ช่วยกันแชร์! 'เทพมนตรี' แนะวิธีการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลด้วยการยกเลิกMOU44

24 ธ.ค.2567- นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thepmontri Limpaphayorm หัวข้อ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลด้วยการยกเลิกMOU44

ความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน ปรากฏอย่างชัดแจ้งตามพระราชโองการโปรดเกล้าฯ โดยทรงประกาศว่าเป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

ซึ่งพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘ และมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนญูแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

แน่นอนที่สุดว่าการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการยืนยันในข้อบทตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและผ่านความเห็นชอบจากสภา แม้เป็นการจำกัดสิทธิสิทธิและเสรีภาพของบุคคล เพราะเหตุว่า ต้องการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และสิทธิหน้าท่ีอื่นๆใดตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขท่ีบัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

ข้อความสำคัญในอารัมภบทของพระราชบัญญัตินี้ ทำให้เหตุผลการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลก็เพื่อประโยชน์ชาติโดยรวม และข้อบทในพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเสรีภาพนั้นเข้ามามีส่วนร่วมต่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างมากมาย ดังปรากฏอยู่ใน “อำนาจและหน้าที่” ของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตามวรรค ๕ ที่ต้องปฏิบัติ

“(๕) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนตระหนักรู้ในความสำคัญของผลประโยชนข์องชาติทางทะเล สิทธิอธิปไตย เขตอำนาจและสิทธิในการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในเขตทางทะเลพื้นที่ต่าง ๆ และ หน้าที่ท่ีต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวมท้ังส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ท่ีกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล”

สำหรับ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติฉบับนี้มี “นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้เป็นประธานกรรมการ การจัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่อย่างมากมายและมีองค์ประกอบของหน่วยงานราชการสำคัญเข้ามาบริหารจัดการภายในศูนย์นี้ ตามมาตรา ๒๒

“ให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์อกนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการบริหาร ศรชล.” ประกอบด้วย ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานกรรมการ รองผู้บัญชาการทหารเรือซึ่งผู้บัญชาการทหารเรือมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ อธิบดี กรมการจัดหางาน อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมเจ้าท่า อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ อธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยอธิบดีกรมศุลกากรอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย อธิบดีกรมสรรพสามิต อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนสกนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ผู้แทนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ ผอ.ศรชล.ภาค เป็นกรรมการ”

จากองค์ประกอบของหน่วยงานราชการ แสดงให้เห็นว่าการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นประเด็นสำคัญต่อสังคมเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ของโลกและสภาพภูมิรัฐศาสตร์แวดล้อมประเทศไทยในหวงทศวรรษที่ผ่านมา สะท้อนถึงความจำเป็นที่รัฐบาลลุงตู่ได้กระทำเอาไว้ ซึ่งหากนำไปเปรียบเทียบกับข้อบทใน MOU44 ด้วยแล้ว ย่อมขัดแย้งกันอย่างเห็นได้ชัด และองค์ประกอบของคณะกรรมการ JTC ย่อมเล็กและคับแคบกว่า รวมถึงไม่มีความรอบคอบ เป็นความประมาทเลินเล่อของผู้ร่างและผู้ลงนามให้เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศจนอาจเพลี่ยงพล้ำสูญเสียอธิปไตยของชาติทางทะเลได้

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สำหรับประเทศไทยแล้วได้เคยกำหนดเขตพื้นที่แนวสกัดชายแดนไหล่ทวีปโดยอิงอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีปและสัญญากับต่างประเทศ โดยมีแผนที่แนบท้ายในการประกาศของกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑ แม้จะเป็นการกำหนดพื้นที่ในการออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจปิโตรเลียมฯ ก็ตาม เราจะเห็นว่าเส้นไหล่ทวีปนั้นมีความใกล้เคียงคงเส้นคงวาเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปเดียวกันกับการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย ซึ่งประกาศเป็นพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๖ นอกจากนี้ยังมีการประกาศเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวกับไหล่ทวีปของไทยในทะเลด้านอ่าวไทยอีกหลายครั้ง เช่น การประกาศเขตเศษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ หรือการประกาศพื้นที่แปลงสัมปทานของไทย ซึ่งแผนที่แนบท้ายของการประกาศเหล่านี้เป็นแผนที่แสดงเส้นเขตไหล่ทวีปอันเดียวกันด้วย

