยานแห่งชาติ หวั่นกระทบสิทธิของประชาชนในวงกว้าง

กสม.แนะตร.แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีผู้ต้องขังถูกอายัดตัวกว่า 10 ปี

กสม. แนะ ตร. แก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินคดีอาญาผู้ต้องขังที่ถูกอายัดตัวนานกว่า 10 ปี เสนอเรือนจำงดเว้นการร้องทุกข์ในคดีลหุโทษ

กสม. ประกาศ 9 บุคคลและองค์กร ที่ส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

กสม. ประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 - 2567

'สนธิญา' ยื่น 'กสม.' สอบ 'ทักษิณ' ละเมิดสิทธิ์ หานักร้องเป็นหมา

ที่สำนักงาน​คณะกรรมการ​สิทธิมนุษยชน​แห่ง​ชาติ​ (กสม.)​ นายสนธิญา สวัสดี เดินทางยื่นหนังสือ พร้อมหลักฐานภาพข่าวการหาเสียงนายก องค์การ