26 พ.ย. 2567 – นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊ก “เทพไท – คุยการเมือง” ระบุว่า ผล อบจ.อุดรธานี ไม่ได้ชี้วัดเป้า200 ส.ส.ของทักษิณ
การที่นายทักษิณ ชินวัตร ประกาศว่า ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคเพื่อไทยจะกวาดที่นั่ง ส.ส. 200 คนได้ไม่ยากนั้น ถ้าหากจะหยิบยกกรณีผลการเลือกตั้งนายกอบจ.อุดรธานี ที่นายทักษิณไปลงพื้นที่หาเสียงด้วยตัวเอง และผลการเลือกตั้งที่ออกมาอยู่ในระดับที่ห่างกัน 58,000 คะแนน ถือว่าไม่ได้ชนะขาดลอย เพราะถ้าจะชนะขาดลอยต้องมีคะแนนห่างกันไม่น้อยกว่า 100,000 คะแนน แต่เป็นการชนะกันในระดับปานกลาง ไม่ถึงขั้นสูสี
แต่เมื่อดูการขยายฐานเสียงระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาชน มีการพัฒนาทางด้านฐานเสียงที่แตกต่างกัน เพราะถ้าเปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้ง อบจ.เมื่อปี 2563 พรรคเพื่อไทยมีคะแนนเพิ่มขึ้นแค่ 1554 คะแนน ในขณะที่พรรคประชาชนมีคะแนนเพิ่มขึ้นถึง 82,874 คะแนน ถือว่าประสบความสำเร็จในการขยายฐานเสียง แต่ไม่ประสบความสำเร็จในผลการเลือกตั้ง ที่ไม่สามารถเอาชนะได้
ถ้าหากจะนำผลการเลือกตั้งนายกอบจ. อุดรธานี ซึ่งเป็นการเมืองระดับท้องถิ่นมาเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งระดับชาติ ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ เพราะเงื่อนไขที่แตกต่างกันคือ
1.การเลือกตั้งระดับชาติเป็นการเลือกตั้งทั่วไป มีพรรคการเมืองส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งทุกพรรค การแข่งขันกันหลายพรรค ซึ่งต่างกับการเลือกตั้งนายกอบจ. ครั้งนี้ ที่ต่อสู้กัน2พรรค ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาชน
2.การเลือกตั้งระดับชาติ มีการแข่งขันกันในเรื่องแคมเปญการหาเสียง มีจุดยืนอุดมการณ์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเดิมพัน มีการสร้างกระแสกันระดับทั่วประเทศ ส่วนการเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นเรื่องเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ ไม่สามารถสร้างกระแสทางการเมืองในวงกว้างได้
3.การเลือกตั้งระดับชาติ มีการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า และมีการเลือกตั้งนอกสถานที่ ทำให้คนรุ่นใหม่ที่กำลังเรียนหนังสือ และทำงานอยู่ในต่างจังหวัด สามารถใช้สิทธิ์ได้ แต่การเลือกตั้งท้องถิ่นไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า และเลือกตั้งนอกเขต จึงทำให้คนที่ทำงานในต่างจังหวัด ไม่ได้เดินทางมาลงคะแนน จึงทำให้พรรคประชาชนที่มีฐานเสียงของคนรุ่นใหม่เสียเปรียบ
4.การเลือกตั้งท้องถิ่น พรรคเพื่อไทยอยู่ในฐานะแกนนำรัฐบาล สามารถใช้เงื่อนไข และกลไกอำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ ในการสร้างคะแนนเสียงได้มากกว่าพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน และฐานเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมด เทคะแนนให้กับพรรคเพื่อไทยมากกว่าพรรคประชาชนที่เป็นฝ่ายค้าน
5.พรรคเพื่อไทยอยู่ในฐานะพรรคแกนนำรัฐบาลสามารถระดมทุน จากกลุ่มผู้สนับสนุนช่วยเหลือ ผู้สมัครของพรรคได้มากกว่าพรรคประชาชนที่เป็นฝ่ายค้าน ไม่มีกลุ่มทุนสนับสนุน ยกเว้นทุนของตัวเอง ซึ่งทำให้การหาเสียงมีความอัตคัด ฝืดเคืองมากกว่าพรรครัฐบาล
ถ้าหากจะวัดศักยภาพของพรรคเพื่อไทยว่า จะได้ที่นั่งส.ส. 200 ที่นั่งตามที่นายทักษิณประกาศเอาไว้หรือไม่ ขอให้รอดูการเลือกตั้งระดับชาติในปี 2570 จะมีความชัดเจนกว่าการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งเงื่อนไขและบริบทแตกต่างกัน จนไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้เลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิธรรม' สดุดี 'ทักษิณ' ครองใจคนอุดรฯ พา พท. ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.
'ภูมิธรรม' ฟุ้งอุดรธานีหัวใจคนเพื่อไทยโดยแท้ ชนะเป็นเรื่องธรรมดา ยํ้า ปชช. ยังรัก 'ทักษิณ' ชอบผลงานที่ทำมา อุบ 'อิ๊งค์' ลงพื้นที่ขอบคุณ
ความจริง 'ชั้น 14' ชี้ชะตา 'รัฐบาลอิ๊งค์'
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อายุรัฐบาลขึ้นกับความจริงบนชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.)
'ทักษิณ-พท.' อย่าเพิ่งตีปีก! ชั้น 14 ป.ป.ช. ใกล้งวด คดีครอบงำยิ่งชัด รอ กกต. เคาะ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า หน้าแตกกันไปตามๆ กัน เมื่อได้ทราบผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่รับวินิจฉัยคำร้อง
ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"
แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ
'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน
ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49