กองทัพเรือ จัดเสวนาหลักกฎหมายอาณาเขตทางทะเล แต่คำตอบสุดท้ายอยู่ที่ผู้บริหาร

ทร. จัดเสวนาวิชาการ หลักกฎหมายว่าด้วยอาณาเขตทางทะเล สื่อจี้ถามจุดยืนปักปันเขตแดน-จัดการผลประโยชน์ทับซ้อน “ไทย-กัมพูชา” วิทยากรรับ ตอบไม่ได้ โยนไปถามวงระดับชาติ ด้านนักข่าวสวน ท่านคือผู้เชี่ยวชาญ ทำไมตอบคำถามไม่ได้

3 ธ.ค.2567 - กรมยุทธศึกษา กองทัพเรือ จัดงานเสวนาวิชาการ เรื่องหลักกฎหมายว่าด้วยอาณาเขตทางทะเล เพื่อชี้ให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือ ความท้าทายที่กองทัพเรือต้องเผชิญ โดยมีวิทยากรประกอบด้วย น.อ.เกียรติยุทธ เทียนสุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ น.อ.หญิงมธุศร เลิศพานิช รองผู้อำนวยการกองกฤษฎีกา สำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ น.อ.รชต โอศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนอุทกศาสตร์ กรมอุทกศาสตร์ และน.อ.สมาน ได้รายรัมย์ อาจารย์ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ

โดยน.อ. รชต ได้ยกตัวอย่างพื้นที่ไทยกับมาเลเซียในอดีต ที่มีพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่ 7,250 ตารางกิโลเมตร สาเหตุของการทับซ้อนของไหล่ทวีปไทยกับมาเลเซีย หลักๆจะเกิดจากเกาะโลซิน ซึ่งไทยเป็นเจ้าของ ส่วนมาเลเซียเห็นว่าเกาะโลซินมีขนาดเล็ก และอยู่ไกล จึงไม่ให้นับมาอ้างสิทธิ์ได้ ซึ่งที่ผ่านมาไทยกับมาเลเซียก็มีการพูดคุยกันมาอย่างต่อเนื่องก่อนปี 2515 โดยก่อนหน้านี้เคยมีปัญหากัน เช่น การจับกุมหรือประมง การเผชิญหน้าของกำลังทั้งสองฝ่าย จนกระทั่งปี 2515 ไทยกับมาเลเซียก็มาพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไรเมื่อเขตทางทะเลไม่ชัดเจน โดยเริ่มตกลงกันที่ทะเลอาณาเขต เราใช้เวลา 7 ปี สุดท้ายตกลงว่าใช้ประโยชน์ร่วมกัน จะเห็นได้ว่าใช้เวลาไม่นาน และตั้งคณะกรรมการร่วม

บริเวณที่สองคือ การอ้างสิทธิทับซ้อนไทยกับเวียดนาม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน ในกรณีเวียดนามเราใช้ความจริงใจในการพูดคุย เราใช้การคุยกันถึง 9 ครั้ง 5 ปี ด้วยความเข้มข้น จนได้รับการชื่นชมจากหลายประเทศ

ด้านน.อ. เกียรติยุทธ กล่าวว่า กองทัพเรือนั้นยึดแผนที่แสดงอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของประเทศไทย ซึ่งต้องคุ้มครอง และดูแลพื้นที่ที่อ้างสิทธิอย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันนั้นได้ดำเนินการอยู่ ส่วนอีกเส้นที่มีการอ้างสิทธิ ก็เป็นเรื่องของคณะทำงานของรัฐดำเนินการ เพราะฉะนั้นขอย้ำว่า กองทัพเรือ กองทัพบกและกองทัพอากาศ ยึดแผนที่นี้เป็นหลัก

