18 พ.ย.2567 - นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์เฟซบุ๊กว่าสาเหตุที่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตไม่ได้ผลไร้ประสิทธิภาพและพวก คนโกงคนชั่วหรือเหิมลำพอง อยู่ได้ก็เพราะ
1.ใช้หลักกฎหมาย ผู้กล่าวหาเป็นผู้พิสูจน์ ซึ่งล้าสมัยแล้ว ปัจจุบันนี้ หลายประเทศเปลี่ยนมาใช้หลักการ ผู้ได้ครองข้อมูลผู้นั้นมีหน้าที่พิสูจน์ เช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ศุลกากร กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเป็นต้น
2. ผู้ทุจริตคอร์รัปชันมีเวลาเคลื่อนย้ายทรัพย์สินหลบหนี นานมาก ซึ่งหลายประเทศ ได้แก้ไขจุดอ่อนนี้ โดยให้อำนาจ ป.ป.ช ทำการยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์ได้ทันทีที่เริ่มการไต่สวน
3. กฎหมายปัจจุบันเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดอยู่ในอำนาจหน้าที่ ใช้อำนาจปกป้องคุ้มครอง การกระทำความผิด และพูดสนับสนุนการกระทำความผิด เป็นเวลานาน จนกระทั่งออกจากราชการไปแล้ว ดังนั้นต้องปรับปรุงกฎหมาย ให้ปปชสามารถ สั่งพักราชการได้ทันทีที่รับไต่สวนตรวจสอบ เพื่อไม่ให้ใช้อำนาจหน้าที่ปกป้องคุ้มครองการกระทำความผิดนั้นต่อไป
4. ควรมีระบบให้สินบน แก่ประชาชนที่แจ้งเบาะแสการกระทำความผิด และให้สินบนในอัตราส่วน 10-20% ของมูลค่าทรัพย์สินที่ยึดเป็นของรัฐได้ และให้ได้รับยกเว้นภาษีด้วย
5. การบริหารจัดการในการตรวจสอบไต่สวน ต้องให้โอกาส กรรมการปปช ในการจัด ตรวจสอบไปสวนว่าเรื่องใดเป็นเรื่องเร่งด่วน เรื่องใดเป็นเรื่องใหญ่สำคัญและอยู่ในความสนใจประชาชน ก็สามารถสั่งให้ตรวจสอบไปสวนเป็นการด่วนก่อนได้
ดังนั้นจึงควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้เป็นแบบให้เป็นลักษณะนี้ ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ที่มาของกรรมการปปช ต้องได้รับความเชื่อถือมากกว่านี้ ปัจจุบันนี้ขาดความเชื่อถือ เพราะสว. ถูกกล่าวหาว่า เป็นเครื่องมือทางการเมือง ของนักการเมืองไปแล้ว ดังนั้นจึงทำให้ปปช. ไม่ได้รับความเชื่อมั่นว่าดำรงความเป็นกลาง ในเฉพาะหน้านี้ต้อง แก้ไขแหล่งที่มาของกรรมการปปช โดยเปลี่ยนเป็นคณะ ที่ได้รับความเชื่อถือ เป็นผู้ให้ความเห็นชอบแทนสว. ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง สูงสุด อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และประธานองคมนตรี และเมื่อใดที่มีการปรับปรุง สว. จนมีความเชื่อมั่นว่า เป็นผู้แทนของประชาชนที่แท้จริงแล้ว จึงค่อยแก้ไขกฎหมายกลับไปให้สวให้ความเห็นชอบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ป.ป.ช. แจงปม สตง. แจ้งผลสอบการใช้จ่ายของสำนักงาน ป.ป.ช. ปี 66 พบ 16 หน่วยงานบกพร่อง
นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. ชี้แจงกรณีมีการนำเสนอข่าวว่า ครม.รับทราบ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
โกงหนีไปบวชก็ไม่รอด! ป.ป.ท. จับอดีตพนักงานอบต. ยักยอกเงินเบี้ยผู้สูงอายุ
ป.ป.ท. เขต 6 จับกุมอดีตพนักงาน อบต.บ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก หลังหลบไปบวชเป็นพระที่วัดบ้านดง เพื่อหนีความผิดยักยอกเงินเบี้ยผู้สูงอายุและผู้พิการรวม 90,700 บาท ระหว่างปี 2559-2561 ดำเนินการตามหมายจับศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
'เลขาฯป.ป.ช.' คาดคดี '44 อดีตสส.ก้าวไกล' จบกลางปีนี้ เผยมารับข้อกล่าวหาไม่กี่คน
'เลขาฯป.ป.ช.' เผย คดี 44 อดีตสส.ก้าวไกล แก้ 112 มารับทราบข้อกล่าวหาด้วยตัวเองไม่กี่คน ส่วนใหญ่ส่งไปทางไปรษณีย์ ยันพิจารณาพฤติการณ์รายบุคคล คาดจบกลางปีนี้
ป.ป.ช. รับคำร้องญาติอดีตผกก.โจ้ ปมจนท.กลั่นแกล้ง ต้องสอบก่อนตั้งอนุไต่สวน
นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยความคืบหน้าคดีร่ำรวยผิดปกติ และคดีอาญาของ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ อดีตผู้กำกับโจ้
ถนัดตบจูบ! 'ทักษิณ' บอก 'เพื่อไทย-ภูมิใจไทย' อยู่กันแบบนี้ออกรสชาติดี
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี 81 สว.ยื่นคณะกรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายของคณะ
มติรัฐสภา ตีตก ร่างกม.ป.ป.ช. โอนคดีทุจริตทหารสู่ศาลอาญาทุจริต
เสียงข้างมาก 415 เสียง ลงมติไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ป.ป.ช. ฉบับแก้ไข ที่ให้โอนคดีทุจริตของบุคลากรในกองทัพจากศาลทหารไปยังศาลอาญาคดีทุจริตฯ ขณะเสียงข้างน้อยชี้ ปล่อยให้ศาลทหารพิจารณาคดีต่อ เท่ากับประวิงเวลาและขัดหลักความยุติธรรมสากล