เปิดไทม์ไลน์ แก้ฝุ่นพิษ PM 2.5 จากฝั่งการเมือง ฉะยับหลายกระทรวงไม่ขยับ

9 ม.ค.2568 - นายพงศ์พรหม ยามะรัต อดีตรองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กกล่าวถึงกรณีค่าฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯอยู่ในระดับอันตรายว่า รู้สึกแปลกใจว่า เหตุใดกทม. ปริมณฑล และนครปฐม ไม่มีการสั่งปิดโรงเรียน ในขณะที่ฝุ่นพิษเข้าระดับมะเร็งมาหลายวันแล้ว

เอาจริงๆคือ ไม่มีมาตรการอะไรทั้งสิ้นออกมาจากรัฐบาล กระทรวงศึกษา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯผู้ว่าฯกทม. ผู้ว่าจังหวัดรอบด้าน

รัฐบาลนี้มีแต่กระทรวงอุตสาหกรรม พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ที่ตระหนักเรื่องนี้อยู่พรรคเดียว ตอนนายกประยุทธ์ มีการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน มีการตั้งโต้ะเจรจาเพื่อให้เกิดการสลับเผา สำเร็จมั้ย เป็นอีกเรื่อง

คนไทยควรจำหน้า จำพรรค คนเหล่านี้กันให้ได้นะครับ

ใครช่วยเรา เราจำ
ใครทิ้งเรา เราก็จำ

ต่อมา นายพงศ์พรหม ยามะรัต โพสต์เฟซบุ๊กให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อยากให้อ่านกัน เพื่อจะได้เข้าใจว่าเรามีนักการเมืองดี ที่พยายามแก้ปัญหาฝุ่นมะเร็ง PM2.5 มาเหมือนกัน แค่ “น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ”

ส่วนแนวทางการแก้ ผมขอฝาก กระทรวงเกษตร กระทรวงทรัพย์ กระทรวง อว. กระทรวงมหาดไทย รวมถึงผู้ว่า กทม. ที่ผมยังไม่เห็นใครขยับอะไร

ปี 62-63 จริงๆแล้ว 4 กุมาร และ อ.สมคิด สมัยมีอำนาจ มีการจัดประชุมภาคประชาชนเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 เพื่อจะแก้ปัญหาจริงจัง โดย 4 กุมารทั้ง 4 ท่าน + อ.สมคิด มาลุยเรื่องนี้เอง

ผมเก็บภาพประวัติศาสตร์นี้ไว้ เพื่อจำให้ได้ว่า “ใครสนใจประชาชนจริงจัง”

1. การประชุมหาทางแก้ปัญหาฝุ่นพิษนี้ ตอนนั้น อ.อุตตม เป็นหัวหน้าพรรค ได้เชิญสมาชิกพรรคพลังประชารัฐที่สนใจเข้าร่วมด้วย ที่มาๆกัน ก็เท่าที่เห็นในรูป พวกขี้โม้หน้าไมค์ ไม่มีใครมา

2. การประชุมนั้นเป็นจุดเริ่มต้น action plan หลายสิ่งในเวลาต่อมา ผมจะสรุปให้ฟัง

3. พี่กอบศักดิ์ ภูตระกูล เตรียมยกร่าง พรบ.อากาศสะอาด วันนั้นยังค่อนข้างตั้งไข่มากๆ พี่กอบพูดในอีกหลายที่ประชุมต่อมาว่า รีบยกร่างเสียในวันที่เรายังมีอำนาจในหน้าที่ ประชาชนจะได้ประโยชน์

4. พี่สน สนธิรัตน์ เมื่อเข้าเป็น รมว.พลังงาน เร่งนโยบายรถ EV จนเกิดการกำหนด bracket ของการทำ EV charging เป็นครั้งแรกในไทย ต่อด้วยการประกาศจะเร่งสนับสนุน renewable energy เพื่อลดสัดส่วนพลังงานสกปรกลง รวมถึงประกาศ “ขยับ” แนวทางการใช้น้ำมันดีเซลยูโร 5 ให้เร็วขึ้น