โดยในช่วงท้ายผู้สื่อข่าวถามถึงจุดยืนของกองทัพเรือในการแบ่งผลประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชาว่า ควรจะได้ข้อยุติทางเส้นเขตแดนก่อน หรือจะเจรจาผลประโยชน์ควบคู่ไปเลย รวมทั้งขอให้กองทัพเรือชี้แจงเหตุผลในแต่ละทางเลือกด้วย นอกจากนี้ยังขอให้กองทัพเรือ ชี้แจงหลักเกณฑ์ในการปักปันเขตแดน โดยน.อ. รชต กล่าวว่าประเทศไทยมีคณะกรรมการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการชายแดน ทั้งทางบกและทางทะเล โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญ และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว ตนคิดว่าการดำเนินการดังกล่าวก็มีผู้ดำเนินการโดยตรงอยู่ กองทัพเรือก็มีหน้าที่สนับสนุนทั้งผู้เชี่ยวชาญต่างๆและด้านความมั่นคงแก่คณะกรรมการดังกล่าว

น.อ.สมาน กล่าวว่า ตนขอเสริมในเรื่องความสลับซับซ้อน ในครั้งที่มีการลงนาม MOU 44 สภาวะแวดล้อมและปัจจัย รวมถึง เวลาเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง แต่พอมาถึงปัจจุบัน ผ่านมากว่า 20 ปี สภาวะแวดล้อม และปัจจัยในการหาข้อยุติ ตนคิดว่ายิ่งสลับซับซ้อน พร้อมยกตัวอย่างว่า ในห้องเรียนตนให้โจทย์เรื่องการปักปันดินแดน นักเรียนสามารถหาคำตอบได้ภายใน 2 ชั่วโมง แต่เมื่อใส่ปัจจัยต่างๆเข้าไป เช่น พื้นที่ทับซ้อน เวลาก็เพิ่มขึ้น ความยุ่งยากนั้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และอีกอย่างหนึ่งมันมีอะไรที่อยู่ในใจ สภาวะแวดล้อมต่างๆเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ซึ่งอีก 10 ปี 20 ปีข้างหน้า ก็ต้องเปลี่ยนไป ปัจจัยการพิจารณาก็ต้องเปลี่ยนไป

ผู้สื่อข่าวถามยังถึงจุดยืนของกองทัพเรือว่า กองทัพเรือทำตามที่ คณะกรรมการ JTC เห็นชอบ ถ้าเห็นชอบว่าการแบ่งผลประโยชน์ ในพื้นที่ทับซ้อนควรทำคู่ขนานกันไปกับการปักปันเขตแดน ก็จะทำตามนั้นใช่หรือไม่ น.อ.สมาน กล่าวว่า "ในเวทีนี้ผมขออนุญาต พวกเราไม่สามารถที่จะตอบ ในระดับที่ผู้บริหารของกองทัพ ผมขออนุญาตจริงๆว่า ไม่สามารถตอบได้"

ผู้สื่อข่าวถามว่า พวกท่านคือผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านทะเลและกฎหมาย อะไรต่างๆ ควรจะตอบคำถามนี้ได้ ทำไมถึงตอบไม่ได้ น.อ. สมาน กล่าวว่า "หากตอบได้ ก็จะตอบ" ทำให้ผู้สื่อข่าวที่ถามว่า "ก็ต้องตอบตามหลักการที่กองทัพเรือ เห็นว่าถูกต้อง และเป็นผลประโยชน์ของประเทศ ตามที่ท่านได้ศึกษามา หลักการเรื่องอาณาเขตทางทะเล ที่พูดมา 1-2 ชั่วโมง อยากทราบว่า กองทัพเรือยึดในหลักการอะไร"

โดยน.อ.เกียรติยุทธ ตอบคำถามว่า กองทัพเรือในแง่ทางเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นการ ปักปันเขตก่อนแบ่งผลประโยชน์ หรือทำอะไรก่อน เป็นส่วนที่เกินอำนาจของกองทัพเรือ เราได้แต่สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญมาจากหลายฝ่าย ไม่ได้มาจากกองทัพเรือฝ่ายเดียว แต่มาจากกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพราะฉะนั้นตรงนี้จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่า ท้ายที่สุดแล้ว คำตอบจะออกมาเป็นอย่างไร