กล่าวโดยสรุปในเรื่องแผนที่แนบท้ายการประกาศไหล่ทวีปหรือเส้นเขตแดนทางทะเลของไทยได้จัดทำขึ้นก่อนการประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชา และมีความคงเส้นคงวาอ้างอิงกฏหมายระหว่างประเทศมากว่า ๕ ทศวรรษแล้ว
อนึ่ง พระราชบัญญัติ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้นิยามสิ่งสำคัญไว้หลายต่อหลายอย่างเพื่ออธิบายความอันปรากฏรายละเอียดไว้ในรายมาตรา เช่น

“ผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” หมายความว่า ผลประโยชน์ของประเทศไทยอันพึงได้รับ จากกิจกรรมทางทะเล หรือประโยชน์อื่นใดในเขตทางทะเล ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เพื่อให้ เกิดประโยชน์ในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ด้านทรัพยากร หรือด้านส่ิงแวดล้อม

“เขตทางทะเล” หมายความว่า ชายฝั่งทะเลและพื้นที่ทางทะเลท่ีประเทศไทยมีอำนาจอธิปไตย หรือสิทธิอธิปไตย หรือมีสิทธิหรือเสรีภาพในการใช้หรือจะใช้ หรือมีหน้าท่ีรับผิดชอบตามกฎหมาย ระหว่างประเทศหรือตามสนธิสัญญาหรือด้วยประการใด ๆ ได้แก่ น่านน้าภายใน ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง เขตเศรษฐกิจจาเพาะ ไหล่ทวีป และทะเลหลวง และให้หมายความรวมถึงเกาะเทียม สิ่งติดตั้ง และสิ่งปลูกสร้างในทะเล รวมทั้งห้วงอากาศเหนือทะเล พื้นดินท้องทะเล ใต้พื้นดินท้องทะเล และพื้นท่ีทางทะเลอื่นตามท่ีคณะกรรมการประกาศกาหนดในราชกิจจานุเบกษา

“กิจกรรมทางทะเล” หมายความว่า การดำเนินการเพื่อใช้ประโยชน์ในเขตทางทะเลใน รูปแบบต่าง ๆ เช่น การพาณิชยนาวี การประมง การท่องเท่ียว การแสวงประโยชน์จากทรัพยากร ที่ไม่มีชีวิต การวางสายเคเบิลหรือท่อใต้ทะเล การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือการสำรวจและวิจัย วิทยาศาสตร์ทางทะเล

เราจะเห็นได้ว่าเฉพาะ ”เขตทางทะเล” นั้น พระราชบัญญัติฉบับนี้เขียนไว้ชัดแจ้งในแง่ของการประกาศ “อำนาจอธิปไตย หรือสิทธิอธิปไตย หรือมีสิทธิหรือเสรีภาพในการใช้หรือจะใช้ หรือมีหน้าท่ีรับผิดชอบตามกฎหมาย ระหว่างประเทศหรือตามสนธิสัญญาหรือด้วยประการใด ๆ “ ซึ่งประธานคณะกรรมการศูนย์ ศรชล. คือตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นจะต้องรักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ การอันใดที่นายกรัฐมนตรีได้ออกมติหรือมีคำสั่งด้วยการประกาศหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ย่อมขัดแย้งกับพระบรมราชโองการและพระราชบัญญัติที่ผู้เขียนได้อ้างมา เป็นการบังอาจกระทำผิดต่อหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะผู้อำนวยการ ศรชล. และถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีประเทศไทย

หากนายกรัฐมนตรีใช้มติคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค หรือที่เรียกว่า JTC ตามข้อบทใน MOU44 เพื่อไปดำเนินการเจรจาตามที่ได้ตกลงไว้ใน MOU ประเทศไทยอาจสูญเสียดินแดนทะเลอาณาเขตไหล่ทวีปไปอย่างง่ายดาย เพราะพื้นที่ๆจะไปดำเนินการเจรจานั้นอยู่ภายในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน

พื้นที่ๆว่านี้คือที่ใด? นั่นก็คือพื้นที่ในแผนที่แนบท้าย MOU44 ซึ่งทำให้เราเห็นว่า กัมพูชาได้ขีดเส้นไหล่ทวีปรุกล้ำเข้ามายังดินแดนประเทศไทยกว่า ๒๖,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันยังถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน
ส่วนแรกคือพื้นที่พัฒนาร่วม

ส่วนที่สองคือพื้นที่ทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ

เมื่อเรานำแผนที่แนบท้าย MOU44 มาแยกส่วนให้เห็น ๒ ส่วนดังกล่าวแล้ว ย่อมทำให้เข้าใจว่า คณะกรรมการร่วมทางด้านเทคนิค หรือ JTC ที่ดำเนินการร่วมกันของ ๒ ประเทศ จะไม่แสวงหาเส้นทะเลเขตอาณาเขต ไหล่ทวีป หรือเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เส้นใหม่ที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศอย่างที่ประเทศไทยเคยทำแล้วในอดีต หากแต่จะดำเนินการภายใต้กรอบการอ้างสิทธิทับซ้อนตามแผนที่แนบท้าย MOU44 ทั้งนี้เห็นได้จากหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคที่เขียนเอาไว้ในข้อ ๓ ของ MOU44

“คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของประเทศไทยและประเทศกัมพูชาซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากแต่ละประเทศแยกต่างหากจากกัน คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคมีหน้าที่รับผิดชอบ สำหรับการกำหนด

(๑) เงื่อนไขที่ตกลงร่วมกันของสนธิสัญญาการพัฒนาร่วม รวมถึงพื้นฐานซึ่งยอมรับร่วมกันในการแบ่งปันค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ของการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วม และ

(๒) การแบ่งเขต ทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะระหว่างเขตที่แต่ละฝ่ายอ้างสิทธิอยู่ในพื้นที่ที่ต้องแบ่งเขตตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งใช้บังคับ”

ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่า MOU44 คือสนธิสัญญาระหว่างประเทศไม่ใช่ ”กรอบการเจรจา” มีบทเปลี่ยนแปลงพระราชอาณาเขต ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ต้องผ่านความเห็นขอบจากรัฐสภาก่อน เพราะรายละเอียดของ MOU44 เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นความผิดพลาดของไทยและความอ่อนด้อยของข้าราชการและนักการเมืองที่ไปทำการเจรจา หามิเช่นนั้นแล้วมันอาจเป็นเรื่องผลประโยชน์เฉพาะของกลุ่มทุนข้ามชาติ หรือผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมือง

ข้อตกลงใน MOU44 มีดังนี้

๑. ภาคีผู้ทำสัญญาพิจารณาว่าเป็นที่พึงปรารถนาที่จะทำข้อตกลงชั่วคราวซึ่งมีลักษณะที่สามารถปฏิบัติได้ในเรื่องพื้นที่อ้างอิงสิทธิทับซ้อน

๒. เป็นเจตนารมณ์ของภาคีผู้ทำสัญญา โดยการเร่งรัดการเจรจา ที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้ไปพร้อมกัน

(ก) จัดทำความตกลงสำหรับการพัฒนาร่วมทรัพยากรปิโตรเลียมซึ่งอยู่ในพื้นที่พัฒนาร่วมดังปรากฏตาม เอกสารแนบท้าย ( สนธิสัญญาการพัฒนาร่วม ) และ

(ข) ตกลงแบ่งเขตซึ่งสามารถยอมรับได้ร่วมกันสำหรับทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะในพื้นที่ที่ต้องแบ่งเขต ดังปรากฏตามเอกสารแนบท้ายเป็นเจตนารมณ์ที่แน่นอนของภาคีผู้ทำสัญญาที่จะถือปฏิบัติบทบัญญัติของข้อ (ก ) และ (ข) ข้างต้นในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกได้

๓. เพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ ๒ จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของประเทศไทยและประเทศกัมพูชาซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากแต่ละประเทศแยกต่างหากจากกัน คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคมีหน้าที่รับผิดชอบ สำหรับการกำหนด

(๑) เงื่อนไขที่ตกลงร่วมกันของสนธิสัญญาการพัฒนาร่วม รวมถึงพื้นฐานซึ่งยอมรับร่วมกันในการแบ่งปันค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ของการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วม และ

(๒) การแบ่งเขต ทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะระหว่างเขตที่แต่ละฝ่ายอ้างสิทธิอยู่ในพื้นที่ที่ต้องแบ่งเขตตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งใช้บังคับ

