28 พ.ย.2567 – ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ย้อนดู 5 ปี โควิด 19, ปีที่สองของการระบาด” มีเนื้อหาว่า ขอเล่าต่อในปีที่ 2 ของการระบาด
ในช่วงต้นปี การระบาดเป็นสายพันธุ์ G ที่ระบาดในแรงงานต่างด้าว และมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายออกมาบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม เป็นในคนหนุ่มสาว อัตราการเสียชีวิตจึงยังน้อยอยู่
ในเดือนมกราคม สิ่งที่เฝ้าระวังอย่างมากคือสายพันธุ์ที่ระบาดได้ เรียกว่าสายพันธุ์ Alpha หรือสายพันธุ์อังกฤษ จากประเทศอังกฤษ เราเองเฝ้าระวังอย่างเต็มที่ แต่แล้วก็ระบาดจนได้ โดยสายพันธุ์นี้เชื่อว่าเข้ามาทางทิศตะวันออกของไทย มาจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้าสู่แหล่งบันเทิง และทำให้เกิดการระบาดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มที่ยากจะควบคุม ยอดผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นเป็นหลักพันรต่อวัน ทุกคนเรียกร้องและรอวัคซีน
ทีมของเราได้เตรียมพร้อมในการที่จะศึกษา ประสิทธิภาพของวัคซีน ที่จะมีการนำมาใช้ ซึ่งมีทั้งวัคซีนเชื้อตายจากจีน และรอวัคซีน Astra Zeneca ผลิตในประเทศไทย ส่วน mRNA วัคซีน คงจะยากเพราะผลิตในประเทศทางตะวันตก ถึงแม้ผลการศึกษาระยะสั้น การวัดประสิทธิภาพระยะสั้น และดูจากภูมิต้านทานที่ขึ้นสูงมาก ทำให้ประสิทธิภาพดูเหมือนสูงมาก
ประเทศไทยได้รับวัคซีนเชื้อตาย จากประเทศจีนเข้ามาในปลายเดือนกุมภาพันธ์ และเริ่มฉีดกันตั้งแต่ปลายกุมภาพันธ์ต่อ ต้นเดือนมีนาคม ผมเองอยู่ในเหตุการณ์และได้เป็นผู้ฉีดให้กับท่านรองนายก หรือรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข และรีบขอมาทำการศึกษาวิจัย โดยมีโครงร่างผ่านคณะกรรมการจริยธรรมไว้ก่อนแล้ว เราเริ่มทำการศึกษาวิจัยในคนไทยตั้งแต่ต้นมีนาคม ในระยะแรกวัคซีนเชื้อตาย อนุญาตให้ฉีดอายุ 18 ถึง 60 ปี ดังนั้นผู้สูงอายุที่เกิน 60 ปีจึงจะยังไม่ได้รับวัคซีน
ต่อมาอีกประมาณ 2 สัปดาห์ เราได้รับ วัคซีนAstra จากต่างประเทศ มาจำนวนหนึ่งไม่มากนัก พอจะเริ่มฉีด ก็มีข่าวการเกิดลิ่มเลือด ก็เลยต้องเลื่อนการฉีดออกไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์จนข้อมูลนิ่งแล้วจึงเริ่มฉีดให้ท่านนายกรัฐมนตรี
ขณะนั้นผมมีข้อมูลว่าผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 แล้วนำมาวัดภูมิต้านทาน ระดับภูมิต้านทานจะได้เท่าๆ กับการฉีดวัคซีนเชื้อตาย และวัคซีนเชื้อตายฉีดห่างกันประมาณ 4 สัปดาห์ แต่วัคซีน AZ ต้องฉีดห่างกันประมาณ 8-12 สัปดาห์ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นของ AZ จะสูงกว่าวัคซีนเชื้อตาย และการติดเชื้อธรรมชาติ เกือบ 10 เท่า หรือ 1 ล็อกสเกล ส่วนตัวผมผมยังมีความเชื่อมั่นว่าระดับภูมิต้านทานเท่ากับการติดเชื้อธรรมชาติ ของวัคซีนชนิดใดน่าจะเพียงพอ และน่าจะมีการกระตุ้นเข็มที่ 3 ของวัคซีนเชื้อตายที่ 6 เดือนแบบการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีคือ 0, 1 และ 6 เดือน ก็น่าจะเพียงพอ แต่ก็ยังไม่มีการแนะนำให้ฉีดเดือนที่ 6 และยังไม่มีข้อมูล จำนวนวัคซีนก็ไม่เพียงพอ
