เปิดข้อเสนอ 'ครูทหารเรือ' เจรจาเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาให้จบก่อน หากถึงทางตันต้องไปที่ศาลโลก

เปิดข้อเสนอ “ครูทหารเรือ”ให้เจรจาเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชาให้จบก่อน มองสูตรของกัมพูชาเจรจาขุมทรัพย์ก่อนทำได้ยาก ชี้2เรื่องละเอียดอ่อน-ซับซ้อน ปลายทางอาจจบที่ศาลโลก

14 ธ.ค.2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการเผยแพร่คลิปสั้น เรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย” พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย- กัมพูชา โดยมีทหารเรือออกมาอธิบาย ประกอบการนำเสนอเป็นกราฟฟิคแบบง่ายๆ โดยระบุว่าปี 2515 กัมพูชาอ้างสิทธิ์โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 โดยในส่วนของเกาะกูดถูกลากเส้นแบ่งอย่างชัดเจน ทั้งๆที่เกาะกูดเป็นของไทยอย่างถูกต้องตามสนธิสัญญาไทย-ฝรังเศษ ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 จนปี2516 ประเทศไทยลากเส้นไหล่ทวีปทางทะเลขึ้น จึงเกิดพื้นที่ทับซ้อนกับทางกัมพูชา โดยปี 2544 ทางไทยและกัมพูชา แบ่งการเจรจาเป็นสองส่วน คือเหนือพื้นที่เส้นแลตติจูดที่11 โดยมีการลากเส้นอ้อมใต้เกาะกูด และเส้นที่สองคือพื้นที่ใต้เส้นแลตติจูดที่11คือพื้นที่แสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้นเมื่อเกาะกูดเป็นของไทยพื้นที่ใต้เกาะกูดออกไป 200 ไมล์ทะเล หรือพื้นที่ส่วนใหญ่เหนือเส้นแลตติจูดที่ 11 ต้องเป็นของไทยตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล

นอกจากนั้น ในกองทัพเรือเอง ยังมีการส่งต่อบทความของ พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ทหารเรือผู้ล่วงลับ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเจรจาเขตแดนทางทะเล จนมีการหยิบยกข้อมูลการศึกษาของทหารเรือคนดังกล่าวไปอ้างอิงในงานวิชาการหลายสถาบัน ทั้งนี้ บทความของพล.ร.อ.ถนอม ชิ้นนี้ เป็นเอกสารประกอบการบรรยายที่หองประชุมกองทัพเรือเมื่อวันที่ 2 ส.ค.2554 หัวช้อ “การเจรจาปัญหาการอ้างเขตไหล่ทวีปทับซ้อนในอ่าวไทยของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน”

โดยเนื้อความตอนหนึ่งได้พูดถึง การเจรจาปัญหาการอ้างเขตไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2513 ซึ่งขณะนั้นกัมพูชายังไม่ได้ประกาศเขตไหล่ทวีป ไทยมีประกาศพื้นที่สัมปทานของกรมทรัพยากรธรณีเมื่อปี พ.ศ. 2510

พล.ร.อ.ถนอม เขียนในบทความว่า การเจรจาครั้งแรกเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเขตไหล่ทวีปไทย-กัมพูชา ซึ่งตกลงว่าจะได้มีการเจรจากันในโอกาสต่อไป หลังการเจรจาครั้งแรกแล้ว ต่อมาไม่นาน การเมืองภายในของกัมพูชาก็มีปัญหารุนแรงถึงขั้นเปลี่ยนระบอบการปกครองไปเป็นสาธารณรัฐภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีลอนนอล ในสมัยรัฐบาลลอนนอลนี้เอง เมื่อ พ.ศ. 2515 กัมพูชาก็มีประกาศเขตไหล่ทวีป รัฐบาลไทยขณะนั้นได้พยายามประสานรัฐบาลลอนนอลเพื่อขอให้มีการเจรจาเกี่ยวกับเขตไหล่ทวีป เพราะหน่วยงานและประชาชนคนไทยเป็นอันมากข้องใจเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากจากหลักเขตแดนที่ 73 ผ่านเกือบกลางเกาะกูดออกไปในทะเล

พล.ร.อ.ถนอม ระบุว่า เมื่อกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปเดือนกรกฎาคม 2515 ในเดือนมกราคม 2516 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการเจรจาสิทธิและขอบเขตไหล่ทวีป โดยจอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการ องค์ประกอบอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ภายหลังที่รับหน้าที่ประธานได้ระยะหนึ่ง จอมพลประภาสฯ ได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้หารือโดยตรงกับลอนนอล ขอให้มีการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะเส้นเขตไหล่ทวีปกัมพูชาที่ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2515 ทำให้ไทยข้องใจในท่าทีของรัฐบาลลอนนอลเกี่ยวกับเกาะกูด

