13พ.ย.2567- นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตส.ส.พัทลุง และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ กรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาดังนี้
-ผมตั้งใจจะเขียนเรื่อง“กรรม”มานานแล้ว ได้อ่านได้ศึกษามาตามสติปัญญาอันน้อยนิด ความเห็นนี้ จึงเป็นความเห็นส่วนตัว มิใช่ข้อสรุปจากคำสอนของพระอริยสงฆ์ เพราะผมอาจสรุปผิด หรืออาจไม่ตรงกับแนวในพระไตรปิฎก เป็นการอ่าน เป็นการฟัง เป็นการเรียนรู้ของผมเองก็ขอให้ท่านโปรดอภัยในความด้อยปัญญาของผม
-เวลาชาวพุทธพูดว่า ปล่อยเขาไปเถอะเดี๋ยวกรรมตามสนองเอง ไม่ใช่หลักของพุทธศาสนา แต่เป็น“ลัทธิแล้วแต่โชค” หรือพูดว่า คนบางคนเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ เพราะกรรม หรือ ใครทำชั่วเดี๋ยวกรรมก็สนองเอง ไม่ต้องไปทำอะไรเขาหรอก เป็นความเชื่อนอกพุทธศาสนาความเชื่อนี้ มีมาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกว่าลัทธิตามแต่โชค
-พระพุทธเจ้าตรัสให้อยู่เหนือกรรม คือ เหนือทั้งกรรมดี และ กรรมชั่ว
-กรรมมี 2 ชนิด หรือ
1.กรรมตามธรรมชาติ และ
2.กรรมตามวินัยหรือกรรมโดยบัญญัติ
-เมื่อพูดถึงกรรม จึงต้องพูดถึง 2 เรื่อง คือ กรรม (การกระทำโดยเจตนา) และ ผลของกรรม
-ปกติเมื่อทำกรรม จะมีผลตามมาทันที แต่อาจช้าบ้างด้วยเหตุปัจจัยบางอย่าง มีผู้สงสัยว่า บางคนทำกรรมแต่ไม่ได้รับผลของกรรม เป็นเพราะอะไร
-เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้ฉลาดมีปัญญา มนุษย์จึงเห็นว่า หากปล่อยให้กรรมเป็นไปตามธรรมชาติ หากผู้มีกำลังมากกว่ารังแกผู้มีกำลังน้อยกว่า สังคมจะเดือดร้อน เช่น เราปลูกมะม่วง รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ยอย่างดี ออกดอกออกผลงดงาม พรุ่งนี้ตัดไปขายได้ สิ่งที่เราทำมาเรียกว่า“กรรมดี” ซึ่งควรได้รับผลดี แต่ในคืนนั้นมีโจรมาลักขโมยมะม่วงไปหมด กลายเป็นว่ากรรมดี แต่"ผลของกรรมไม่ดี" กรณีนี้เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีปัญญาดังกล่าวแล้ว มนุษย์จึงบัญญัติกรรมทางวินัยหรือกรรมโดยบัญญัติขึ้นมา ว่า ใครลักทรัพย์ผู้อื่นต้องได้รับโทษจำคุก เพื่อให้สังคมเรียบร้อยและให้กรรมที่บัญญัติสนองตอบต่อกรรมตามธรรมชาติ ไม่งั้นคนมีกำลัง มีอิทธิพล มีพวกมากกว่า จะรังแกคนอื่น เวลาพูดถึงกรรม จึงมีคน 2 ส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ คือ ตัวเรา กับ สังคม
-มนุษย์ที่มารวมกันเป็นสังคม จึงออกกฎหมายและเลือกผู้นำ ขึ้นมาเพื่อให้กรรมบัญญัติสนองตอบกรรมตามธรรมชาติ คือ คนขโมยมะม่วง ต้องรับโทษคือ ต้องติดคุก แต่หากสังคมใด คนทำกรรมตามธรรมชาติ แต่ไม่ถูกลงโทษ แสดงว่า สังคมนั้นผู้มีอำนาจหรือผู้นำไร้คุณธรรม จึงเป็นเรื่องที่สังคมต้องพิจารณากันเองว่าจะอยู่กันอย่างไร เพราะกรรม มี 2 ส่วนเข้ามาประกอบเสมอ คือ ตัวเราที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และสังคมที่ประกอบด้วยคนส่วนใหญ่ หากคนทำผิดแล้วไม่ต้องรับผิดสังคมก็จะเดือดร้อนเอง จึงเป็นเรื่องที่มนุษย์ต้องยอมรับว่า เราได้ผู้นำไม่ดี อันนี้ จะโทษใครล่ะครับ ถ้าถามผม ผมก็ต้องโทษเราเอง ที่เราเลือกได้ผู้นำไม่ดี คนทำกรรมชั่วจึงไม่ติดคุก และไม่ได้รับผลของกรรมบัญญัติ มัวโทษผู้อื่นก็เท่ากับเราปัดสวะให้พ้นตัวเพราะเราก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในสังคมนี้ ยิ่งยุ่งกันใหญ่ ทุกวันนี้ก็พยายามคิดเพียงว่า“อยู่ให้ได้”/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นิพิฏฐ์' ฟันเปรี้ยง! ออกพรก.ขยายอายุความในความผิดทางอาญา ทำไม่ได้
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตส.ส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กกรณีมีการเสนอให้รัฐบาลออกพระราชกำหนดขยายอายุความคดีตากใบ ว่า
คดี 'ดิไอคอน' ไม่น่าจะติดคุกทั้ง18 คน หากถูกขัง 3 ปี แล้วยกฟ้อง ทำลายชีวิตสิ้นเชิง
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่าลองทายกันหน่อยไหม?
'นิพิฏฐ์' เหน็บ 'ณัฐวุฒิ' มีปากก็พูดไป อย่าลืมนำหลักฐานการจ่ายค่าเผา 21 ล้านมาแสดงด้วย
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตส.ส.พัทลุง สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และอดีตแกนนำคนเสื้อแดง
'นิพิฏฐ์' ซัด น่ารังเกียจ น่าประณาม ฉกสส.บางกลุ่ม ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
'นิพิฏฐ์' ให้กำลังใจ 'จตุพร' เป็นนักรบที่มีจุดยืน คราวเจ็บปวด ก็คำรามแบบราชสีห์ที่เจ็บปวด
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตส.ส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กกรณีนาย จตุพร พรหมพันธุ์ ถูกศาลพิพากษาจำคุก ปี ในคดีเปิดเผยชั้นความลับของทางราชการ เมื่อ ปี 2552 ว่า
'นิพิฏฐ์' สอนมวยก้าวไกล ยกคดียุบพรรคมาเทียบกรณี ปชป. ไม่ได้ คนละประเด็นกัน
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า *กรณีการยื่นคำร้องให้ยุบพรรคก้าวไกล และ พรรคประชาธิปัตย์ -พรรคก้าวไกล ออกมาแถลงหลายครั้ง ทำนองว่า ในปี 2553 ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัต