เคลียร์ชัด! 'พุทธะอิสระ' แจงคุณสมบัติ 'ห้ามอุปสมบท' ตามกฎมหาเถรสมาคม

‘พุทธะอิสระ’ แจงชัด! คุณสมบัติ ‘ห้ามอุปสมบท’ ตามกฎมหาเถรสมาคม ชี้ถ้าพระอุปัชฌาย์ศึกษาหลักพระธรรมวินัย-ข้อกฎหมายแล้วปฏิบัติตาม คงไม่มีปมดราม่าให้สังคมโจษจัน

28 ม.ค. 2565 – พุทธะอิสระ อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ คุณสมบัติห้ามอุปสมบท ตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม (ตอนที่ 2) โดยระบุว่า

ในเรื่องเกี่ยวกับคุณสมบัติห้ามอุปสมบทนี้ มหาเถรสมาคมได้ตรากฎมหาเถรสมาคมหลายฉบับ ซึ่งรวมทั้ง กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์ ในข้อ 14 ของกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 กำหนดว่า พระอุปัชฌาย์ต้องงดเว้นการให้บรรพชาอุปสมบทแก่คนต้องห้ามเหล่านี้

คนทำความผิดหลบหนีอาญาแผ่นดิน

คนหลบหนีราชการ

คนต้องหาในคดีอาญา

คนเคยถูกตัดสินจำคุกโดยฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ

คนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา

คนมีโรคติดต่อเป็นที่น่ารังเกียจ เช่น วัณโรคในระยะอันตราย

คนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

ในข้อ 16 ของกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 17 กำหนดว่า เจ้าอาวาสผู้เป็นพระอุปัชฌาย์จะรับผู้ใดบวช ต้องมีผู้รับรองและให้ผู้รับรองของผู้นั้น นำผู้จะบวชมามอบตัว พร้อมด้วยใบสมัคร และใบรับรองผู้จะบรรพชาอุปสมบท ซึ่งจะขอได้จากพระอุปัชฌาย์ ก่อนถึงวันบรรพชาอุปสมบทไม่น้อยกว่า 15 วัน

โดยให้เจ้าอาวาสผู้เป็นพระอุปัชฌาย์สอบสวนผู้จะมาบวช ว่าผู้จะมาบวชไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามข้อ 13 และข้อ 14 ดังกล่าว ซึ่งปรากฏตามข้อปฏิญญาในใบสมัครขอบรรพชาอุปสมบท และสอบถามผู้รับรองตามข้อรับรองผู้จะบรรพชาอุปสมบท จนเป็นที่เข้าใจถูกต้องตรงกันดีแล้ว จึงรับใบสมัครขอบรรพชาอุปสมบท และใบรับรอง แล้วจึงดำเนินการฝึกซ้อมผู้จะบวชต่อไป

กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติของมหาเถรสมาคมที่กำหนดให้อุปัชฌาย์คัดกรองบุคคลที่จะเข้ามาบวช ให้มีคุณสมบัติ คุณลักษณะตรงกับหลักพระธรรมวินัยที่กำหนดอนุญาต และห้ามเอาไว้

ไม่รู้ว่าอุปัชฌาย์สมัยนี้ได้เคยอ่านกันบ้างหรือเปล่า อ่านแล้วได้ปฏิบัติตามกันอยู่หรือไม่

