1 ธ.ค.2567-ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬา โพสตฺเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan หัวข้อ “ย้อนดู 5 ปี โควิด 19, ปีที่ 2 ปีที่ยุ่งเหยิง และดราม่า เกี่ยวกับวัคซีน และเซียนคีย์บอร์ด” ระบุว่า หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform รวมทั้งของประเทศไทยเองด้วย ประเทศไทยมีการออกข่าวว่าจะผลิตวัคซีนได้สำเร็จภายใน 2 ปี
เมื่อสิ้นปีแรก การผลิตและออกมาใช้จริง ก็เริ่มปรากฏออกมา ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนเชื้อตาย ไวรัสเวกเตอร์ และ mRNA ประสิทธิภาพของวัคซีนได้ลงพิมพ์ ในวารสารต่างๆ จะเห็นว่า mRNA มีประสิทธิภาพสูงสุด มากกว่าไวรัสเวกเตอร์ และเชื่อตาย แต่ผลทั้งหลายเป็นผลระยะสั้นทั้งนั้น ความจริงผลระยะยาวค่อยออกมาทีหลัง
วัคซีนจึงขาดแคลนในระยะแรก เพราะทุกประเทศแย่งกัน ทางตะวันตก จะไม่รับวัคซีนของจีน และจีนเองก็ไม่รับวัคซีนของทางตะวันตก ประเทศกำลังพัฒนา ส่วนใหญ่จะได้รับวัคซีนจากจีน และ mRNA จะใช้ในทางตะวันตก ไม่เพียงพอ ตลาดเป็นของผู้ขาย จะกำหนดกฎเกณฑ์อย่างไรก็ได้ในการซื้อ เช่นต้องวางเงินก่อน และจะเอาหรือไม่เอาก็ต้องจ่าย ซึ่งขัดกับหลักการจัดซื้อของประเทศไทย และบางบริษัทให้วางเงินก่อนจะผลิตสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ไม่รับรู้ ถ้าไม่สำเร็จก็ต้องเสียเงินฟรี
วัคซีนเชื้อตายจึงเข้ามาในประเทศไทยก่อน แล้วตามมาด้วยไวรัสเวกเตอร์ กว่าประเทศไทยจะเริ่มฉีด mRNA ก็เข้าสู่ กันยายน ตุลาคมแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ มีการเรียกร้องเอา mRNA มาเป็นวัคซีนหลัก จะเห็นบนหน้าเพจมากมาย มีดราม่าเกิดขึ้น ด้อยค่าวัคซีนเชื้อตายอย่างหนัก และกาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ประเทศจีน มีอัตราการเสียชีวิตโดยรวม น้อยกว่าประเทศทางตะวันตกอย่างมาก
ปีที่ 2 ความรุนแรงของโรคมาก อยู่มีอัตราตายเกือบ 1% ดังนั้นการรณรงค์ให้วัคซีน จึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และอัตราการครอบคลุม 2 เข็มแรก ได้เร็วมาก โดยทุกแห่งและโรงพยาบาลร่วมมือกันดีมาก
ผมเองทำการศึกษา การกระตุ้นเข็มสามด้วยวัคซีนเชื้อตาย Sinovac เปรียบเทียบกับ ไวรัสเวกเตอร์และ mRNA คณะกรรมการจริยธรรมยังไม่ยอมให้ทำ ตอนหลังเลยต้องเปลี่ยนจากเชื้อตาย Sinovac มาเป็น Sinopharm ถึงได้ทำ แต่ก็เสียดายข้อมูลทางวิชาการ ที่เราไม่มี การฉีดวัคซีนเชื้อตายชนิดเดียวกัน 3 เข็ม เสียดายโอกาสทางวิชาการอย่างมาก
งานวิจัยทางด้าน วัคซีนโควิด ในช่วงนี้หาอาสาสมัครและมีผู้สมัครใจเป็นจำนวนมาก และทำได้อย่างรวดเร็วมาก ต้องขอขอบคุณอาสาสมัครอย่างยิ่ง รวมทั้งแหล่งทุนด้วย ทั้งภาพรัฐและเอกชน จึงมีผลงานให้เห็น โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน และสูตรต่างๆ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสูตรการฉีดวัคซีนสลับไปมา 3 เข็ม รวมทั้งสิ้น 24 แบบ อย่างไรก็ตามผลลัพธ์สุดท้ายไม่ต่างกันเลย เพราะทั้งหมดเป็นแอนติเจนชนิดเดียวกัน คือ spike protein ของ Wuhan strain
ในปีนี้เป็นปีที่ ผมเองถูกกล่าวหาให้ร้าย อย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ หรือการเมืองทั้งที่จริงแล้วตัวเองไม่เคยไปยุ่งเลยแม้แต่นิดเดียว มุ่งค้นหาทางวิชาการและให้ข้อมูลผู้บริหารและประชาชน เพื่อช่วยปกป้องโรคร้าย การกล่าวให้ร้ายผมเอง ไม่ได้สนใจ แต่คนรอบข้าง ทนไม่ได้ จึงมีการแจ้งความฟ้องร้อง ผู้ที่กล่าวหารุนแรง โดยเฉพาะผู้ที่มีการศึกษา และมีหน้าตาในสังคม
คดีในการฟ้องร้อง บางคดีได้สิ้นสุดแล้ว และบางคดีจนถึงวันนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ที่สิ้นสุดแล้วส่วนใหญ่ศาลจะตัดสิน เป็นเรื่องของการนำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ถือเป็นคดีอาญา ศาลให้จำคุก 2 ปี และปรับ 3 แสน บาท เข้าแผ่นดิน ถ้าสารภาพก็ลดลงกึ่งหนึ่ง และเกือบทั้งหมดโทษจำให้รอลงอาญา หลายราย ยอมความ มาขอโทษ ก็จะยอมเกือบทุกกรณี แต่จะให้บริจาคเงิน เข้ามูลนิธิคณะแพทย์ศาสตร์ แทน โดยตัวเองไม่ไปแตะต้องเงินจำนวนนี้เลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลเตือนเช็กอาการ 6 โรคหลังไปเที่ยวปีใหม่
รองโฆษกรัฐบาลขอ ปชช.เดินทางท่องเที่ยว ปลอดภัย ไร้โรค ไร้ภัย แนะหมั่นสังเกตอาการ หลังเดินทางกลับ หากมีอาการผิดปกติ รีบพบแพทย์
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา