'นรินท์พงศ์' นายกสมาคมทนายความ เเนะวิธีเเก้ปัญหา MOU 44 โดยไม่ต้องลงถนน ชี้สามารถใช้ทางออกโดยเวทีสาธารณะ หรือสภาได้ สุดท้ายยังมี การทำ 'ประชามติ' เป็นทางเลือกสุดท้าย
28 พ.ย.2567 - นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยแสดงความเห็นผ่านเพจเฟซบุ๊กของสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ระบุว่า บันทึกจากนายกสมาคมทนายความฯ
ปัญหาใหญ่ที่สุดของประเทศในขณะนี้ คือปัญหาเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ MOU 44 ที่หลายฝ่ายแสดงความเห็นว่าอาจนำประเทศไทยไปสู่การเสียดินแดน หรือเสียอธิปไตยทางทะเล อันจะนำไปสู่การชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของประชาชนกลุ่มต่างๆ นั้น
ผมเห็นว่าปัญหาดังกล่าวสามารถหาข้อยุติได้อย่างสันติด้วยวิถีทางประชาธิปไตย ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายวิธี เช่น
1.รัฐบาลเปิดเวทีสาธารณะ (public deliberation) เพื่อเป็นเวทีพูดคุยแสดงความคิดเห็นและแสวงหาข้อยุติอย่างสันติวิธี โดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนกลุ่มการเมืองที่เห็นต่าง ซึ่งคับข้องใจได้มีเวทีแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบความโปร่งใสของกระบวนการ ในขณะเดียวกันรัฐบาลต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนรับผิดชอบได้ตอบคำถามอย่างครบถ้วน ผมแนะนำให้เชิญอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ลงนาม mou ได้มาชี้แจงข้อสงสัยของกลุ่มการเมืองที่เห็นต่างด้วย
2.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 123 เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ จากนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนวทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับ MOU 44 ต่อคณะรัฐมนตรี กรณีเช่นนี้สมาชิกและคณะรัฐมนตรีอาจร้องขอต่อประธานสภาเพื่อขอให้อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนของฝ่ายที่เห็นต่างได้เข้ามาชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นต่อสมาชิกในที่ประชุมสภาได้
3.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 129 ขอให้สภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการ MOU 44 โดยต้องเชิญตัวแทนฝ่ายที่เห็นต่างมาเป็นกรรมาธิการ เพื่อร่วมพิจารณาและมีความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบและโปร่งใส
ทางออกที่ผมเสนอข้างต้น เป็นวิธีการตามรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะทำให้ทุกฝ่ายมีเวทีในการแสดงความคิดเห็นอันเป็นสิทธิพื้นฐานของปวงชนชาวไทย แต่สิ่งที่สำคัญคือ ทุกฝ่ายต้องยอมรับและเคารพความเห็นต่างที่ประกอบไปด้วยเหตุและผล โดยไม่ใช้อารมณ์หรือวัตถุประสงค์ทางการเมืองของตัวเองเป็นเครื่องมือและไม่จำเป็นต้องปลุกระดมก่อม็อบลงถนนแต่อย่างใด ซึ่งประชาชนที่ติดตามการแสดงความคิดเห็นจากเวทีที่กล่าวข้างต้นจะเป็นผู้ตรวจสอบ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน แต่ในขณะที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ รัฐบาลควรต้องไม่เร่งดำเนินการใดๆ จนกว่าจะได้ข้อยุติ แต่หากจัดเวทีร่วมกันดังกล่าวแล้วยังหาข้อยุติไม่ได้ ทางออกสุดท้ายคือการถามประชาชนโดยวิธีประชามติ เพราะอำนาจเป็นของประชาชนทุกฝ่ายจึงต้องฟังเสียงของประชาชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ประเสริฐ' เชื่อประเด็น MOU44จุดไฟม็อบไม่ติด!
'ประเสริฐ' รับ แกนนำเพื่อไทยจับตา-ประเมิน 'สนธิ' ประกาศนำม็อบลงถนน บุกทำเนียบฯ ตลอดเวลา บอกบริบทการเมือง-ความรู้สึกเปลี่ยนไปแล้ว เชื่อประเด็น MOU 44 จุดไม่ติด
เตือนรัฐบาล ปฏิบัติตามพรบ.รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล อย่าดันทุรังใช้ MOU 44
พลอากาศโทวัชระ ฤทธาคนี หรือ เสธ.นิด อดีตนายทหารนักบินกองทัพอากาศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๕๒ รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย บูรณภาพ แห่งอาณาเขตและเขตที่ประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย
'ดร.อาทิตย์' ฟันเปรี้ยง! MOU 44 ต้องประกาศเป็นโมฆะตั้งแต่ต้น จะเพียงยกเลิกไม่ได้
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กว่า
รัฐบาลอย่าเสี่ยง! แจงยิบทำไม 'MOU 44' เข้าข่าย รธน. มาตรา 178
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าเสี่ยงจงใจขัดรัฐธรรมนูญ! MOU 44 ต้องผ่านรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 178
บี้ MOU44 เดือด ‘นพดล’ เกทับ! จบออกซ์ฟอร์ด
ปะทะคารมเดือด! “นพดล” โต้ “หมอวรงค์” หาความรู้เรื่องเอ็มโอยู 44 ให้ลึกซึ้ง โต้คนอย่างตนไม่ตอบมั่วๆ เพราะจบกฎหมายจากออกซ์ฟอร์ดและจบเนติบัณฑิตไทยและเนติบัณฑิตอังกฤษ
'หมอวรงค์' โต้ยิบ! 'นพดล' ช่วยใช้สติอ่าน MOU 44 อย่าเอาแต่พูดวนเวียนซ้ำซากแบบอุ๊งอิ๊ง
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถึงนายนพดล ปัทมะ อีกครั้งช่วยใช้สติอ่านด้วยหมอจะสอนกฏหมายคุณ