17 ก.พ.2565 - นายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ในฐานะผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.... หรือร่างพรบ.สุราก้าวหน้า โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า "ห้ามขายเหล้าวันพระใหญ่" เมื่อวันพระใหญ่วนมาถึง ผมก็มักจะได้ยินเสียงบ่นจาก มิตรสหายรอบข้างหลายๆท่านทุกทีว่า “วันหยุดทั้งที หาเครื่องดื่มดีๆที่ตัวเองชอบกินไม่ได้เลย”
วันนี้ผมเลยอยากมาเล่าประวัติเกี่ยวกับกฎหมายการ “ห้ามขายเหล้าในวันพระ” กันสักหน่อยครับ พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นับว่าเป็นกฎหมายฉบับสุดท้ายที่ออกในสมัยของนิติบัญญัติแห่งชาติ(สภาที่แต่งตั้ง 100% โดย #คณะรัฐประหาร ปี 2549) *ก่อนที่เราจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 23 ธันวาคม 2550
โดยจากบันทึกการประชุมครั้งที่ 74/2550 วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2550 มีกฎหมายผ่าน[สภาตรายาง]แห่งนี้ รวมทั้งสิ้น 27 ฉบับ https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/75522 เริ่มประชุมกันตั้งแต่ 10.45 น. ก่อนที่จะจบพักการประชุมในเวลา 22.45 น. คิดเป็นเวลาการประชุมรวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง หรือ 720 นาที แสดงว่าสภาแห่งนี้ใช้เวลาพิจารณาร่างกฎหมายเพียงฉบับละ 26 นาทีเศษเท่านั้นเอง
ผลต่อมาคือทำให้ประเทศเรามีข้อกฎหมายควบคุมแอลกอฮอล์มากมาย ซึ่งมาตราที่ดังที่สุดคงจะหนีไม่พ้นมาตรา 32 ที่ว่า ”ห้ามโฆษณา” ที่ทุกท่านรู้จักกันดีอยู่แล้วว่ามีปัญหา
แต่มาตราที่ผมจะพูดถึงวันนี้ก็คือ มาตรา 28 ที่ให้อำนาจรัฐมนตรีมากำหนดวันเวลา เงื่อนไข การขายได้
สุดท้ายแล้วในสมัย #รัฐบาลอภิสิทธิ์ ก็ได้มีการออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ห้ามขายเหล้าในวันพระ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรานี้
ก่อนที่ต่อมาหลังการ #รัฐประหาร2557 #รัฐบาลประยุทธ์ จึงออกประกาศให้สำนักนายกรัฐมนตรีขันน็อตการ #ห้ามขายสุรา ให้แน่นขึ้นไปอีก โดยห้ามขายทั้งในโรงแรมและเพิ่มการห้ามขายในวันออกพรรษาเข้าไปด้วย
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/039/10.PDF
หากนึกภาพตามที่ผมเล่ามา นี่ถือเป็นเหตุผลที่ทำให้ทุกท่านไม่สามารถหาเครื่องดื่มเย็น ๆ ชื่นใจดื่มได้ในวันหยุดชิล ๆ แบบนี้
แค่เพราะว่า “เพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ” อย่างนั้นหรือ "เราถึงต้องห้ามขายเหล้าเบียร์ในวันนี้ด้วย" การใช้หลักศาสนามาเป็นเหตุผลในการออกกฎหมายนี้ ผมคิดว่าเป็นการไม่ชอบ และเป็นการขัดต่อหลักเสรีภาพในการนับถือศาสนา(ม.31) และเสรีภาพในการประกอบอาชีพ(ม.40) ตามรัฐธรรมนูญด้วย
ผมมีข้อสังเกตว่า ถ้าหากเราออกกฎหมายโดยใช้หลักศาสนามาเป็นเหตุผลว่ากลัวคนทำผิดศีลข้อห้ามทางศาสนานั้น ทำไมเราถึงไม่บัญญัติให้การกระทำของพระภิกษุที่ทำผิดศีลเป็นความผิดทางกฎหมายด้วยไปเลย
ซึ่งข้อเท็จจริงนั้น คนไทยมิได้มีแค่คนที่นับถือศาสนาพุทธเท่านั้น แต่สังคมเราเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ประกอบไปด้วยผู้คนมากมายหลากหลายเชื้อชาติ ความเชื่อ ดังนั้นรัฐเราควรดำรงค์ตนเป็นรัฐฆราวาส(secular state) ไม่ควรเอากรอบคิดของศาสนาใดศาสนาหนึ่งมากำหนดเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษแบบนี้
มีใครอยากให้ยกเลิกบ้างไหมครับ สนใจลองแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ
#หัวจะปวด
#มาฆบูชา
#ก้าวไกล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปปช.เปิดทรัพย์สิน 'ก่อแก้ว' สุดอู้ฟู่รวย 263 ล้านบาท
เปิดเซฟ 'ชัยธวัช ตุลาธน' อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล 19.3 ล้านบาท 'อภิชาติ' อดีตเลขาธิการพรรค 13.2 ล้านบาท 'ก่อแก้ว' อู้ฟู่ 263 ล้าน
ก้าวไกลแพ้! ศาลยกฟ้อง 'ณฐพร โตประยูร' แจ้งเท็จ-หมิ่น ล้มล้างการปกครอง
ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีดำ อ.308/2564 ที่พรรคก้าวไกล เป็นโจทก์ฟ้องนายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ,หมิ่นประมาทฯพร้อมเรียกค่าเสียหาย 20,062,475บาท
รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง
ตำรวจเตือน ห้ามขายเหล้าวันออกพรรษา ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 1 หมื่น
พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันมาฆบูชา
ศาลรธน.ยืนยัน ‘อุดม’ ไม่เสียดสี แค่ตอบ ‘ข้อกม.’
ศาลรัฐธรรมนูญทำหนังสือตอบกลับสภาผู้แทนฯ ยืนยัน "อุดม สิทธิวิรัชธรรม" ตุลาการศาล รธน. แสดงความเห็นหลังยุบพรรคก้าวไกล "ยุบ 3 วันตั้งพรรค"