11 พ.ย.2567 - นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นักกฎหมาย อดีตสส.ขังหวัดพัทลุง โพสต์เฟซบุ๊ก"เรื่องเกาะกูด กับ MOU 44" ระบุว่า 1.อย่าหลงประเด็นว่า “เกาะกูด” เป็นของใคร เพราะชัดเจนว่าเป็นของไทยโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ เพราะ สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 และพิธีสารแนบท้าย ค.ศ.1907 ซึ่งไทยใช้เป็นหลักฐานในการปักปันเขตแดนกับกัมพูชา ระบุข้อความในข้อ 2 ว่า "รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด กับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้น ให้แก่กรุงสยาม …" ใครยังเถียงกันว่า เกาะกูดเป็นของใคร ให้หันไปมองหน้าเขาแล้วเดินผ่านไป อย่าไปคุยด้วย จบนะ!!
2.ปัญหา คือการแบ่งทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเลบริเวณเกาะกูด และการทำแผนที่ทับซ้อนทางทะเล ว่า ทำถูกต้องหรือไม่ ไทยเสียเปรียบหรือไม่ ข้อนี้แหละต้องพิจารณา ผมคิดว่าคนไทย(ส่วนหนึ่ง) ยังไม่ไว้วางใจเพราะ ความสนิทสนมอย่างแนบแน่นเสมือนญาติ ระหว่าง อดีตนายกทักษิณ กับ อดีตนายกฮุนเซน ของกัมพูชา
2.1 อดีตนายกฮุนเซน เป็นผู้นำคนแรกที่เข้ามาเยี่ยมและกอดรัดฟัดเหวี่ยงกับคุณทักษิณ เมื่อคุณทักษิณออกจากชั้น 14 รพ.ตำรวจ โดยไม่ระวังว่าคุณทักษิณหายเส้นเอ็นเปื่อยหรือยัง คน(ส่วนหนึ่ง) เลยคิดว่า รักกันมากจริงๆ
2.2 ตอนคุณยิ่งลักษณ์หนีออกนอกประเทศ ก็มีข่าวลือว่า หนีไปขึ้นเครื่องบินที่ประเทศกัมพูชา อันนี้ อย่าให้ผมยืนยันเลย เอาเป็นว่า ผมสงสัยก็แล้วกัน หนีไปทางไหนเป็นเรื่องที่คุณยิ่งลักษณ์ต้องออกมาพูดเอง
2.3 หลังเลือกตั้ง คุณอุ๊งอิ๊ง ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยกคณะไปเยี่ยมคารวะอดีตนายกฮุนเซ็นเป็นประเทศแรกๆ เพื่อพบปะหารือกับสมเด็จฮุน เซน ประธานองคมนตรีกัมพูชา อดีตนายกฯกัมพูชา ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) และบอกว่าอยากดูการทำพรรคของอดีตนายกฮุนเซ็น ว่าทำอย่างไร จีงประสบความสำเร็จ อันนี้ ก็เริ่มแปลกๆ เพราะประเทศกัมพูชามิใช่ประเทศประชาธิปไตยที่ควรจะไปดูเพื่อถือเป็นแบบอย่างได้
2.4 การเจรจาแบ่งทรัพยากรธรรมชาติใต้ทะเล ระหว่างไทย-กัมพูชา ถือเป็นภารกิจลำดับแรกๆ ที่ผู้นำทั้ง 2 ประเทศ ถือเป็นวาระต้นๆ ที่จะเจรจากัน
-ที่กล่าวมาทั้งหมด จึงเป็นเรื่องที่คนไทย(ส่วนหนึ่ง) คิดไปว่า นี่เขาคุยกันบนพื้นฐานของความสนิทสนมส่วนตัว หรือ บนพื้นฐานของผลประโยชน์ชาติ
-เวลานักการเมืองเขาจะทำอะไร เขาก็จะดูว่า ประชาชนในชาติ อ่อนแอ หรือ เข้มแข็ง ถ้าประชาชนอ่อนแอเขาก็ทำบนผลประโยชน์ส่วนตนของเขา แต่หากประชาชนเข้มแข็ง เขาก็จะทำบนผลประโยชน์ของชาติ ผมก็ไม่รู้ว่าตอนนี้ประชาชนอ่อนแอหรือเข้มแข็ง?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักศึกษา ม.รามฯ จี้นายกฯ เจรจา MOU 44 ยึด UNCLOS รอบคอบโปร่งใสทุกขั้นตอนตามรธน.
นายปาณวัฒน์ มุสิกะพงศ์ ตัวแทนเครือข่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ยื่นข้อเรียกร้องต่อ นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้คณะรัฐมนตรี(ครม. พิจารณาและปฏิบัติ ในกรณีเกี่ยวกับผลประโยชน์ในน่านน้ำเศรษฐกิจระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา
เลขาฯกฤษฎีกา ขออย่าเรียก 'พื้นที่ทับซ้อน' ให้ใช้คำว่า 'พื้นที่อ้างสิทธิ' ตามรัฐบาลบิ๊กตู่
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีเรียกร้องให้ยกเลิกเอ็มโอยู 44 สามารถยกเลิกฝ่ายเดียวได้หรือไม่ ว่า ตามหลักการทำเอ็มโอยูมีจุดเริ่มต้นมาจากสองประเทศ
'นิพิฏฐ์ ' เผยข่าวไม่ดีชั้น 14 เอาตัวให้รอดดีกว่า
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตส.ส.พัทลุง โพสต์ข้อความหัวข้อ "เอาตัวให้รอด" มีรายละเอียดดังนี้
แรง! อดีตกกต. ซัดรัฐบาล หากยอมรับการขีดเส้นของเขมร 'ท่านไม่ได้รักชาติหรอกครับ ท่านขายชาติ'
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต. โพสต์ข้อความหัวข้อ "คลั่งชาติ รักชาติ ขายชาติ" โดยระบุรายละเอียดว่า คนที่ยกเรื่อง MO
'อัษฎางค์' ชี้ระบอบทักษิณค่อยๆจุดไฟเผาตัวเอง
อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ระบุข้อความสั้นๆว่า ทษ.-รพ.ตร.-เอาลูกสาวมาเป็นนา
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เห็นนักการเมืองเกรงใจกัมพูชาเรื่องเกาะกูด แล้วรู้สึกอเนจอนาถใจ สิ้นไร้ไม้ตอก
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า อเนจอนาถ จะมีใครรู้สึกเหมือนผม