ท่านเล่าว่า ลอนนอลเรียนท่านว่า เส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในเขตไหล่ทวีปกัมพูชา ลอนนอน ไม่มีความมุ่งประสงค์ใดๆ เกี่ยวกับเกาะกูดทั้งสิ้นและพร้อมมีการปรับปรุงเส้นดังกล่าว แต่ขณะนั้นการเมืองภายในของกัมพูชาคับขันมาก ฝ่ายค้านและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพยายามหาประเด็นที่จะปลุกระดมประชาชน และต่อต้านรัฐบาลอยู่ตอดเวลา หากมีการเจรจาเรื่องเส้นเขตแดนไม่ว่าผลการเจรจจะออกมาเช่นไร ก็คงจะเป็นประเด็นที่จะนำไปโจมตีรัฐบาลได้ เพราะฉะนั้นเป็นตายอย่างไรก็คงจะให้มีการเจรจาขณะนี้ไม่ได้ ขอชลอไปก่อนจนกว่าทุกอย่างจะดีขึ้นกว่านี้ แต่ปรากฏว่าไม่มีอะไรดีขึ้นสำหรับลอนนอล จนกัมพูชาถูกยึดครองโดยเขมรแดงไปในที่สุด ลอนนอลก็ลี้ภัยไปอยู่สหรัฐอเมริกา

บทความชิ้นนี้ ยังระบุว่า ในสมัยเขมรแดง เมื่อ เอียง ซารี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐบาลเขมรแดงมาเยือนประเทศไทย ปัญหาเขตแดนทางทะเลก็ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นการสนทนา แต่ไม่มีความตกลงชัดเจนเพราะเขมรแดงก็ยังไม่พร้อมที่จะมีการเจรจาปัญหาที่มีความชับช้อนทางเทคนิค เป็นอันว่าเรื่องการเจรจาปัญหาเขตแดนทางทะเลไทยกัมพูชาชงักไปยาวนานถึง 24 ปี โดยมีการเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่เมื่อสมัยรัฐบาลรณฤทธิ์-ฮุนเซน เมื่อ พ.ศ. 2538 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การเจรจาเมื่อ ท.ศ. 2538 ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับกับการเจรจามาก หัวหน้า คณะเป็นรัฐมนตรีถึง 3 ท่าน (ไทย 1 ท่าน กัมพูชา 2 ท่าน) ผลการเจรจาครั้งแรกได้มีการตกลงตั้งกรรมการเทคนิคร่วม (Joint Technical Committee) เพื่อดำเนินการเจรจาประเด็นเทคนิคต่อไป

“ปัญหาเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทยกับกัมพูชามีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนเป็นอันมาก มีประเด็นทางเทคนิดทั้งในทางกฎหมายและทางประวัติศาสตร์ ที่จะต้องพิจาจารณาหาความตกลง คณะกรรมการฯ ได้มีการตั้งอนุกรรมการฯ และคณะทำงานเข้าช่วยแก้ปัญหา แต่ไม่ประสบผลเท่าที่ควร ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งคือ อำนาจการตัดสินใจของผู้เจรจาระดับต่างๆ ดูเหมือนจะมีน้อยมาก วิธีการที่จะนำปัญหามาเจรจาก็ไม่ตรงกันตั้งแต่เริ่มต้น”

เมื่อเริ่มการเจรจา ฝ่ายไทยเห็นว่าการเจรจาทำความตกลงกำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปของทั้งสองฝ่ายตลอดพื้นที่ทับช้อน ตั้งแต่หลักเขตแดนทางบกที่ 73 บนฝั่งที่หาดสารพัดพิษจนไปบรรจบเส้นเขตแดนทางทะเลไทย-เวียดนามทางตอนใต้ของอ่าวไทยน่าจะเหมาะสมที่สุด แต่กัมพูชาไม่เห็นด้วย อ้างว่าจะใช้เวลาเจรจานานมาก กัมพูชาต้องการแสวงประโยชน์ (ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ) ร่วมกันตลอดพื้นที่ทับช้อน ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถตกลงและหาผลประโยชน์ได้เร็วกว่า ปัญหานี้เจรจากันหลายรอบ หลายปี ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีฝ่ายการเมืองระดับสูงของทั้งสองฝ่ายติดตามผลการเจรจาอย่างใกล้ชิด และให้ข้อเสนอแนะเป็นบางครั้งเนื่องจากการเจรจามีทีท่าว่าจะถึงทางตันตั้งแต่เริ่มต้น

ในที่สุดในปี พ.ศ. 2545 ก็มีความตกลงพบกันครึ่งทาง โดยให้มีการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ คือตั้งแต่ แลต 11 องศาเหนือขึ้นไปจนถึงหลักเขตเดนทางบกไทย-กัมพูชาที่ 73 ส่วนที่เหลืออีกประมาณสองในสามของพื้นที่ตั้งแต่ แลต 11 องศาเหนือ ลงมาถึงพื้นที่ไทย-เวียดนาม จะเจรจาแสวงประโยชน์ร่วมกัน ที่จะจัดตั้งเป็นองค์กรร่วมไทย-กัมพูชาความตกลงนี้ทำให้มีการตั้งอนุกรรมการทางเทศนิคเพื่อจะเจรจาปัญหาแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีประเด็นทางเทคนิคที่แตกต่างกัน

การเจรจากำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลในพื้นที่ทางตอนเหนือ ทั้งสองฝ่ายมีการเสนอเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลจากหลักเขตแดนที่ 73 ลงมาถึงเส้นขนาน แลตที่ 11 องศาเหนือ แต่เส้นที่เสนอยังมีความแตกต่างกันมาก จากนั้นมาก็ไม่มีการขยับเส้นที่เสนอนั้นอีกเลย แม้จะมีการเจรจากันอีกหลายรอบ ผู้เขียนไม่บังอาจที่จะวิจารณ์ถึงเหตุผลของทั้งสองฝ่าย แต่ที่เห็นได้ชัดคือ ความระมัดระวังของท่าทีแต่ละฝ่ายสูงมาก ในที่สุดได้มีการเสนอที่จะให้มีการจัดกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคของแต่ละฝ่ายขึ้น เพื่อหารืออย่างไม่เป็นทางการ เพื่อนำผลการหารือเข้าหารือกับฝ่ายตนอีกครั้งหนึ่ง ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีและอาจนำไปสู่ความตกลงได้ในที่สุด แต่จนถึงขณะนี้ซึ่งเวลาล่วงเลยมาเกือบปี การดำเนินการดังกล่าวก็ยังไม่ได้เริ่มต้น

สำหรับการเจรจาเกี่ยวกับพื้นที่ทับช้อนใต้แลต 11 องศาเหนือลงมา ที่ว่าจะแสวงประโยชน์ร่วมกันจนถึงวันนี้อาจกล่าวได้ว่ายังมีความก้าวหน้าในประเด็นที่สำคัญน้อยมาก ประเด็นสำคัญที่ว่าคือ การกำหนดสัดส่วนการแบ่งปันผลประโยชน์และการลงทุน ปัญหานี้มีความชับช้อนเกี่ยวกับข้อมูลของศักยภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่ ซึ่งไม่ง่ายเหมือนพื้นที่แสวงประโยชน์ร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะเมื่อ พ.ศ. 2522 ขณะที่เจรจานั้น ทั้งไทยและมาเลเซียไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพทางธรณีของพื้นที่ จึงตกลงกันง่ายๆ 50:50แต่เมื่อปัญหาไทย-กัมพูชามีข้อมูลเพิ่มขึ้น ความยุ่งยากซับซ้อนก็ติดตามมาว่าจะจัดสรรกันอย่างไร ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจึงจะไม่มีความเสี่ยงเป็นผู้เสียเปรียบในเงื่อนไของความตกลงผู้เขียนคงจะกล่าวถึงเรื่องนี้เพียงเท่านี้ การมีการวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณะมากเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มควานกดดันให้กับผู้รับผิดชอบในการเจรจาจากสองฝ่ายมากเท่านั้น

ในตอนท้ายของบทความ พล.ร.อ.ถนอม มีข้อเสนอแนะว่า จากการที่กัมพูชาเชื่อว่าการเจรจาแสวงประโยชน์ร่วมกันในพื้นพื้นชัอน จะทำให้ช่วงเวลาการเจรจาสั้นกว่าการเจรจาลากเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างกันให้จบสิ้นไปเลยนั้นไม่จริงตามที่เชื่อเมื่อแรกเริ่มการเจรจา พ.ศ. 2538 มาจนถึงขณะนี้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วยังไปไม่ไม่ได้สักเท่าใดเลย ถ้าเจรจากำหนดเส้นเขตแดนป่านนี้อาจไปได้ไกลแล้ว

โดยความเห็นส่วนตัวของผู้เซียน เห็นว่าน่าจะไม่มีประโยชน์ที่จะพยายายามให้มีการแสวงประโยชน์ร่วมกัน เพราะดูจากท่าทีของทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่ามีจุดยืนที่ห่างกันมาก ถ้าเป็นไปได้ หัวหน้าคณะเจรจาทั้งสองน่าจะหารือกันยกเลิกวิธีการเดิม แล้วเริ่มเจรจาแบ่งเส้นเขตแดนทางทะเลตลอดแนวไปเลย หากภายในระยะเวลาหนึ่ง เช่น 5 หรือ 10 ปี ยังไม่ประสบผลสำเร็จควรหารือกันอีกครั้งว่าน่าจะเหมาะสมหรือไม่ที่จะตกลงร่วมกันใช้บริการ ศาลโลก

การนำคดีขึ้นสู่ศาลโลกใช่ว่าจะต้องทะเลาะกัน จะเห็นว่าในปัญหาเขตแดนทางทะเลเมื่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นว่าการเจรจาถึงทางตัน ก็นำคดีขึ้นสู่ศาลโลกให้ช่วยดำเนินการให้ ดังเช่นคดีไหล่ทวีปทะเลเหนือ 1969ระหว่างเยอรมัน เดนมาร์ก กับ เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น คนไทยอาจจะมีความรู้สึกไม่ค่อยดีกัศาลโลก เนื่องจากคำตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหาร แต่โดยความเป็นจริง เท่าที่ติดตามผลงานของศาลโลกเกี่ยวกับการตัดสินคดีเขตแดนทางทะเลต่างๆ ผู้เขียนเห็นว่าศาลโลกมีความยุติธรรมและ เชื่อถือได้ คำชี้แจงของศาลโลกในคดีต่างๆ ยังถูกนำมาอ้างอิงเป็นบรรทัดฐานในการเจราได้เสมอเมื่อมีประเด็นที่สามารถอ้างอิงได้และฝ่ายตรงข้ามจะยอมรับเป็นส่วนมาก

ผู้เขียน เขียนบทความนี้ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้เป็นข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเจรจาเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอ่าวไทย และแสดงความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเจรจาอยู่กับกัมพูชาขณะนี้ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านที่สนใจเกี่ยวข้องตามสมควร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทักษิณ' ลั่นมีแต่ควายเท่านั้น ยกประเทศให้เพื่อนบ้าน บอกกัมพูชาลากเส้นไม่ถูก

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะวิทยากรพิเศษ บรรยายพิเศษหัวข้อ สถานการณ์ทิศทางโลกและการปรับตัว โดยกล่าวตอนหนึ่งว่า ตนไม่ได้ครอบงำนายกรัฐมนตรี

'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' ของไทย ไม่บ้ายกให้กัมพูชา จ่อติวเข้ม สส. แจงปชช.

'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' เป็นของไทย โต้เฟกนิวส์ใช้เอไอปล่อยข่าวมั่ว ชี้ใครจะบ้ายกให้ เตรียมติว สส. เพื่อไทย แจงประชาชนถึงที่มา MOU 44

จับล็อตใหญ่ริมน้ำโขง! ยาบ้าสูตรฟรุ้งฟริ้ง-ไอซ์ มูลค่ารวม 700 ล้านบาท

พล.ร.ต.ณรงค์ เอมดี ผบ.นรข. พ.อ.ปราโมทย์ เนียมสำเภา รองผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี (รอง ผบ.กกล.ฯ) นายวรวิทย์ พิมพนิตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม น.อ.แมนรัตน์ บุญสวัสดิ์ ผู้บังคับการ นรข.เขตนครพนม (ผบ.นรข.เขตฯ)

'นพดล' ร่ายยาวย้ำรัฐบาลเพื่อไทยจะไม่ยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางมิลลิเมตรเดียว

'นพดล' ยัน MOU 44 ไม่มีเรื่องกระทบสิทธิด้านเขตแดน วอนอย่าใส่ความเท็จ ลั่น รบ.เพื่อไทย จะไม่ยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางมิลลิเมตรเดียว

อดีต สว. เผยความจริง 4 ข้อเรื่อง MOU 44 ได้พิสูจน์ให้คนไทยเห็นความจริงที่น่าเศร้า

ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (อดีต สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า MOU 2544 ได้พิสูจน์ให้คนไทยเห็นความจริงที่น่าเศร้า”

'อิ๊งค์' ขอทุกฝ่ายใจเย็นๆ เห็นหนังสือ 'สนธิ' ค้านMOU44แล้ว ต้องพิจารณารอบคอบ

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย