วิโรจน์ ชนแล้ว! ชู 4 นโยบาย พลิกทางม้าลาย

วิโรจน์29 ม.ค.2565 - นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงนโยบายแก้ไขปัญหาทางเท้า 4 นโยบาย ที่พัฒนาร่วมกับว่าที่ ผู้สมัคร ส.ก. เขตบางบอน ปาล์ม - นิธิกร บุญยกุลเจริญ ผู้พัฒนาเว็บรายงานน้ำท่วมและแอพลิเคชั่นแจ้งปัญหาอื่นๆ  พร้อมยกโปรเจกต์ ‘พบเห็นทางม้าลายมีปัญหาแจ้งวิโรจน์’ ผ่านระบบแจ้งปัญหาฟองดูว์ หลังการเปิดใช้งานได้เพียง 3 วัน มีประชาชนร้องเรียนมาแล้วกว่า 109 จุด โดยมีพื้นที่ที่มีการร้องเรียนซ้ำหลายราย 3 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ใต้ทางด่วนสาทรเหนือสาทรใต้ ถนนบรรทัดทอง และถนนอ่อนนุช 

นายวิโรจน์ได้แถลงนโยบายหลัก 4 ข้อ ลั่นหากผู้ว่าฯ ชื่อวิโรจน์ พร้อมนำเอานโยบายมาปรับใช้ในทันที เรื่องที่หนึ่ง แก้ปัญหาโครงสร้างวิศวกรรม ต้องมีทางม้าลายที่ได้มาตรฐาน มีทางม้าลายชัดเจน มีสัญญาณไฟกด มีกล้องตรวจจับความเร็ว และมีเส้นซิกแซกเพื่อเป็นการเตือนไม่ให้ขับรถด้วยความเร็ว ซึ่งที่ผ่านมา กทม. ใช้งบประมาณเพียง 20 ล้านบาทเท่านั้น ในการปรับปรุงทางม้าลาย 54 แห่งจาก 4,160 แห่งทั่วกรุงเทพ สะท้อนให้เห็นปัญหาในการจัดการ บำรุงรักษา ทางม้าลายอย่างชัดเจน

ข้อที่สอง วิโรจน์ยกปัญหาการบังคับใช้กฎหมายจราจร มาเป็นนโยบายหลัก ซึ่งแม้ว่าการบังคับใช้กฎหมายจราจรจะเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่จากการสำรวจเมื่อปี 2563 มีใบสั่งจากการกระทำผิดกฎหมายทั้งหมด 13 ล้านใบ แต่กลับเก็บค่าปรับได้เพียง 1% ของใบสั่งเท่านั้น  วิโรจน์จึงเสนอให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เช่น การเชื่อมโยงการทำผิดกฎจราจรและสิทธิในการต่อภาษีรถยนต์ เสนอให้มีการตัดคะแนนใบขับขี่ เมื่อทำผิดกฎหมายต้องมีบทลงโทษ เช่น ห้ามขับรถ 30 วัน ไปจนถึงยกเลิกใบขับขี่

ข้อที่สาม เชื่อมสัญญาณไฟคนข้ามกับไฟแดงสี่แยก เนื่องจากถนนเส้นรองของกรุงเทพเป็นถนนที่คนใช้สัญจรและมีความหนาแน่น จึงต้องวางโครงสร้างไฟจราจรและไฟแดงสี่แยกให้เชื่อมกันทุกจุด

และนโยบายสุดท้าย กทม. ต้องทำงานเชิงรุก ไม่ต้องรอประชาชนแจ้ง สำนักงานเขตต้องสำรวจทางเท้าทุก 3 เดือน มีการซ่อมบำรุง ตรวจสอบสภาพให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ 

ในนโยบายหลักทั้ง 4 ข้อนี้ วิโรจน์และทีม เตรียมนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สอดแทรกในแต่ละด้านให้การจัดการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดการฐานข้อมูลเมือง (City Data Platform) ที่จะรวบรวมเอาทรัพย์สินต่างๆ ของกทม. ว่าไว้ในฐานข้อมูล เพื่อทำการตรวจสอบ วันเวลาที่ต้องทำการบำรุงรักษาในระบบออนไลน์ ข้อมูลงบประมาณของเมือง ไปจนถึงเรื่องร้องเรียนของประชาชน พัฒนาระบบจัดเก็บทรัพย์สินของเมือง การใช้กล้องจัดเก็บข้อมูลเมืองแบบ 3D สำหรับการเก็บข้อมูลเมืองและนำไปปรับใช้ พร้อมทั้งเปิดเรื่องร้องเรียน (Open City Complain Platform)

เช่น การใช้ระบบรับเรื่องร้องเรียนฟองดูว์ ที่สามารถแจ้งปัญหาแบบเรียลไทม์ นอกจากน้ี วิโรจน์ยังเสนอให้มีการติดกล้องไว้บนรถที่เป็นทรัพย์สินของกทม. เช่น รถขยะ รถฉีดน้ำ เพื่อให้ง่ายกับการตรวจเช็คทางม้าลาย (Streetview Crosswalk Classification) รวมถึงสนับสนุนให้มีการนำเอา AI มาใช้ตรวจจับ การฝ่าฝืนกฎหมาย และการใช้ไฟ LED ฝังบริเวณทางม้าลาย เพื่อตีเส้นเครื่องหมายจราจรให้เด่นชัด (LED Embedded Road Signs) และ มีการใช้เซนเซอร์แทนการจับเวลาข้ามถนน (Puffin Crossing)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนาคตไกล' รับซื้อ 'ปลาหมอคางดำ' 20 ตันเพื่อกำจัด อัด 'พิธา' ตรรกะวิบัติอ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น

“พรรคอนาคตไกล” บรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง รับซื้อปลาหมอคางดำ 20 ตันเพื่อกำจัด อัด "พิธา-ก้าวไกล ตรรกะวิบัติ" อ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น

'ก้าวไกล' เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ. 'พิธา' อ้อนพี่น้องชาวลำพูนเชื่อในประชาธิปไตย

ก้าวไกลจัดสภากาแฟที่ลำพูน แลกเปลี่ยนปัญหาภาคเอกชน 'พิธา' ชี้เศรษฐกิจภาคเหนือมีแรงเฉื่อยลักษณะพิเศษโตช้า

อึ้ง!ปดิพัทธ์บอกยุบ 'ก้าวไกล' แสดงว่าไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยส่งผลสภานานาชาติ

'ปดิพัทธ์' ยอมรับมีชื่อเป็น กก.บห.ก้าวไกล เสี่ยงพ้น สส. หากพรรคถูกยุบจริง แต่เชื่อมั่นว่าการสู้คดีมีน้ำหนัก ไม่เสียดายตำแหน่งรองประธานสภา ชี้งานที่หาเสียงไว้ทำได้หมดแล้ว

'รังสิมันต์-มาริษ'โต้เดือดปมธนาคารไทยมีเอี่ยวช่วยซื้ออาวุธให้รัฐบาลเมียนมา!

'โรม' จี้ถามจุดยืนประเทศ หลังมีแฉธนาคารในไทย เอี่ยวใช้ธุรกรรมการเงินฆ่าชาวเมียนมา ซัด รบ.ต้องชัดเจน ด้าน 'รมว.กต.'โต้ไม่พบหลักฐานธนาคาร-รัฐบาลไทยเข้าไปเอี่ยว รับการคว่ำบาตรเป็นเรื่องยาก

'รอมฎอน' ลุยสังเกตการณ์ไต่สวนคดีตากใบข้องใจท่าที อสส.

'รอมฎอน' ลุยสังเกตการณ์นัดไต่สวนมูลฟ้องคดีตากใบ 19 ก.ค.นี้ รับกังวลหลัง 'อสส.' ขอญาติผู้สูญเสียยุติร้องเรียน ก่อนคดีหมดอายุความ