หากได้อ่าน ได้ศึกษาตามหลักพระธรรมวินัย และข้อกฎหมายให้ชัดเจนแล้วปฏิบัติตาม สังคมคงไม่มีประเด็นอะไรที่จะนำมาโจษจัน ติเตียนเรื่องการให้บวชแก่บุคคลผู้ต้องการบวชจนเสียหายอยู่ทุกวันนี้ดอก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา พุทธะอิสระ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กในหัวข้อ “คนประเภทใดบวชได้ บวชไม่ได้ อยากรู้ให้อ่านตรงนี้ (ตอนที่ 1)” ว่า คุณสมบัติห้ามอุปสมบท (พระวินัย) ในพระวินัยบัญญัติ ห้ามบุคคล ๘ จำพวก มิให้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา คือ 1.บุคคลที่เป็นโรคอันสังคมรังเกียจ เช่น เป็นโรคติดต่อ รักษาไม่ค่อยจะหายเรื้อรัง ได้แก่โรค 5 อย่าง คือ (1) โรคเรื้อน (2) โรคฝี (3) โรคกลาก (4) โรคหืด (5) โรคลมบ้าหมู (6) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษาไม่หาย (เพิ่มเติม)

2.คนที่มีอวัยวะไม่สมบูรณ์ คือ บกพร่อง เช่น คนที่มีมือขาด มีเท้าขาด มีนิ้วมือนิ้วเท้าขาด มีหูขาด มีจมูกขาด (ไม่ว่าจะโดยกำเนิด หรือ จากอุบัติเหตุ..เพิ่มเติม ) เป็นตัน คนอย่างนี้ตามพระวินัยบวชให้ไม่ได้ 3.คนที่มีอวัยวะไม่สมประกอบ เช่น คนที่มีมือเป็นแผ่น นิ้วมือติดกันไม่เป็นง่าม คนค่อม คนเตี้ย คนปุก (ตีนปุก) (รวมทั้ง คนที่มีอวัยวะผิดไปจากคนปกติ ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม..เพิ่มเติม) เป็นต้น บวชไม่ได้ 4.คนที่พิกลพิการ คือ คนตาบอดตาใส คนที่เป็นง่อย คนมีมือเท้าหงิก คนกระจอกเดินไม่ปกติ และ คนหูหนวก เป็นต้น

5.คนที่ทุรพล เช่น คนแก่ง่อนแง่น คนที่มีกำลังน้อย ไม่อาจทำกิจการต่าง ๆ ด้วยตนเองได้ เป็นต้นว่า กิจในการซักจีวร ย้อมจีวร เป็นต้น คนอย่างนี้ห้ามบวช 6.คนเกี่ยวข้อง คือ หมายถึง คนที่มีพันธะผูกพัน เช่น คนที่บิดามารดาไม่อนุญาต คนที่มีหนี้สิน คนที่มีภรรยาแล้ว ภรรยาไม่อนุญาต ก็บวชไม่ได้ 7.คนเคยถูกอาชญาหลวง มีหมายปรากฏอยู่ ได้รับคำพิพากษาให้ต้องโทษ แต่คดียังไม่ถึงที่สุด ก็ยังมาบวชไม่ได้ หรือยังต้องคดี เป็นที่ต้องสงสัย ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ก็ยังบวชไม่ได้ 8.คนที่ประทุษร้ายต่อสังคม เช่น โจรผู้มีชื่อเสียง โด่งดัง ก็บวชไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

’พุทธะอิสระ‘ วางแล้ว! ไม่ร่วมขบวนทักท้วง ‘ทักษิณ-แพทองธาร’

นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ "พุทธะอิสระ" ผู้ก่อตั้งวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยมีรายละเอียดดังนี้

'พุทธะอิสระ' สวดยับ 'ความเท่าเทียม' ไม่มีอยู่จริง ค่าตอบแทนสส.-สว.-ค่าอาหารเด็ก

นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ “พุทธะอิสระ” อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเรื่อง "ความเท่าเทียม เป็นธรรมทั่วถึง

ชี้ 3 ประเด็นใหญ่ ‘อุ๊งอิ๊ง’ โดนยื่นตรวจสอบแน่ หลังผ่านถวายสัตย์ปฏิญาณ

ได้ยินข่าวแว่วๆ มาว่า หลังจากผ่านการถวายสัตย์ปฏิญาณ จะมีหลายคนเตรียมตัวจ้องจองกฐินถวายสังฆทานท่านนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่สองของตระกูลชิน