‘สมาพันธ์คนงานรถไฟ’ จี้ผู้ว่ารฟท.ดำเนินคดีผู้บุกรุกที่ดินเขากระโดงตามคำพิพากษาของศาลโดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลการการเมือง โต้ ‘รมช.มท.-อธิบดีกรมที่ดิน’ อ้างปชช.อยู่มาก่อน2460 เป็นความเท็จ มีแต่ชาวบ้านริดรอนสิทธิ์รฟท. ลากไส้’นักการเมือง’ เคยยอมรับอาศัยอยู่ในที่ดินรฟท.ตั้งแต่ปี 2513 แล้วใช้อิทธิพลออกเอกสารสิทธิ์ ย้ำแผนที่ถูกกำหนดชัดเจนตั้งแต่ปี2462
23 ธ.ค.2567- สืบเนื่องจาก นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงปัญหาที่ดิน เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ ๒๐ธ.ค.ที่ผ่านมา แล้วให้สัมภาษณ์ว่า จากการพบปะประชาชนก็ได้รับการยืนยันว่าไม่ใช่ที่ดินของรฟท. แต่เป็นที่ที่ประชาชนสามารถอยู่ได้ และมีการใช้การเมืองกระทบสิทธิประชาชนอย่างน่ารังเกียจ ขณะที่ นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ระบุว่า การจะเพิกถอนเอกสารสิทธิ์หรือไม่หลักฐานต้องปรากฎชัด 100%
สมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) Railway Workers’ Confederation (R.W.C.) โดยนายสุวิช ศุมานนท์ ประธาน สพ.รส.ได้ทำจดหมายเปิดผนึก ถึง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๗ เรื่องขอให้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่อยู่ในที่ดินเขากระโดงของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามคำพิพากษาของศาล อ้างถึง ๑. พระราชบัญญัติการจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ.๒๔๖๔ สิ่งที่ส่งมาด้วย ๒ ฉบับ ๑. คำให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๖๗ ๒. คำให้สัมภาษณ์ของอธิบดีกรมที่ดิน เมื่อวันที่ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๖๗
โดยจดหมายเปิดผนึก มีใจความว่า ตามที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ศาลอุทรณ์ ศาลปกครอง คำวินิจฉัยของกฤษฎีกา คำชี้ขาดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สรุปได้ว่ามีการพิสูจน์ ทั้งทางกฎหมาย ทางประวัติศาสตร์ ทางภูมิศาสตร์ ทางสังคมวิทยา พื้นที่เขากระโดงทั้งหมด ๕,๐๘๓ไร่ ๘๐ตารางวา เป็นพื้นที่ของการรถไฟฯ ซึ่งเป็นไปตามที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชทาน พื้นที่เขากระโดงให้กรมรถไฟหลวง และให้การรถไฟฯ ใช้ทรัพยากรไม้และหินในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ไปสร้างทางรถไฟ และตามพระราชกฤษฎีกา ๒๔๖๒
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ จากการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและอธิบดีกรมที่ดิน พอสรุปได้ว่า ๑. ประชาชนอยู่ในพื้นที่ดินเขากระโดงตั้งแต่ปี ๒๔๖๐ ๒. อ้างว่าการรถไฟไปลิดรอนสิทธิ์ของชาวบ้าน ๓. อ้างว่าเป็นการกลั่นแกล้งกันทางการเมือง ๔. ไม่มีแผนที่ท้ายกฤษฎีกาคำชี้แจงประกอบข้อเท็จจริงการบิดเบือนของนักการเมืองและข้าราชการที่รับใช้นักการเมือง ดังนี้
ประเด็นที่ ๑. จากการพิสูจน์ตามหลักฐานที่มีอยู่ตามข้อเท็จจริง ในปี ๒๔๖๐ นั้น เขากระโดงเป็นพื้นที่ป่าดงดิบและภูเขาไม่มีผู้ใดอยู่อาศัย ซึ่งเป็นไปตามแผนที่ทหาร ตามหลักฐานที่ประกอบในการพิจารณาของศาล การที่อ้างว่ามีประชาชนอยู่ตั้งแต่ปี ๒๔๖๐ นั้นจึงเป็นความเท็จ และไม่สามารถพิสูจน์ได้ เพราะถ้าเป็นจริงดังกล่าวอ้าง ประชาชนผู้ฟ้องร้องต่อศาลต้องยกขึ้นมาต่อสู้ในชั้นศาลแล้ว จริงแล้วผู้ที่อยู่ในพื้นที่กลุ่มแรก คือกลุ่มคนที่เข้าไปทุบหินเพื่อนำออกมาขาย หรือเข้าไปรับจ้างนายทุนบางคนเพื่อนำมาขายให้การรถไฟฯ
ประเด็นที่ ๒. ข้อเท็จจริง พื้นที่ดังกล่าวแต่ดั้งเดิมไม่มีชาวบ้านมาอยู่อาศัย มีเพียงแค่ ๑๘ ราย ดังประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ๒๔๖๒ มีพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง
ดังนั้น การอ้างว่าการรถไฟฯไปลิดรอนสิทธิ์ของชาวบ้านจึงเป็นเพียงข้ออ้าง มีแต่ชาวบ้านที่ไปลิดรอนสิทธิ์การรถไฟฯ มากกว่า โดยการบุกรุกที่ดินของการรถไฟฯ จะดูได้จากสำนวนการให้การต่อศาล ประชาชนต่างให้การต่อศาลว่าที่ดินได้มาโดยการซื้อจากผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ที่เป็นเครือข่ายของผู้มีอิทธิพลทางการเมืองมาจัดสรรแบ่งขายเป็นแปลง ๆ ประชาชนท้องถิ่นดั้งเดิมสมัยพื้นที่ยังเป็นป่าดงดิบนั้นไม่มี และการรถไฟฯ เองไม่เคยฟ้องร้องประชาชนในพื้นที่นี้ มีแต่ประชาชนที่ฟ้องการรถไฟฯ เพื่อจะนำที่ดินของการรถไฟไปเป็นของตนเอง
ประเด็นที่ ๓. ไม่มีการกลั่นแกล้งทางการเมืองมีแต่การเมืองจะเอาที่ดินเขากระโดงไปเป็นของตนเอง ตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ มีนักการเมืองคนหนึ่ง ตกลงกับการรถไฟฯ ยอมรับว่าอยู่ในที่ดินของการรถไฟฯ แต่ขออาศัยอยู่ไปพลางๆก่อน แต่พอปี ๒๕๑๕ กลับนำที่ดินดังกล่าวไปขอออกเอกสารสิทธิ์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบเพื่อออกการรังวัด กลับเป็นชุดเดียวกันกับที่ออกเอกสารสิทธิ์บริเวณนั้นหลายแปลง เป็นเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยมิชอบ หลักฐานดังกล่าวอยู่ในชั้นสอบสวนของคณะกรรมมาธิการ ป.ป.ช.สมัยพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวช เป็นประธานคณะกรรมมาธิการและยังใช้อิทธิพลทางการเมืองออกเอกสารสิทธิ์อีกหลายแปลง นำที่ดินที่ออกเอกสารสิทธิ์นั้นไปจำหน่ายถ่ายโอนให้กับชาวบ้านจำนวนมาก โดยเอาชาวบ้านเป็นตัวประกัน ถ้าเกิดปัญหาการดำเนินการทางกฎหมายก็จะอ้างประชาชนเหล่านั้นถูกรังแก หรือเอาที่ดินบางแปลงไปทำจำนองกับธนาคารหลายแห่ง แต่มีธนาคารบางแห่งไม่ยอมรับจำนองเพราะรู้ว่าเป็นที่ดินมีปัญหา เพราะเป็นที่ดินของการรถไฟฯ
ประเด็นที่ ๔. แผนที่หรือแผนผังของพื้นที่ดินของพื้นที่เขากระโดง ของการรถไฟฯได้ถูกกำหนดไว้ชัดเจนตั้งแต่ปี ๒๔๖๒ ซึ่งประกอบการวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา และยังมีแผนที่ประกอบอีกหลายฉบับ รวมทั้งแผนที่ทหารปรากฏชัดเจนว่าพื้นที่เขากระโดงเป็นของการรถไฟฯ หลักฐานต่างๆเหล่านี้ปรากฏในหลักฐานที่ศาลฎีกาใช้ประกอบการวินิจฉัยพิพากษาว่าพื้นที่ดินเขากระโดง เป็นของการรถไฟ ซึ่งล่าสุดการตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายที่ดินมาตรา ๖๑ ได้มีการตรวจสอบเขตที่ดินของการรถไฟ โดยเบิกค่าใช้จ่ายในการสำรวจที่ดิน จากการรถไฟประมาณหนึ่งล้านสองแสนกว่าบาท โดยคณะกรรมการชุดเล็กสำรวจพื้นที่ของการรถไฟฯชัดเจน รายงานให้คณะกรรมการชุดใหญ่ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณา แต่คณะกรรมการชุดใหญ่ก็ไม่ได้นำเอกสารหลักฐานเหล่านี้ขึ้นพิจารณาแต่กลับไปมีมติ ไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ โดยอ้างว่าการรถไฟฯไม่มีหลักฐานการเป็นเจ้าของพื้นที่เขากระโดง
ข้อสังเกตนักการเมืองชอบกล่าวอ้างว่าให้ยึดหลักกฎหมายแต่การตัดสินของศาลนั้นได้ทำอย่างรอบคอบ ประกอบกับมีหลักฐานทุกอย่าง ยึดหลักกฎหมาย มีเหตุผลจึงได้พิพากษาให้พื้นที่เขากระโดง ๕,๐๘๓ ไร่เป็นของการรถไฟฯ และศาลปกครองได้พิพากษาสั่งการให้ดำเนินการตามกฎหมายที่ดินมาตรา ๖๑ ตั้งคณะกรรมการเพื่อไปดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกานักการเมืองควรจะทำเป็นตัวอย่างปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ตามคำพากษาของศาล
ดังนั้นการที่ปล่อยให้ฝ่ายการเมืองและเจ้าหน้าที่กรมที่ดินออกข่าวบิดเบือนเรื่องพื้นที่เขากระโดง(ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย) ทั้งที่การรถไฟฯมีเอกสารหลักฐานอยู่ครบถ้วนถูกต้อง ควรดำเนินการให้ชัดเจน ไม่เป็นที่สงสัยของสังคม ว่าการรถไฟฯในฐานะเจ้าของทรัพย์สินกลับนิ่งเฉย ไม่ทำอะไร ปล่อยให้ฝ่ายการเมืองและเจ้าหน้าที่กรมที่ดินออกข่าวบิดเบือน เพื่อให้ชัดเจนดังนั้นการรถไฟฯควรดำเนินการทางกฎหมายกับประชาชนผู้ที่อยู่ในพื้นที่ดินเขากระโดงโดยมิชอบตามคำพิพากษาของศาล โดยไม่ต้องเกรงต่ออิทธิพลทางการเมือง และผู้ใดมีความประสงค์จะขออยู่ในพื้นที่ให้มาทำสัญญาเช่าให้ชัดเจน เพราะขณะนี้มีนักกฎหมายจำนวนมากพร้อมที่จะรับหน้าที่แทนการรถไฟฯเพียงแต่ให้เซ็นมอบอำนาจให้ดำเนินการบังคับคดีเพียงเท่านั้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้กระบวนการทางกฎหมายได้ถูกบังคับใช้อย่างเคร่งครัดและเที่ยงธรรมเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล เป็นการรักษาไว้ซึ่งกระบวนการยุติธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'มท.2' ควงอธิบดีที่ดิน ลงพื้นที่เขากระโดง พิสูจน์ปมพิพาทกับ รฟท.
'มท.2' ควงอธิบดีกรมที่ดิน ลงพื้นที่เขากระโดง พิสูจน์ปมพิพาทที่ดิน รฟท. ชาวบ้าน 2 ตำบล โชว์เอกสารสิทธินส.3 หลักฐานยันอาศัยอยู่ตั้งแต่ปู่ย่าตายาย เรียกร้องความยุติธรรม
รฟท.จัด 4 มาตรการพิเศษรับช่วงเทศกาลปีใหม่
'ศศิกานต์' เผยการรถไฟแห่งประเทศไทย จัด 4 มาตรการพิเศษ ส่งประชาชนกลับบ้านปลอดภัยช่วงปีใหม่ 2568
'สพ.รฟ.'ยื่นค้าน ร่าง พรบ.ขนส่งทางรางฯ เหตุขัดกฎหมาย-เอื้อประโยชน์นายทุนฮุบสมบัติชาติ
ที่รัฐสภา สมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) นำโดย นายสุวิช ศุมานนท์ และนายอินทร์ แย้มบริบูรณ์ เข้ายื่นหนังสือต่อนายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ... เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง ที่ส่อขัดต่อกฎหมายและเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนฮุบสมบัติชาติ
'ทรงศักดิ์' ขึงขัง! 20 ธ.ค.ลงพื้นที่เขากระโดงสอบ 3 ประเด็นพิพาท
มท.2 เตรียมลงพื้นที่เขากระโดง 20 ธ.ค. หาข้อเท็จจริงปมพิพาท 3 ประเด็น
'ภูมิธรรม' พร้อมดูข้อเท็จจริง ปมกมธ.การทหาร แฉค่ายร.23 พัน4 สร้างหลบ 'เขากระโดง'
'ภูมิธรรม' ยังไม่ดูรายละเอียด ปม กมธ.การทหาร ปูดค่ายทหารสร้างหลบเขากระโดง เผย 'วิโรจน์' ขอเข้าพบอยู่แล้วคงได้คุย
'อนุทิน' ส่ง 'มท.2-อธิบดีกรมที่ดิน' แจงปมเขากระโดง
'อนุทิน'ส่ง 'มท.2- อธิบดีกรมที่ดิน' แจงปมเขากระโดง 'ทรงศักดิ์' ขอบคุณ กมธ.ที่ดินให้โอกาสแจง โอดสงสารชาวบ้านกว่า 900 รายได้รับผลกระทบ 'พูนศักดิ์' ยันพิจารณายึดข้อกฎหมายไม่โยงการเมือง