3 ธ.ค.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ระหว่างวันที่ 4 – 22 พ.ย.67 ดังนี้
1.การสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2568 (ของขวัญปีใหม่ที่ต้องการจากรัฐบาล) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ความพึงพอใจ และ ความเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาล ใช้แผนการเลือกตัวอย่างแบบ Stratified Two-Stage Sampling เก็บรวบรวมข้อมูล โดยส่งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ไปสัมภาษณ์ประชาชนตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 31,500 ราย สรุปผลประชาชนตัวอย่าง ดังนี้
ประชาชนมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มี บัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการในระดับมาก – มากที่สุด ร้อยละ 87.7 (มากร้อยละ 47.8 และมากที่สุดร้อยละ39.9) ร้อยละ 47.8 ระบุว่ามีความพึงพอใจฯ ในระดับมาก ร้อยละ 11.2 ระบุว่ามีความพึงพอใจฯในระดับปานกลาง ร้อยละ 0.9 ระบุว่ามีความพึงพอใจฯ ในระดับน้อย และร้อยละ 0.2 ระบุว่ามีความพึงพอใจฯ ในระดับน้อยที่สุด
นายจิรายุ กล่าวว่า โดยความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับสิทธิในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับสิทธิในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 31,500 ราย (ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 26,469 ราย และคนพิการจำนวน 5,031 ราย) สรุปผลประชาชนตัวอย่าง ดังนี้ ประชาชนร้อยละ 75.8 ระบุว่านำเงินไปใช้จ่าย ขณะที่ร้อยละ 12.8 ระบุว่านำไปชำระหนี้สินและร้อยละ 11.4 ระบุว่าเก็บออมไว้ สำหรับประชาชนที่นำเงินไปใช้จ่าย ร้อยละ 95.1 ระบุว่านำเงินไปซื้ออาหารและเครื่องดื่ม เช่น ข้าวสาร หมูสด เป็นต้น ในสัดส่วนที่สูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ซื้อของใช้ในครัวเรือน เช่น ผงซักฟอก สบู่ เป็นต้น (ร้อยละ 89.1) ชำระค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เป็นต้น (ร้อยละ 57.2)ชำระค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน แก๊ส เป็นต้น (ร้อยละ 26.7 ) และให้คนในครอบครัวหรือญาติไว้สำหรับใช้จ่าย (ร้อยละ 26.3)
นายจิรายุ กล่าวว่า สำหรับสถานที่ที่ประชาชนที่นำเงินไปใช้จ่าย ร้อยละ 96.3 ระบุว่านำเงินไปใช้จ่ายที่ร้านค้าในชุมชน/ร้านขาย ของชำในสัดส่วนที่สูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ หาบเร่ แผงลอยทั่วไป/ในตลาด (ร้อยละ 70.9) ร้านสะดวกซื้อ/มินิมาร์ททั่วไป เช่น 7-Eleven Mini Big C เป็นต้น (ร้อยละ 54.1) ดิสเคาท์สโตร์/ซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น Big C Tesco Lotus Tops เป็นต้น (ร้อยละ 18.4) ประชาชน ร้อยละ 21.1 ระบุระยะเวลาที่ใช้เงิน 10,000 บาทน้อยกว่า 1 เดือน ส่วนร้อยละ 60.5 ใช้เงิน 1- 3 เดือน ร้อยละ 13.7 ใช้ 4 – 6 เดือน และร้อยละ 4.7 ใช้มากกว่า 6 เดือน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯสั่งทุกหน่วยงานดูแลประชาชนในทุกมิติ มุ่งจัดการยาเสพติด
รัฐบาล เน้นย้ำ เดินหน้าเสริมสร้างความมั่นคง นายกฯให้ทุกหน่วยงานมั่นคง ช่วยเหลือประชาชน ควบคู่เตรียมพร้อมรับมือภัยคุกคามให้ครอบคลุมทุกมิติ มุ่งเสริมสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
รอรับได้เลย! รัฐบาลแจกเงินหมื่น เฟส 2 มาแน่ภายใน ม.ค.นี้
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ให้ผู้ใช้แรงงานมีรายได้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีพและสามารถดูแลครอบครัวได้
ตีปี๊บ '30 รักษาทุกที่' เต็มรูปแบบ ครอบคลุมทุกพื้นที่ 77 จังหวัดของไทย
รัฐบาล ประกาศ '30 รักษาทุกที่' เต็มรูปแบบ ด้วยโอกาสของคนไทยนับจากนี้ ต้องมีชีวิตดี สุขภาพดี เริ่มแล้วครอบคลุมทุกพื้นที่ 77 จังหวัดของประเทศไทย
‘สมคิด’ โวผลเลือกตั้งอยู่ที่ผลงานรัฐบาล เชื่อสนามอบจ. เพื่อไทยชนะรวด
นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกฯฝ่ายการเมือง กล่าวถึงถึงผลสำรวจความคิดเห็นของนิด้าโพล ที่คะแนนของพรรคเพื่อไทย และน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ มาเป็นอันดับสองทั้งคู่ว่า
'สมศักดิ์' ฟุ้งปีหน้า 'รัฐบาลอิ๊งค์' ฉลุย อีก 2 ปีครึ่ง พท. กลับมายิ่งใหญ่
'สมศักดิ์' มองทิศทางการเมืองปี 68 มั่นใจรัฐบาลแพทองธาร เดินไปได้ไร้ปัญหาสะดุดล้ม พรรคร่วมไม่ถึงขั้นแตกหัก ฟุ้งอีก 2 ปีครึ่ง เพื่อไทยกลับมายิ่งใหญ่