18 ธ.ค.2567 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ข่าวร้ายสำหรับการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก บริษัทโมเดอร์นาต้องระงับการพัฒนาวัคซีนหลังจากพบปัญหาร้ายแรงในการทดสอบทางคลินิก โดยทารกจำนวน 5 รายที่ได้รับวัคซีนทดสอบชนิด mRNA กลับมีอาการติดเชื้อ RSV รุนแรง
การทดสอบวัคซีนครั้งนี้มีสองรูปแบบ รูปแบบแรกมุ่งเน้นการป้องกันเชื้อ RSV เพียงอย่างเดียว ส่วนรูปแบบที่สองเป็นการรวมวัคซีน RSV กับการป้องกันเชื้อไวรัส hMPV ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันและมีอาการคล้ายคลึงกัน ผลการทดสอบพบว่าในกลุ่มแรก มีทารก 5 คนจาก 40 คนที่ได้รับวัคซีนเกิดการติดเชื้อ RSV อย่างรุนแรง เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกที่มีเพียง 1 คนจาก 20 คน ส่วนในการทดสอบวัคซีนแบบผสม มีทารก 3 คนจาก 27 คนที่ป่วยหนักจากการติดเชื้อ hMPV ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอกไม่พบผู้ป่วยรายใด
เหตุการณ์นี้ย้อนให้นึกถึงโศกนาฏกรรมในช่วงทศวรรษ 1960 เมื่อการทดสอบวัคซีน RSV ครั้งแรกส่งผลให้เด็กที่ได้รับวัคซีนถึง 80% ต้องเข้าโรงพยาบาล และมีผู้เสียชีวิต 2 ราย การทดสอบในครั้งนั้นพบว่าวัคซีนกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในทางที่บิดเบี้ยว ทำให้การตอบสนองของ T cells ลดลงและร่างกายสร้างแอนติบอดีที่ไม่มีประสิทธิภาพในปริมาณสูง ป้องกันโรคไม่ได้ส่งผลให้ทารกที่ได้รับวัคซีนมีอาการป่วยรุนแรงกว่าทารกที่ไม่ได้รับวัคซีน ถ้าเป็นเหตุผลเดียวกันก็พออนุมานเหตุผลว่า แม้ว่าวัคซีนชนิดนี้จะใช้เทคโนโลยี mRNA ที่ทันสมัยและได้ผลดีในผู้ใหญ่ แต่ด้วยระบบภูมิคุ้มกันของทารกที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ ทำให้การตอบสนองต่อวัคซีนแตกต่างออกไป จนนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า “vaccine-associated enhanced disease” หรือ VAED ซึ่งคงต้องรอข้อมูลที่ชัดเจนยืนยันต่อไป
แม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะมีความก้าวหน้าในการพัฒนาวัคซีน RSV สำหรับผู้ใหญ่และสตรีมีครรภ์ แต่การค้นพบล่าสุดนี้ทำให้องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ต้องระงับการทดสอบวัคซีน RSV ในทารกถึง 11 วัคซีนต้นแบบที่กำลังมีแผนทดสอบ ถ้าวัคซีนใช้แอนติเจนและเทคโนโลยีฐานเป็น mRNA ตอนนี้จะถูก ban หมด อย่างไรก็ตาม ยังมีความหวังอยู่ที่การทดสอบวัคซีนอีก 15 ชนิดที่ใช้เชื้อ RSV ที่ถูกทำให้อ่อนแรงลง ซึ่งเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติครั้งแรกในเด็ก และไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงในการติดเชื้อครั้งต่อไป
แม้ว่าทีมนักวิจัยจะยังไม่แน่ใจว่าข้อมูลจากโมเดอร์นาจะบ่งชี้ถึงปัญหาที่แท้จริงหรือไม่ แต่บริษัทได้ตัดสินใจยุติการศึกษาและยกเลิกการพัฒนาวัคซีนดังกล่าวแล้ว เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของทารกที่จะเข้าร่วมการทดสอบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี! ดร.อนันต์เผยงานวิจัยฝรั่งค้นพบกลไกสำคัญของโยโย่เอฟเฟกต์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
หนาว! ไทยมีสิทธิ์เป็นประเทศที่สองในโลกที่ฝีดาษวานรโผล่นอกแอฟริกา
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'ดร.อนันต์' เตือนสติไวรัสยังเป็นสิ่งน่ากังวล
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
'ดร.อนันต์' เปิดผลวิจัยสาเหตุโลกไม่นิยมใช้ 'โมนูพิราเวียร์' สู้โควิด!
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ผงะ! ดร.อนันต์บอกชายเยอรมันฉีดวัคซีนโควิดมากสุด 217 เข็มใน 29 เดือน
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