‘คำนูณ’ ยันแก้ รธน. มาตรา 256 เพิ่มเติมหมวดใหม่ ต้องมีประชามติ สอบถาม ปชช.ก่อน

5 ม.ค.2568-นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) แชร์โพสต์ข้อความเก่าเมื่อวันที่ 12 มีนาม 2564 สมัยยังป็น สว. เรื่อง ตีความคำวินิจฉัยย่อศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมข้อความเพิ่มเติมระบุว่า จะแก้รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 256 เพิ่มเติมหมวดใหม่ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้แล้วว่าทำได้ แต่จะต้องจัดให้มีประชามติสอบถามประชาชนเสียก่อนว่าประสงค์จะให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับหรือไม่เสียก่อนในฐานะที่เป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ (Pouvior Constituant) ผมเคยเขียนและพูดเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2564 เมื่อมีคำวินิจฉัยย่อปรากฎออกมา ภายหลังเมื่อมีคำวินิจฉัยกลางออกมาก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลงในสารัตถะสำคัญ โดยเฉพาะไม่ได้มีการกล่าวอะไรเพิ่มเติมในประเด็นที่ 3 ที่ผมเขียนไว้

“ผมจึงมีความเห็นคงเดิมจนทุกวันนี้ จึงขอบันทึกไว้อีกครั้งว่าจะเสนอแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพิ่มเติมหมวดใหม่ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับจะต้องจัดให้มีประชามติสอบถามประชาชนก่อน สุดแท้แต่จะพิจารณากัน”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโพสต์เมื่อวันที่ 12 มีนาม 2564 ของนายคำนูณ เรื่อง ตีความคำวินิจฉัยย่อศาลรัฐธรรมนูญ ระบุว่า จากการอ่านเฉพาะคำแถลงสรุปคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 11 มีนาคม 2564 เพียงย่อหน้าเดียว  ผมสรุปได้ดังนี้

1. ศาลยืนยันหลักการเกี่ยวกับ ‘อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ’ อีกครั้งว่าเป็นอำนาจสูงสุด เหนือกว่าอำนาจรัฐสภา

2. ศาลวางเกณฑ์ทั่วไปในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ชัดเจนและหนักแน่นขึ้นกว่าคำวินิจฉัยที่ 18-22/2555 จากคำแนะนำว่า ‘ควร’ จัดทำประชามติก่อน มาเป็นหลักการว่า ‘ต้อง’ ถามและได้คำตอบอนุญาตโดยตรงจากประชาชนในฐานะผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติเสียก่อน เพราะตามข้อ 1 อำนาจการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นอำนาจของประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อำนาจของรัฐสภา และต้องทำประชามติรวม 2 ครั้ง ครั้งแรก ‘ก่อน’ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งย่อมหมายความว่าก่อนเริ่มต้นกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งหมด และการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 เพิ่มหมวดว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ในวาระ 1 และ 2 ของรัฐสภาแม้จะยังไม่ใช่การเริ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยตรงแต่ย่อมต้องถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย โดยศาลระบุแม้ในคำวินิจฉัยย่อนี้ว่าต้องถามในการลงประชามติเป็นการเฉพาะว่าประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และครั้งที่ 2 ‘หลัง’ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สำเร็จ ถามว่าประชาชนเห็นชอบกับการนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้แทนฉบับเดิมหรือไม่

พูดง่าย ๆ คือ ‘ต้อง’ ทำประชามติทั้ง ‘ก่อน’ และ ‘หลัง’ กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

3. ประเด็นที่ก่อให้เกิดข้อถกเถียงกันมากที่สุดก็คือ ในคำวินิจฉัยย่อไม่ได้พูดถึงการทำประชามติหลังร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 เพื่อให้เกิดหมวดใหม่กำหนดกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านวาระ 3 อาจจะเพราะเป็นเรื่องทั่วไป 1 ใน 6 ประเด็นที่ต้องทำประชามติอยู่แน่นอนแล้วตามบังคับรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ( ศาลไม่จำเป็นต้องกล่าวถึง หรือจะเพราะไม่ใช่คำถามจากรัฐสภา หรือจะเพราะเหตุอื่นใด จึงทำให้มีผู้ตีความว่าการทำประชามติตามมาตรา 256 ( นี้หมายถึงการทำประชามติครั้งแรกในหลักการเฉพาะในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ศาลวางไว้ในขัอ 2 ผมเห็นว่าการตีความเช่นนี้จะถูกต้องก็ต่อเมื่อศาลได้กล่าวระบุไว้ชัดเจนในคำวินิจฉัยกลางทึ่จะเผยแพร่ต่อไปเท่านั้น ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ศาลน่าจะได้กำหนดเกณฑ์ในการตั้งคำถามประชามติให้ชัดเจนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการเฉพาะที่ศาลได้วางในข้อ 2 ตัวอย่างเช่น อาจกำหนดให้ตั้งคำถามในการลงประชามติเป็น 2 คำถาม

คำถามที่ 1 – ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ

คำถามที่ 2 – ท่านเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ผ่านรัฐสภามานี้หรือไม่

แม้แนวทางนี้จะสอดคล้องกับความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ ไม่ขัดกับหลักการในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ที่ศาลวางไว้ในข้อ 2 และเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน แต่ถ้าศาลไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนในคำวินิจฉัยกลาง ผมเห็นว่ารัฐสภาจะถือว่าการลงประชามติหลังผ่านวาระ 3 ตาม 256 (หมายถึงการลงประชามติครั้งแรกตามหลักการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ศาลวางหลักการเฉพาะไว้แล้วหาได้ไม่ เพราะ(1) เป็นการนำบททั่วไป (การลงประชามติในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น) มาใช้แทนบทเฉพาะ (การถามประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญว่าประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่) และ

(2) ไม่ใช่อำนาจของรัฐสภาที่จะวินิจฉัย โดยเฉพาะการวินิจฉัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อยู่นอกเหนืออำนาจของรัฐสภาโดยลำพัง

4. สรุปเบื้องต้นในความเห็นส่วนตัวผมหลังอ่านคำวินิจฉัยย่อ หากคำวินิจฉัยกลางไม่ได้เขียนประเด็นในข้อ 3 ไว้ให้ชัดเจน การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงต้องผ่านการทำประชามติ 3 ครั้ง (1) ก่อนเริ่มดำเนินการเสนอหรือพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว (2) หลังร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวผ่านวาระ 3 และ (3) หลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จ

5. ตามความเห็นที่ลำดับมา ผมจึงเห็นว่าการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อให้เกิดกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับที่ผ่านมาในวาระ 1 และ 2 ไม่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงยังไม่ควรลงมติวาระที่ 3 ตามที่กำหนดไว้ก่อนหน้าที่ศาลจะมีคำวินิจฉัย

หากเดินหน้าลงมติวาระ 3 จะเสี่ยงต่อการจงใจปฏิบัติหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญได้

โดยเชื่อว่าจะมีบุคคลภายนอกยื่นคำร้องต่อศาลอีกแน่ โดยใช้ช่องทางตามมาตรา 49 อีกครั้ง และครั้งใหม่นี้ข้อเท็จจริงจะแตกต่างออกไปจากครั้งก่อนที่ศาลยกคำร้องไปแล้ว เพราะเป็นการกระทำที่ศาลมีคำวินิจฉัยวางหลักเกณฑ์การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ไว้แล้ว

นอกจากนั้น ส.ส.และส.ว.ยังสามารถเข้าชื่อกันยื่นคำร้องต่อศาลตาม 256(9) ได้ว่าการลงมติวาระที่ 3 ขัดมาตรา 255 เพราะรัฐสภาไม่มีอำนาจหน้าที่ในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับหากยังไม่ได้รับอนุญาตจากประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ

6. ส่วนจะดำเนินการต่อไปอย่างไรในรายละเอียด เป็นเรื่องที่รัฐสภาจะต้องปรึกษาหารือกัน

7. รัฐสภาจะต้องเร่งดำเนินการผ่านร่างกฎหมายประชามติโดยเร็ว

หวังว่าคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญจะเผยแพร่ออกมาโดยเร็ว และตอบคำถามได้ครบถ้วนกระบวนความ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รักษาจุดยืนพรรค ’ชูศักดิ์’ ปัดตอบ ‘พริษฐ์’ มอง พท. มีโอกาสกลับลำไม่แก้ รธน. บางประเด็น

’ชูศักดิ์‘ ปัดคอมเมนต์ ‘พริษฐ์’ มอง ‘เพื่อไทย’ มีโอกาสกลับลำไม่แก้บางประเด็น ย้ำชัดต้องรักษาจุดยืนของพรรค โยน ‘วิสุทธิ์’ ตัดสินใจประชุมร่วมฯ แก้ รธน. 14-15 ม.ค.หรือไม่ เมิน เสียงวิจารณ์ พท.คว่ำร่าง ปชน.บอกเป็นแค่เสียง ต้องรอดูถกในสภาฯ

'นิกร' เชื่อแก้รธน. มาตรา 256 ฉบับพรรคส้ม โอกาสผ่านยาก เหตุหักอำนาจ สว.

นายนิกร จํานง เลขานุการกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีสภาผู้แทนราษฎร เตรียมพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และหมวด 15/1

'ชูศักดิ์' ยันเป็นอำนาจหน้าที่ของสภาฯ แก้รธน. มาตรา 256 ใครจะร้องก็ว่ากันไป

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ว่า นายวันมูฮะหมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร จะใช้อำนาจสั่งบรรจุร่างจะแก้ไขมาตรา 256 ที่เสนอโดยพรรคประชาชน (ปชน.)

'ชูศักดิ์' เผยครม.ติดจรวจ กม.เพื่อปชช. หาช่องแก้ม. 256 ดันรธน.ใหม่ทันรัฐบาลนี้

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ให้สัมภาษณ์ถึงการเสนอกฎหมายต่อสภาฯในนามรัฐบาล ว่า สิ่งที่รัฐบาลจะขับเคลื่อนนโยบายทางด้าน

‘ณัฐวุฒิ’ ย้ำ ‘เพื่อไทย-พรรคส้ม ’ อยู่ก๊กเดียวกัน ชี้ ภท. ก๊กอนุรักษ์นิยมขวางแก้รธน.

นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าผลการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ คืออีกรูปธรรมหนึ่งของก