ขณะทุกคนต้องการวัคซีน AZ มากกว่า ทั้งที่อาการแทรกซ้อน มีมากกว่า และเป็นวัคซีนใหม่ที่เป็นไวรัสเวกเตอร์ ปริมาณวัคซีนไม่เพียงพอ และมีการด้อยค่าวัคซีนเชื้อตายเอย่างมาก และมากล่าวหาผมอย่างรุนแรง รวมทั้งการให้ร้ายมากมาย และเรียกร้องวัคซีน mRNA เท่านั้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่
ในช่วงนี้งานวิจัยของเราเริ่มออกมามากขึ้น และงานที่สำคัญคือการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ โดยการให้เชื้อตายนำและตามด้วยไวรัสเวกเตอร์ ใน 4 สัปดาห์ต่อมา พบว่าภูมิต้านทานจะได้เท่ากับการให้วัคซีนไวรัสเวกเตอร์ 2 เข็มเท่ากัน เมื่อเผยแพร่ข้อมูลนี้ออกมา ระยะแรกก็มีการ bully อย่างมาก และต่อมาการสลับวัคซีน ก็ยอมรับ ขององค์การอนามัยโลก เขียนในคำแนะนำ การให้สลับกันจะทำให้การบริหาร วัคซีน ได้ดียิ่งขึ้น และในระยะแรก วัคซีนเชื้อตายห่าง่ายกว่า แต่ความยอมรับน้อยกว่า
ระยะต่อมามีการเรียกร้องวัคซีน mRNA กันมาก จนในที่สุดทางรัฐบาล ก็พยายามจัดหามาให้ ซึ่งเราเสียเงิน ค่าใช้จ่าย เป็นค่าวัคซีนเป็นจำนวนมากมาย เป็นการจัดหามาให้ตามทำเรียกร้อง วัคซีนจึงมีเรื่องราวค่อนข้างมาก
ทีมของเราได้ทำการศึกษาต่อ พบว่าการให้วัคซีนเริ่มต้นไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดใด ถึงแม้จะสลับกัน และเมื่อมาเข็มที่ 3 ให้ mRNA วัคซีน ผลลัพธ์ที่ได้ ไม่แตกต่างกับการให้ mRNA 3 เข็ม และภูมิต้านทานขึ้นสูงมาก สูงกว่าการติดเชื้อธรรมชาติประมาณ 100 เท่า และลดลงตามกาลเวลา ในที่สุดก็ยอมรับว่าไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้
ผมเองถูกว่าให้ร้าย อย่างหนัก และมีการไปแก้ใน Wikipedia ของผม จนทุกวันนี้ก็ยังมีข้อความที่ไม่จริงอยู่ในวิกิพีเดียอีกมาก ซึ่งจะพยายามลบออก วิกิพีเดียก็ไม่ยอม ทั้งที่ข้อความไม่เป็นจริงมีอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ในเชิงกล่าวหาให้ร้าย
ทุกสิ่งเป็นสิ่งใหม่ เราทำการศึกษาผลของวัคซีนชนิดต่างๆ ฉีดตรง ฉีดไขว้ ทำให้ยอมรับไปทั่วโลก มีผลงานตีพิมพ์ในภาษานานาชาติมากกว่า 30 เรื่อง องค์การอนามัยโลกก็ยอมรับผลงานการศึกษาวิจัยดังกล่าว และงานดังกล่าวได้รับรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ย้อนระลึกโรคห่าชี้มีโอกาสน้อยระบาดในไทย
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'หมอยง' บอกอย่าตื่นตะหนกโนโรไวรัส
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform