'นิพิฏฐ์' เล่าเรื่องวิชาชีพทนายความ

21 พ.ย.2567 - นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ทนายความ” ระบุว่า ผมเคยเป็นประธานสภาทนายความคนแรกของจังหวัดพัทลุง ที่มาจากการเลือกตั้ง 2 สมัย แล้วก็หยุดไม่สมัครต่อ ที่เริ่มต้นอย่างนี้เพื่อบอกเป็นพื้นฐานว่า ผมก็พอรู้ระบบของทนายความอยู่บ้าง

ทนายความเป็นวิชาชีพอิสระตรงที่คุณจะทำคดีให้ใครก็ได้ ไม่พอใจคุณไม่ทำก็ได้ (เว้นแต่ศาลขอแรงให้ทำถ้าไม่ทำผิด กม.และ ผิดมรรยาททนายความ)

การทำงานที่เขาเรียกว่า “วิชาชีพ” ต่างกับงานที่เป็น “อาชีพ” บางประการ กล่าวคือ”วิชาชีพ“ อย่างน้อยต้องมีการบังคับด้วย 2 เรื่อง คือ 1. มีกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพนั้นๆ และ 2.มีจรรยาบรรณ ว่าด้วยวิชาชีพนั้นๆ

ทนายความ ถ้าทำผิดจรรยาบรรณ แม้ไม่ผิดกฎหมาย เขาก็สามารถถอดถอนคุณได้ เพราะวิชาชีพนี้เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จึงต้องได้รับความไว้วางใจจากประชาชนด้วย

เรื่องวิชาชีพนี่ ดูง่ายๆ ใครประกอบอาชีพ ที่ถือเป็นวิชาชีพ เช่น ทนายความ,แพทย์,วิศวะ,สถาปัตย์ หรือวิชาชีพอื่นๆ ถ้าประกอบวิชาชีพแล้ว “รวยจนเกินเหตุ” ให้พึงสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เขาและเธอเหล่านั้นน่าจะละเมิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเข้าให้แล้ว รวยได้แต่น่าจะเป็นข้อยกเว้นเท่านั้น เพราะหากคุณปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด วิชาชีพมันบังคับให้คุณรวยแบบไม่บันยะบันยังไม่ได้

อาชีพทนายความ ไม่บริสุทธิ์ 100 % หรอก บางทีก็เทาๆ เสียด้วยซ้ำ แต่มันเทาๆ ตามที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้ สมมุติว่า มีจำเลยฆ่าคนตาย แล้วคุณว่าความให้ คุณต่อสู้ว่า คดีขาดอายุความแล้ว ถ้าปรากฎว่าขาดอายุความจริงๆ แม้เขาฆ่าจริง แต่ศาลก็ต้องยกฟ้อง ปล่อยตัวเขาไป คุณว่ายุติธรรมหรือเปล่า ก็แล้วแต่คิดครับ แต่กติกามันเป็นอย่างนี้

อาชีพนักกฎหมาย อยู่ได้เพราะความไม่รู้ของคน จึงมีคำกล่าวว่า “ที่ใดมีความรู้ ที่นั่นไม่ต้องมีนักกฎหมาย”

เพื่อนผมหลายคนที่เป็นนักกฎหมาย ทั้งอัยการ และ ผู้พิพากษา หลายคนเป็นสายบุญ เพราะเขาบอกว่า การกระทำของเขาแม้เจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม อาจจะทำให้คนบริสุทธิ์ต้องรับโทษ จึงขยันทำบุญผมไม่ค่อยเข้าใจเรื่องบุญ-บาป เท่าไหร่ รู้เพียงว่า ทำบุญก็ดีกว่าทำบาป เพราะไม่ว่าใครจะเข้มแข็งอย่างไร เมื่อเข้าวาระสุดท้ายของชีวิต จิตสุดท้ายของมนุษย์จะอ่อนแอเสมอ

คติของชาวพุทธ เขาเลยให้ “ทำบุญใหญ่” เช่น สร้างพระปฐมเจดีย์, สร้างพระบรมธาตุ ฯลฯ คุณไปทอดกฐินทุกปี เชื่อเถอะ จิตสุดท้ายคุณนึกไม่ออกหรอกว่า คุณเคยไปทอดกฐินวัดไหนมาบ้าง เพราะมันเยอะเกินไป จนคุณจำไม่ได้ หากจิตที่อ่อนแอจำได้แต่เรื่องบาป ประตูนรกก็เปิดรับคุณ

ว่าจะเขียนเรื่องทนายความ แต่ไถลไปเรื่องบาป-บุญ-คุณ-โทษ ของอาชีพทนายความ เอาไว้ตอนหน้าค่อยเขียนต่อดีกว่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกสภาทนายความ เข้าพบ ประธานศาลฎีกา หารือป้องกันทนายความปลอม

ที่ศาลฎีกา นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยคณะบริหารสภาทนายความและตัวแทนประธานสภาทนายความจังหวัด ได้เข้าพบนางชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ประธานศาลฎีกา พร้อม

‘นิพิฏฐ์’ เตรียมชำแหละ ‘MOU44-ชั้น14’ มุมความจริงจากนักกฎหมาย

เรื่องเอ็มโอยู 44 (MOU 44) และกรณีชั้น 14 รพ.ตำรวจ ทั้ง 2 เรื่อง มีคนพยายามทำให้สับสน พูดความจริงบางส่วน แต่เลือกพูดความจริงในสิ่งที่ไม่ใช่สาระสำคัญเสียด้วย  ประชาชนจึงตกอยู่ในหลุมพรางของนักการเมือง