ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.

25 ธ.ค.2567 - ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)​ (ผู้ถูกร้องที่ 1) เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิของผู้ร้อง ในการสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ทำให้การเลือกสมาชิกวุฒิสภาไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ขัดหรือแย้งต่อรัฐธธรรมนูญ มาตรา 215 และมาตรา 224 วรรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (4) และ (6)

2. การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองกลาง (ผู้ถูกร้องที่ 1) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้องตามรัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 มาตรา 188 มาตรา 191 มาตรา 197 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และมาตรา 215

และ 3. การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน (ผู้ถูกร้องที่ 3) ที่ยุติเรื่องร้องเรียนโดยไม่ดำเนินการ
แสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาสรัฐธรรมนูญ เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้อง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 215 มาตรา 221 มาตรา 230 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) และมาตรา 231

ศาลรัฐธรรมนูญแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องไม่ปรากฏว่าผู้ร้องยื่นคำร้องเกี่ยวกับการกรกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 ต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีไม่เป็นไป
ตามหลักเกณฑ์พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 46 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213

สำหรับการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นการใช้อำนาจของผู้พิพากษาหรือตุลาการ
ที่มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 188 วรรคสอง ประกอบกับเป็นเรื่องที่ศาลอื่นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วตามพระระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธธธรรมนูญพ.ศ. 2561 มาตรา 47 (4) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐรรมนูญ มาตรา 213

ส่วนการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 3 เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย หากผู้ร้องเห็นว่าเป็นการ
กระทำละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ ผู้ร้องอาจใช้สิทธิทางศาลได้ศาลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรคสาม เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรรมนูญได้กำหนดกระบวนการร้องหรือผู้มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยไว้เป็นการเฉพาะแล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 47 (2) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รุ่นใหม่-รุ่นเลี้ยงหลาน' ไม่ต่างกัน! สส.ส้มผวาหลุดเก้าอี้ พูดอย่างทำอย่าง

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "44 คนของพรรคส้ม" โดยระบุว่า ผลพวงของ 44 สส. พรรคก้าวไกล ร่วมลงชื่อร่างแก้ไขมาตรา 112

'ไอติม' ร้องนายกฯ 'ยุบสภา' ซัดพรรคร่วมรัฐบาลขัดแย้งหนัก ทำถกแก้รธน.ล่ม!

สส.พริษฐ์ หรือ 'ไอติม' ตั้งคำถามถึงสาเหตุที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องชะงัก หลังพรรคเพื่อไทยล่มประชุมสภาต่อเนื่อง 2 วัน ซัดแรง!หรือแท้จริงแล้วเป็นเพราะความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล มากกว่าประเด็นข้อกังวลทางกฎหมาย พร้อมเรียกร้อง นายกฯ ควรพิจารณาข้อเสนยุบสภา!

ดร.ณัฏฐ์ ชี้เกมยื้อแก้รธน. 'ปชน.-พท.' ข้ามขั้นตอน เสี่ยงขัดคำวินิจฉัยศาลรธน. ส่งตีความก็ไม่ช่วย

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน เผย พลิกเกมยื้อแก้ไข รธน.ฉบับ ปชน.-พท. แม้บรรจุเป็นวาระแล้ว เป็นการลักไก่ ข้ามขั้นตอน ไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้ง แม้ส่งศาลรธน. ย่อมไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณา

'หมอเปรม' ยันไม่ถอนญัตติส่งศาลฯวินิจฉัย ชี้การเมืองสามก๊ก แก้รธน.ไม่มีทางสำเร็จ

นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว.ผู้เสนอญัตติต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาให้ส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมล่มเป็นวันที่ 2 ว่า สะท้อนให้เห็นว่าเป็นการเมืองแบบสามก๊กได้ชัดเจนมาก

เปิดเบื้องลึก! ทำไม 'เพื่อไทย' ต้องลงทุนยกร่างรธน.ฉบับใหม่

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ทำไมต้องลงทุนยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" โดยระบุว่า