5. อ.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ อ.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เปิดแนวทางการ “วิจัยปราบฝุ่น” ผ่านกระทรวง อว. โดยมีแนวทางคือ

5.1 รัฐให้งบประมาณก้อนแรก ให้แก่มหาวิทยาลัย 2 แห่ง 1 แห่งภาคเหนือ อีกแห่งอยู่อีสานหรือกลาง เพื่อทำวิจัย PM10, PM2.5, PM1 เพื่อหา “ส่วนผสม” โมเลกุลพิษที่ต่างกันในแต่ละพื้นที่ (เช่น PM2.5 ในปักกิ่ง แต่ละฤดูไม่เหมือนกัน บางฤดูคือทราย บางฤดูคือโรงงานอุตสาหกรรม การแก้จะถูกจุดมาก ปักกิ่งจึงแก้ได้ยังชัดเจน)

5.2 เป้าการหา “ส่วนผสม” โมเลกุลพิษในฝุ่น จะสามารถต่อยอดได้หลายเรื่อง

5.3 นำไปวิจัยการแพทย์ในภาคเหนือ กลาง อีสาน เพื่อเชื่อมผลกระทบต่อมะเร็ง ภูมิแพ้ ความดัน ตับอักเสบ หรือแม้แต่การมีบุตรยาก เพื่อให้การแพทย์ป้องกัน ดูแลการป่วยได้แม่นยำ

5.4 นำไปวิจัยกับมหาวิทยาลัย + เอกชน เพื่อนำไปพัฒนาแอร์ เครื่องกรองอากาศ หน้ากาก หรืออื่นๆ เช่น supplement ที่จะช่วยป้องกันในฤดูฝุ่น

6. วางแผนการทำ “โซนนิ่ง” แก้ปัญหา ได้แก่วางจุดเปราะบาง เช่นโรงเรียน สถานดูแลคนชรา โรงพยาบาล ให้เกิดการสร้าง “safe zone” เช่นสร้างห้องที่ให้คนมาหลบ โดยมีพัดลม และแผ่น HEPA กรองอากาศจากด้านนอก

7. อ.อุตตม เตรียมเจรจาประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขอความร่วมมือการลดการเผา โดยจะสนับสนุนมูลนิธิการเกษตรต่างๆ เช่นมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ดอยคำ หรืออื่นๆ เพื่อไปร่วมพัฒนาเกษตร “ข้ามแดน” สร้าง win-win กับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดการลดการเผาไปพร้อมๆกัน

8. เตรียมแผนทำ traceability ในสินค้าเกษตร อาหารที่ “ไม่เผา” โดยรัฐจะขึ้นบัญชีสินค้าแนะนำให้เกิดการซื้อเป็น priority ในภาครัฐ

9. เตรียมการทำ equipment sharing ให้เกษตรกรในอุตสาหกรรมอ้อย ข้าวโพด ข้าว เพื่อลดการเผา

10. ออกโทษจับ ปรับ การเผาป่าที่สูง ป่าสงวนอย่างรุนแรง

ผมจำได้คร่าวๆใน 10 ข้อนี้ ใน 10 ข้อนี้ สำเร็จไม่เกิน 1-2 ข้อ เพราะ 1. กรรมการพรรคที่เหลือไม่ได้สนใจ 2. กรรมการพรรค และพรรคร่วมรัฐบาล ไม่ให้ความร่วมมือ 3. สี่กุมาร และ อ.สมคิด นอกจากไม่ได้อำนาจเต็มในการจัดการปัญหาฝุ่นพิษแล้ว กลับถูก “ริบอำนาจ” ให้ฝั่งที่ไม่ได้จะแก้ฝุ่นจริงจังไปทำ กลายเป็นเกิดการ “อะลุ่มอล่วย” หรือ “เกี่ยเซียะ” กับผลประโยชน์เกษตร หรือ มหาดไทย ท้องถิ่นแทน

4. ปี 2563 ไม่ถึงปีจากการเข้ารับตำแหน่งในสมัย 2 ของ 4 กุมาร และ อ.สมคิด คนทั้ง 5 นี้ก็ต้องขอลาออกจากรัฐบาล เพราะทนแรงเสียดทานจากนักการเมือง และทหารบางกลุ่มไม่ได้ ทั้งการจัดการ PM2.5 ที่โกหกประชาชน การยึดอุตสาหกรรมเกษตรไปสร้างระบบเกษตรเคมี ที่เน้นการเผาเยอะๆ

5. ปี 2564-2566 สส.วัน ภาดา วรกานนท์ (ตอนนั้นอยู่พรรคพลังประชารัฐ) และ สส.พรรคเพื่อไทย 1 ท่าน สส.พรรคก้าวไกล 1 ท่าน ยื่นเสนอ พรบ.อากาศสะอาดสู่สภา แต่ไม่มีครั้งใดที่สำเร็จ เพราะ “เทวดา” และทุนการเมืองรอบเทวดาไม่เอาด้วย โดยเฉพาะกระทรวงเกษตร กระทรวงทรัพย์ยุคนั้น (จนวันนี้) ไม่มีใครเอา

6. ปี 2564 พี่กรณ์ จาติกวณิชย์ และคุณเอ๋ อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เข้ามาช่วยลุยเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งการเปิดวงประชุม การหาแนวทาง จนในปี 2567 คุณเอ๋ อรรถวิชช์ เข้ามาช่วยกระทรวงอุตสาหกรรม เราจึงเห็นการ “เล่น” โรงงานหีบอ้อย รวมถึงเปิดชื่อโรงงานที่สนับสนุนการเผาเป็นครั้งแรก

นี่คือ 6 ปี ประวัติการสู้ PM2.5 จากฝั่งการเมือง จากนักการเมืองส่วนน้อย ไม่เกิน 10% ในสภา
น้ำน้อย จึงย่อมแพ้ไฟ และเกิดคำถามว่า ปัญหาหนักหลายๆปัญหาในวันนี้ ประชาชนเลือกคนแบบไหนเข้าสภา และทำไมคนเก่งๆ ตั้งใจดี จึงไม่เคยได้อำนาจจริงจังในสภาบ้านเรา?

มีแต่พวก “ใจถึงปลอมๆ” ที่สนแต่ผลประโยชน์ตัวเอง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชลประทานเชียงใหม่ งัดไม้แข็งจะไม่ปล่อยน้ำ หากมีการเผาป่าในพื้นที่เกษตร

นายชัยณรงค์ นันตาสาย ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ได้มีการประชุมหารือแนวทางการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นางณัฐธัญ กาหลง เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่

'ดร.เอ้' เผยพ่อป่วยเข้าไอซียู เพราะสูดฝุ่นพิษ PM 2.5 เรื่องเศร้าคนกรุงตายผ่อนส่ง

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กทม. โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผมขอ "ขอบพระคุณ" ทุกท่านที่แสดงความห่วงใยคุณพ่อครับ

ฝุ่น PM 2.5 กทม. แนวโน้มลดลง เกินค่ามาตรฐานเหลือ 15 พื้นที่ อยู่ฝั่งธนบุรีเป็นส่วนมาก

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร

นักวิชาการ เตือนคนกรุงฝุ่น PM 2.5 สูงมาก อากาศข้างนอกเย็นสบาย แต่ออกไปอาจป่วยตายได้

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า กรุงเทพฯช่วงนี้ อากาศข้างนอกเย็นสบายแต่ออกไปอาจป่วยตายได้..

'แพทองธาร' มั่นใจปัญหาหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 ปี 68 ไม่รุนแรงเหมือนปีก่อน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม. รับทราบการแก้ปัญหาหมอกควัน และ PM2.5 โดยให้ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