"ต้องขออนุญาตจริงๆ ต้องไปเวทีระดับชาติ แต่ บทบาทของกองทัพเรือ ที่ผมนำเรียน เรามองแผนที่ เราต้องการเส้นตรงนั้น (เส้นเขตแดน) นั่นแหละครับ เราปกป้องเส้นตรงนั้น เราไม่เห็นเส้นอื่น ตรงนี้ยืนยันว่า เรายังปกป้องเส้นตรงนั้นอยู่ ตราบใดที่ยังไม่มี อะไรที่ออกมาจากการตัดสินใจของรัฐบาล กองทัพเรือยังยึดถือเส้นตรงนั้นอย่างเคร่งครัด"

ผู้สื่อข่าวจึงถามต่อว่า หากมีนโยบายออกมาชัดเจนแล้ว กองทัพเรือก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามโนบายถูกต้องหรือไม่ น.อ. เกียรติยุทธ กล่าวว่า หากนโยบายดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายเพื่อปวงชนชาวไทย กองทัพเรือ จะต้องทำหน้าที่ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย อย่าลืมว่า รัฐบาลก็มาจากประชาชน ดังนั้นกองทัพถือว่ารัฐบาลเป็นเสียงของประชาชน

จากนั้นผู้สื่อข่าวจึงท้วงว่า ยังไม่ได้ตอบคำถามข้อที่ 2 ที่ถามว่ากองทัพเรือจะใช้หลักการใดให้ได้ข้อยุติในการปักปันเขตแดน น.อ.สมาน กล่าวว่า เราต้องยึดหลักกฎหมายทะเล ที่เป็นไปตามความเที่ยงธรรม ซึ่งต้องบอกว่า ความเที่ยงธรรมเป็นนามธรรมมากๆ แต่สิ่งที่กองทัพเรือและกรมอุทกศาสตร์ พยายามทำคือ ทำความเที่ยงธรรมที่เป็นนามธรรมนี้ ให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความการยอมรับของทุกฝ่าย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องหาจุดร่วมกันให้ได้ เราจะพิสูจน์ให้เขายอมรับได้อย่างไร โดยต้องยอมรับว่าอีกฝั่งหนึ่ง เขาก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า เที่ยงธรรมอย่างไร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นพดล' ฟังทางนี้! 'หมอวรงค์' จับโป๊ะ คำชี้แจง 'MOU 44'

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ถึงนพดล ปัทมะ" โดยระบุว่า คำพูดของนายนพดล ปัทมะ ที่ชี้แจงพันธมิตรฯ เรื่อง MOU 44

จี้รัฐบาลประท้วงกัมพูชา

"สนธิรัตน์" นำทีมพลังประชารัฐลงพื้นที่ตราด "ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์" ชี้อันตรายมาก แนวสันเขื่อนดินที่กัมพูชาสร้างต่อเติมออกไป หากไม่มีการประท้วงหรือไม่มีข้อคัดค้านใดๆ ก

พปชร. ลงตราด ชวนชาวบ้านในพื้นที่ร่วมคัดค้าน MOU 44

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานร่วมศูนย์นโยบาย และวิชาการ และ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ ได้เดินทางมาเยี่ยมพี่น้องประชาชนในจังหวัดตราด โดยได้รับการประสานงานจากประชาชนในพื้นที่

'อดีตบิ๊กทอ.' ไล่บี้นายกฯอิ๊งค์ ใช้กฎหมายรักษาผลประโยชน์ทางทะเล ลบล้าง MOU 44

พลอากาศโทวัชระ ฤทธาคนี หรือ เสธ.นิด อดีตนายทหารนักบินกองทัพอากาศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ผมไม่แน่ใจว่า “นายกรัฐมนตรี อ.อ.” เคยรู้เห็นเรื่องเกี่ยวกับ พรบ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ปี ๒๕๖๒ หรือไม่

‘เกาะกูด’ สงครามที่ ‘ทักษิณ’ ไม่มีทางชนะ จับตาจะถอยอย่างไร ไม่ให้ตัวเองเสียหน้า และ ‘ฮุนเซน’ เสียใจ

ประเด็นเรื่องเกาะกูดเป็นของไทยหรือไม่ นั้น ได้ข้อยุติจากคุณทักษิณเมื่อวานนั้น ว่ารัฐบาลไทยก็เห็นด้วย ว่าเป็นของคนไทย แต่จะเห็น