13พ.ย.2567- นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว !
ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E”
เอกสารแนบท้าย MOU 2544
______
.
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น
.
ขอคุยเรื่องเบา ๆ สลับฉากเป็นเสมือนภาคแยกบ้าง !
.
เรื่องเอกสารแนบท้าย 1 หน้ากระดาษที่มีลักษณะเป็นแผนที่หรือแผนผังแสดงพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนของทั้งกัมพูชาและไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนขีดเส้นแทยงถี่ ๆ มองไกล ๆ เห็นเป็นสีเทา ส่วนล่างเป็นสีขาวตามปกติ
.
เส้นแบ่งพื้นที่เป็นส่วนบนและส่วนล่างนี่ละที่เป็นประเด็น
.
พวกเรารู้จักกันมานานในนาม…
.
“ละติจูดที่ 11 องศาเหนือ”
.
ในเอกสารประกอบทั้งฉบับภาษาอังกฤษกับภาษาไทย มีระบุตัวเล็ก ๆ ไว้ตรงส่วนปลายทางขวามือของเส้นแนวนอนของกระดาษเส้นที่ 2 จากข้างบน เขียนไว้ตรงกัน ผมตัดแยกออกมาวงกลมสีเหลืองไว้ให้เห็นชัดขึ้นหน่อย
.
“11° E”
.
E คือ “East” หรือทิศตะวันออก !
.
งงมั้ยล่ะ ก็เส้นสมมติทางภูมิศาสตร์แนวนอนบนแผนที่โลกเพื่อใช้ระบุพิกัดว่าอยู่ส่วนไหนของพื้นโลกนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า “ละติจูด” (Latitude) หรือที่เราเรียนภูมิศาสตร์กันแต่เด็ก ๆ จนลืมไปแล้วเรียกว่า “เส้นรุ้ง” ตัวเลขมีตั้งแต่ 0 - 90 หมายความว่าทำมุมกี่องศากับเส้นศูนย์สูตร (Equator) เป็นเส้นแนวนอนเริ่มจากเส้นศูนย์สูตรขึ้นและลงไปยังขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ จึงมีหน่วยเรียกขานแต่ละเส้นเป็น ”องศาเหนือ“ กับ ”องศาใต้“ เท่านั้น
.
มีแต่ °N กับ °S เท่านั้น
.
ต่างกับเส้นสมมติทางภูมิศาสตร์แนวตั้งคือ “ลองติจูด” (Longitude) หรือ “เส้นแวง” ที่มีหน่วยเรียกขานเป็น “องศาตะวันออก” กับ “องศาตะวันตก” เท่านั้นเช่นกัน
.
มีแต่ °E กับ °W เท่านั้น
.
แล้วเส้นสำคัญใน MOU 2544 ที่ระบุว่าเป็น “11° E” นี่มันอะไรกัน !
.
ไม่เพียงเท่านั้น ที่ทำให้งงขึ้นคือเส้นที่ควรจะหมายถึงละติจูดล่าง ๆ ลงมาเป็นเส้นที่ 3 ที่ 4 ในแผนผังก็ล้วนใช้หน่วยเป็น ”°E” ทั้งนั้น
.
“10° E” และ ”9° E” อย่างที่เห็น !
.
จะบอกว่าไม่ใช่ละติจูด ก็ไม่ได้ เพราะหน่วยระบุเส้นแนวตั้งที่ควรจะเป็นลองติจูดนั้นใช้หน่วยถูกต้อง และตรงตามพิกัดภูมิศาสตร์ที่เป็นจริง คือ ”องศาตะวันออก“ หรือ ”° E” ตามที่เห็นอยู่ 3 เส้น
.
“101° E”, “102° E” และ ”103° E”
.
ตีความประกอบกันแล้ววินิจฉัยได้ว่าเขียนผิดหรือพิมพ์ผิด !
.
ที่เขียนว่า “11° E” นั้น ผิด ที่ถูกต้องเป็น…
.
”11° N”
.
ถามว่าเอกสารแนบท้ายนี้สำคัญแค่ไหน ก็ต้องตอบว่าสำคัญมาก เพราะในเนื้อความ 2 หน้ากระดาษก่อนหน้าไม่ได้ระบุข้อความบรรยายระบุพิกัดไว้เลย เขียนไว้ในข้อ 2 (a) หรือ 2 (ก) และข้อ 2 (b) หรือ 2 (ข) โยนมาที่ “เอกสารแนบท้าย” เลย
.
“จัดทำความตกลงสำหรับการพัฒนาร่วมทรัพยากรปิโตรเลียมซึ่งอยู่ในพื้นที่พัฒนาร่วม ดังปรากฎในเอกสารแนบท้าย (สนธิสัญญาพัฒนาร่วม) และ…” - ข้อ 2 (ก)
.
“การตกลงแบ่งเขตซึ่งสามารถยอมรับได้ร่วมกันสำหรับทะเลอาณาเขต ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ในพื้นที่ที่ต้องแบ่งเขต ดังปรากฏตามเอกสารแนบท้าย” - ข้อ 2 (ข)
.
ควรเข้าใจร่วมกันว่า MOU 2544 นี้แม้จะยังเป็นแค่ “กรอบการเจรจา” และแม้จะใช้ชื่อว่า ”บันทึกความเข้าใจ…“ แต่การลงนามโดยผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา จึงมีสถานะเป็นสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 นี่ไม่ใช่ผมพูดเอง แต่เป็นการยืนยันเป็นข้อเขียนทางวิชาการชิ้นสำคัญเมื่อปี 2554 ของนักกฎหมายชั้นครูผู้เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนที่มีบทบาทโดยตรงกับบันทึกความเข้าใจฉบับนี้
.
อ้อ และตัว MOU 2544 ในข้อ 2 (ก) ที่ยกมาข้างต้นก็ใช้คำว่า “สนธิสัญญา(พัฒนาร่วม)” นะ
.
ความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารแนบท้ายสนธิสัญญาที่กำหนดเขตไว้คร่าว ๆ ให้เข้าใจตรงกัน เพื่อเจรจาในรายละเอียดให้ได้ข้อยุติต่อไป ยังไม่ต้องกำหนดพิกัดให้ตรงเป๊ะ ๆ เหมือนระบุในประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของทั้ง 2 ประเทศ ดังที่ในเอกสารนี้เองหลายจุดก็เขียนหมายเหตุไว้ว่า “ซึ่งต้องรับรองความถูกต้องต่อไป” หรือ “to be verified” ก็จริง แต่มันก็ไม่ควรจะต้องผิดพลาดแบบขำ ๆ เป็นชนวนให้ถูกล้อเช่นนี้ ไม่รู้หลุดลอดสายตาบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถสูงตั้งแต่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการมาจนถึงรัฐมนตรีผู้ลงนามได้อย่างไร
.
คนส่วนใหญ่อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ไม่ได้สังเกต หรือพอเห็นแล้วก็เข้าใจได้ว่าเป็นความผิดพลาดทางเทคนิค ไม่น่าจะกระทบสารัตถะของสนธิสัญญา แต่ในการเจรจาความเมืองระหว่างประเทศเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ความผิดพลาดนี้จะกระทบสารัตถะหลักหรือไม่อย่างไรในอนาคต ยังไม่อาจทราบได้
.
จะเขียนล้อเขียนเสียดสีให้สนุกสนานเฮฮากันมากกว่านี้ ก็พอทำเป็นนะ
.
แต่ไม่ละครับ เห็นใจ
.
เข้าใจความรู้สึกของคนของกระทรวงการต่างประเทศเวลาไปชี้แจงในเวทีกรรมาธิการต่าง ๆ แล้วถูกถามเรื่อง “11° E” นี้
.
“เขียนผิด” จาก “° N” เป็น ”° E” แค่นี้พอทน
.
ขออย่า “คิดผิด” ในหลักการก็แล้วกัน…
.
หากเป็นเช่นนั้น สุดจะทน
.
.
คำนูณ สิทธิสมาน
13 พฤศจิกายน 2567
#MOU2544 #เอกสารแนบท้ายMOU2544
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักการเมืองไทยอย่าทะลึ่ง! ยก 4 เคส บัวแก้วเคยประท้วงกัมพูชา อ้างสิทธิ 'เกาะกูด'
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คนกัมพูชาจำนวนไม่น้อยเคยเชื่อหรือยังเชื่อว่าเกาะกูดเป็นของเขา ไม่ทั้งหมดก็อย่างน้อยกึ่งหนึ่ง!
รัฐบาลอย่าเสี่ยง! แจงยิบทำไม 'MOU 44' เข้าข่าย รธน. มาตรา 178
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อย่าเสี่ยงจงใจขัดรัฐธรรมนูญ! MOU 44 ต้องผ่านรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ 60 มาตรา 178
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .
ไม่เลิก MOU 44 ได้สอง-เสียสาม !
คำถามของท่านนายกรัฐมนตรึเมื่อวันก่อนที่ว่าถ้าเราเลิก MOU 2544 แล้วจะ “ได้” อะไร ดูเหมือนท่านจะเห็นว่าเราจะ “ไม่ได้” อะไรเลยละกระมัง จึงสรุปว่าจะไม่เลิกและจะเดินหน้าต่อ