'หมอประกิต' กังขารัฐ รายได้ภาษีบุหรี่ไฟฟ้าเแลกกับนักสูบหน้าใหม่พุ่งกระฉูด

แฟ้มภาพ

“หมอประกิต” โยนคำถามใหญ่ให้รัฐบาล รายได้ภาษีบุหรี่ไฟฟ้า กับการต้องแลกด้วยจำนวนนักสูบหน้าใหม่ผุดเพิ่มในประเทศ คุ้มค่าหรือชอบธรรมทางจริยธรรมหรือไม่

10 พ.ย.2567 – ศ.นพ ประกิต วาทีสาธกกิจ   ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่   ระบุ รายได้จากภาษีบุหรี่ไฟฟ้า จะเก็บได้มากจริงหรือ  ล็อบบี้ยิสต์บุหรี่ไฟฟ้าอ้างว่า ยกเลิกห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อรัฐจะมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น

 แต่ในประเทศที่บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย บริษัทผู้ผลิตพยายามวิ่งเต้นให้เก็บภาษีต่ำ ๆ อ้างว่า

        1. บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน และ

        2. เพื่อจูงใจให้คนสูบบุหรี่มวนเปลี่ยนมาสูบบุหรี่ไฟฟ้า

ซึ่งทั้ง 2 ข้อ ขัดแย้งกับข้ออ้างที่ว่า ยกเลิกการห้ามขายแล้ว รัฐจะเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น เพราะ

         1. ถ้าคนเลิกสูบบุหรี่มวนและหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้า รายได้ภาษีจากบุหรี่มวนก็จะลดลง ส่วน

         2. ถ้าจะให้บุหรี่ไฟฟ้าเสียภาษีต่ำ ๆ แล้วรัฐบาลจะได้รับภาษีจากบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นได้สักเท่าไร

       อีกประเด็นที่สำคัญมาก ที่จะทำให้รัฐบาลเก็บภาษีจากบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้มากสักเท่าไร คือ

       ที่พรรคประชาชนเสนอให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าได้“เฉพาะชนิดที่ไม่มีกลิ่นรสหอม เย้ายวน เด็กและเยาวชน”

       แต่เด็กและเยาวชน จะชอบสูบแต่บุหรี่ไฟฟ้าชนิดที่มีกลิ่นหอม ซึ่งมีถึงกว่า 17,000 กลิ่นรสให้เลือก

       ดังนั้นเมื่อบุหรี่ไฟฟ้าที่มีกลิ่นหอมถูกห้ามขาย

       แล้วรัฐบาลจะเก็บภาษีจากบุหรี่ไฟฟ้าชนิดที่ไม่มีกลิ่นหอม ที่คนไม่ชอบสูบ จะได้ภาษีสักเท่าไร

         และบุหรี่ไฟฟ้าชนิดที่มีกลิ่นหอมที่กฎหมายห้ามขาย จะไม่มีการลักลอบขายทั่วไป อย่างเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จะเป็นไปได้หรือ

         ศาสตราจารย์อิศรา ศานติศาสตร์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญภาษียาสูบ อดีตที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก และอีกหลายประเทศในภูมิภาค วิเคราะห์ว่า

         หนทางเดียวที่รัฐบาลจะเก็บภาษีจากบุหรี่ไฟฟ้าได้มากขึ้น คือมีคนอายุน้อยที่ไม่สูบบุหรี่เข้ามาเป็นนักสูบบุหรี่ไฟฟ้าหน้าใหม่ เป็นจำนวนมาก

        ตรงนี้มันจะคุ้มกับปัญหาสุขภาพของประชาชนในระยะยาว และค่าใช้จ่ายการรักษาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ที่รัฐบาลจะต้องแบกรับหรือไม่   

       ยังไม่รวมปัญหาที่เด็กและเยาวชนที่เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าขณะอายุน้อย มีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การติดยาเสพติดชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นปัญหารุนแรงมากอยู่แล้ว

       จึงเกิดคำถามว่า หากรัฐบาลคิดจะหารายได้เข้าประเทศ ด้วยการอนุญาตให้ขายสิ่งเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะต่อเยาวชน อย่างบุหรี่ไฟฟ้า เป็นเรื่องที่สมควร และมีความชอบธรรมทางจริยธรรมหรือไม่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลดี๊ด๊า! เปิดทำเนียบฯ รับม็อบเชียร์ 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ

เครือข่ายภาคประชาสังคมฯ ยื่น 1.5 หมื่นรายชื่อ หนุน 'กิตติรัตน์' นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ 'รองเลขาฯนายกฯ' รีบหอบส่ง ธปท.ทันที แย้มวันนี้ไม่เลื่อนแล้ว

'อนุทิน' ลุย 'เกาะกูด' ยันของไทย ไม่มีวันยอมเสียดินแดนให้ใคร

'อนุทิน' ลงพื้นที่เกาะกูด ลั่นรัฐบาลนี้ไม่มีวันยอมเสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว พร้อมขอบคุณก๋งวัย 92 ปี ยืนยันเป็นของไทย 100%

เต้น เล่าสมัยรุ่งเรืองโดน ’พธม.’ ปิดล้อม จนเป็นโฆษกนอกทำเนียบ บอกผ่าน 16 ปี กลุ่มเดิมยังโจมตีรัฐบาลอยู่

นายกฯแพทองธารกำลังจะออกเดินทางไปประชุมเอเปกที่เปรูคืนนี้ ทำให้ผมนึกย้อนหลังเหตุการณ์ไป 16 ปี  20 พ.ย. 2551