๔.คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคจะประชุมกันโดยสม่ำเสมอเพื่อให้การดำเนินการในเรื่องนี้เสร็จสิ้นโดยเร็ว คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคอาจจัดตั้งคณะอนุกรรมการตามที่เห็นว่าเหมาะสม

๕.ภายใต้เงื่อนไขการมีผลใช้บังคับของการแบ่งเขตสำหรับการอ้างสิทธิทางทะเลของภาคีผู้ทำสัญญาในพื้นที่ที่ต้องมีการแบ่งเขต บันทึกความเข้าใจนี้และการดำเนินการทั้งหลายตามบันทึกความเข้าใจนี้จะไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลของแต่ละภาคีผู้ทำสัญญา”

สำหรับข้อ ๑-๔ ผู้เขียนได้นำเสนอไปแล้วในบทความหลายต่อหลายหลายครั้ง ส่วนข้อ ๕ ที่อาจเป็นประเด็นทำให้ข้าราชการและนักการเมืองสามารถนำมาอ้างว่ายังคงรักษาเขตแดนทางทะเลได้นั้น ถ้าเราอ่านทำความเข้าใจก็จะเห็นได้ว่า ไม่มีข้อความตอนไหนที่ทำให้ไทยจะไม่เสียดินแดน เช่น ประโยคที่ว่า “ภายใต้เงื่อนไขการมีผลใช้บังคับของการแบ่งเขตสำหรับการอ้างสิทธิทางทะเลของภาคีผู้ทำสัญญาในพื้นที่ที่ต้องมีการแบ่งเขต” ซึ่งแท้ที่จริงแล้วมันการยืนยันว่าพื้นที่ๆต้องแบ่งเขต คือพื้นที่ๆปรากฏบนแผนที่แนบท้าย MOU44 นั่นเอง ข้อนี้จึงไม่มีประโยคไหนที่บอกว่าไทยนั้นรักษาสิทธิอำนาจ อธิปไตย และดินแดนได้เลย ส่วนประโยคสุดท้ายที่กล่าวว่า “บันทึกความเข้าใจนี้และการดำเนินการทั้งหลายตามบันทึกความเข้าใจนี้จะไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลของแต่ละภาคีผู้ทำสัญญา” ก็แน่นอนอยู่แล้วว่าเป็นแค่ข้ออ้างที่อ้างไปอ้างมา แต่สุดท้ายแล้วพื้นที่ๆต้องแบ่งกันนั้นก็อยู่ภายใต้แผนที่แนบท้ายที่แสดงเส้นเขตไหล่ทวีปทับซ้อนกันที่ต่างฝ่ายต่างนำมาอ้างสิทธินั่นเอง

การแสวงหาเส้นทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่ถูกต้องยุติธรรมจริงๆระหว่างไทยกับกัมพูชาภายใต้ MOU44 จะไม่สามารถกระทำได้เลย หากปล่อยสถานการณ์ให้เป็นเช่นนี้และไทยไม่ยืนยันอ้างสิทธิที่ถูกต้องในเขตแดนทางทะเลที่ได้กระทำไว้ภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศ ย่อมจะก่อให้เกิดการวิวาทะทางความคิดหรือลุกลามใหญ่โตจนเกิดเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศ

ด้วยเหตุนี้ MOU44 เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติแล้วย่อมกระทำได้ยาก เพราะขัดต่อกฏหมายสองสถานคือกฏหมายภายในประเทศไทย ขัดรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่ตราเอาไว้ก่อนหน้าและหลังการลงนาม MOU และกฏหมายระหว่างประเทศที่ฝ่ายกัมพูชาได้ฝ่าฝืนความเป็นจริงด้วยการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ผิดพลาด ทั้งสนธิสัญญาค.ศ.1907 และรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปันเขตแดน ครั้งที่ ๒ เมื่อค.ศ.1908 พร้อมหลักฐานแผนที่ที่ถูกอ้างว่าเป็นผลงานของคณะกรรมการในการประชุมครั้งที่ ๕ เมื่อค.ศ.1908 เช่นกัน

