27 พ.ย.2567 - ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “รู้แล้วอึ้ง ! ขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช เอกชนได้เงินค่าผ่านทางเท่าใด?” ระบุว่าผู้สนใจหลายคนอยากรู้ว่าเอกชนผู้รับสัมปทานจะได้รับเงินค่าผ่านทางจากการขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ออกไปอีก 22 ปี 5 เดือน เป็นจำนวนเท่าใด ?
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ให้สัมปทานทางด่วนศรีรัชแก่เอกชนเป็นระยะเวลาดังนี้
(1) เริ่มต้นให้สัมปทาน 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2533 จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563
(2) ขยายสัมปทานครั้งที่ 1 ออกไป 15 ปี 8 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2578
(3) กำลังจะขยายสัมปทานครั้งที่ 2 ออกไป 22 ปี 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2578จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2601
จากสมมติฐานที่ใช้ในการประมาณการรายได้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถคำนวณรายได้ค่าผ่านทางได้ทั้งของ กทพ. และของเอกชน
สมมติฐานที่ใช้ในการคำนวณรายได้ค่าผ่านทางมีดังนี้
(1) ช่วงระยะเวลาในการคำนวณอยู่ระหว่างปี 2568-2601 ซึ่งปี 2568 เป็นปีแรกที่จะเริ่มใช้สัญญาใหม่ (หากมีการขยายสัมปทานครั้งที่ 2) ส่วนปี 2601 เป็นปีสุดท้ายของการขยายสัมปทานครั้งที่ 2 ออกไป 22 ปี 5 เดือน (นับจากปี 2578 เนื่องจากการขยายสัมปทานครั้งที่ 1 ซึ่งเริ่มในปี 2563 จะสิ้นสุดลงในปี 2578)
(2) อัตราค่าผ่านทางเป็นไปตามที่ กทพ.กำหนด โดยมีการปรับเพิ่มแบบคงที่ทุก 10 ปี
(3) สัดส่วนการแบ่งรายได้ระหว่าง กทพ.กับเอกชน
ก. รายได้จากทางด่วนเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) และทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ส่วน A (ถนนรัชดาภิเษก-ทางแยกต่างระดับพญาไท-ถนนพระราม 9) และส่วน B (ทางแยกต่างระดับพญาไท-บางโคล่) เป็นของ กทพ. 50% และของเอกชน 50%
ข. รายได้จากทางด่วนศรีรัช ส่วน C (ถนนรัชดาภิเษก-ถนนแจ้งวัฒนะ) และส่วน D (ถนนพระราม 9-ถนนศรีนครินทร์) รวมทั้งทางด่วนอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) เป็นของเอกชนทั้งหมด 100%
การคำนวณรายได้ในช่วงระยะเวลาปี 2568-2601 พบว่ามีรายได้ค่าผ่านทางทั้งหมดประมาณ 5.6 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ของ กทพ.ประมาณ 2.1 แสนล้านบาท และของเอกชนประมาณ 3.5 แสนล้านบาท นั่นคือเอกชนได้รายได้มากกว่า กทพ.ถึง 67%
ถ้าไม่มีการขยายสัมปทานครั้งที่ 1 ในปี 2563 ที่ผ่านมา และที่เตรียมจะขยายสัมปทานครั้งที่ 2 อีกในเร็วๆ นี้ รายได้ทั้งหมดก็จะตกเป็นของ กทพ.
แล้วจะขยายสัมปทานไปอีกทำไม ?
หมายเหตุ: ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แนะ 3 วิธี คมนาคม ไม่ต้องสร้าง 'Double Deck' ก็แก้รถติดบนทางด่วน
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ไม่ต้องสร้าง “Double Deck” ก็ “แก้รถติดบนทางด่วน” ได้ มีเนื้อหาดังนี้
'ดร.สามารถ' หนุนรัฐซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชน แต่ค้านขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช
'ดร.สามารถ' หนุนรัฐซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชน เพื่อลดค่าโดยสารทุกสายทุกสีเหลือ 20 บาทตลอดสาย ต้องการทำให้ค่าผ่านทางด่วนถูกลงด้วย ก็เป็นเรื่องดีเช่นเดียวกัน แต่กลับจะขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ให้เอกชน ซึ่งจะไม่สามารถทำให้ค่าผ่านทางด่วนทั้งโครงข่ายถูกลงได้ ในทางกลับกัน การทำให้สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงโดยเร็ว จะทำให้ค่าผ่านทางถูกลง
กทพ.ผุดทางด่วนริเวียร่า 'สมุทรสาคร-สมุทรปราการ' มูลค่าแสนล้าน
“กทพ.” กางแผนลุ้นปี 69-70 ศึกษาสร้าง “ทางด่วนริเวียร่าสมุทรสาคร-สมุทรปราการ” วงเงิน 1.09 แสนล้านบาท ยาว 71 กม. เล็งตอกเสาเข็มแบ่งเป็นเฟส รับแผนแม่บท MR-MAP เชื่อมมอเตอร์เวย์ หนุนระบบราง
ดร.สามารถ คลี่ปมปริศนาขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช!
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้