การกระทำของกัมพูชาคราวประกาศเขตไหล่ทวีปเมื่อพ.ศ.๒๕๑๕ แล้วลากเส้นเขตแดนทางทะเลผ่ากลางเกาะกูด โดยสำคัญและเข้าใจผิดว่าเส้นประที่ปรากฏบนแผนที่ฝรั่งเศสหลายฉบับนั้นคือ “เส้นเขตแดน” แต่ทว่าเส้นเหล่านั้นคือจุดเล็งยึดโยงหลักเขตที่ ๗๓ จากยอดเขาสูงสุด (เขาแผนที่) บนเกาะกูดเข้าหาตำแหน่งของหลักเขตที่ตั้งอยู่ชายฝั่งอันเป็นหลักเขตแดนทางบกหลักเขตสุดท้ายระหว่างไทยและอินโดจีนฝรั่งเศสที่แหลมสารพัดพิษนั้นต่างหาก

ความเข้าใจผิดที่ว่านี้ข้าราชการไทยและนักการเมืองไทย รวมถึงสมุนรับใช้ทั้งหลายก็มิได้คิดที่จะทำการโต้แย้งหรือประท้วงกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ในขณะที่ทางการกัมพูชาโดยเฉพาะสมเด็จฮุนเซนและนายฮุนมาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชาต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เกาะกูดนั้น กัมพูชาไม่เคยยกให้เป็นของไทย แต่อยู่ระหว่างการเจรจาโดยคำนึงถึงสันติภาพในรูปแบบของคณะกรรมการร่วมทางด้านเทคนิค หรือ JTC

ข้อเสนอง่ายๆของผม

๑.รัฐบาลควรยกเลิก MOU44 อันมิชอบและถือเป็นโมฆะตั้งแต่ต้น ขัดต่อหลักกฏหมายทั้งภายในและที่ไทยเคยประกาศไว้แล้วตามกฏหมายระหว่างประเทศ

๒.ประชาชนสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีกับข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ หรืออดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญในหมวดหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะนำไปสู่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้

“คดีที่พิจารณาวินิจฉัยคำร้องของประชาชนหรือชุมชนฟ้องหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ได้รับประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ (รัฐธรรมนูญ มาตรา ๕๑) ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๕ ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำสั่งในคดีนี้ ได้แก่ คำสั่งที่ ๔๐/๒๕๖๔ และคำสั่งที่ ๕๙/๒๕๖๔ ตัวบทรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง “มาตรา ๕๑ การใดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐตามหมวดนี้ ถ้าการนั้นเป็นการทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ย่อมเป็นสิทธิของประชาชนและชุมชนที่จะติดตามและเร่งรัดให้รัฐดำเนินการรวมตลอดทั้งฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” ความมุ่งหมายกำหนดขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่ารัฐจะทำหน้าที่ของรัฐที่บัญญัติไว้โดยประชาชนและชุมชนไม่ต้องร้องขอ หากรัฐไม่ดำเนินการตามหน้าที่ที่บัญญัติไว้ ประชาชนและชุมชนสามารถใช้สิทธิที่จะติดตาม เร่งรัด หรือฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐได้”
ด้วยเหตุนี้การที่รัฐบาลเร่งที่จะเจรจาเรื่องพื้นที่พัฒนาร่วมและการแบ่งเขตแดนในพื้นที่ๆอ้างสิทธิทับซ้อนกันจึงเป็นเหตุให้ไทยสูญเสียดินแดน ทำให้กัมพูชาละเมิดทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทยที่เคยประกาศเป็นพระบรมราชโองการเอาไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖

ช่วยกันแชร์นะครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สนธิ-ปานเทพ' บุกทำเนียบฯทวงถามข้อเรียกร้อง 'MOU44-JC44' ขัด รธน. หากยังนิ่งเฉยจ่อลงถนนหลังปีใหม่

ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์รัฐบาล นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ พร้อมมวล

จี้รัฐบาลประท้วงกัมพูชา

"สนธิรัตน์" นำทีมพลังประชารัฐลงพื้นที่ตราด "ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์" ชี้อันตรายมาก แนวสันเขื่อนดินที่กัมพูชาสร้างต่อเติมออกไป หากไม่มีการประท้วงหรือไม่มีข้อคัดค้านใดๆ ก

พปชร. ลงตราด ชวนชาวบ้านในพื้นที่ร่วมคัดค้าน MOU 44

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานร่วมศูนย์นโยบาย และวิชาการ และ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ ได้เดินทางมาเยี่ยมพี่น้องประชาชนในจังหวัดตราด โดยได้รับการประสานงานจากประชาชนในพื้นที่