'ไทกร' ขยี้จิตใต้สำนึก 'ทักษิณ' กินมาม่าในคุก

“ไทกร”  จี้ใจดำ  มากินมาม่า ออกจากจิตใต้สำนึกทักษิณ เพราะรู้ตัวดีคดีชั้น 14 จุดวัดใจ ติดคุก หรือ หนีต่างประเทศ

10 พ.ย.2567 – ไทกร พลสุวรรณ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุข้อความ  (ซ้อม) กินมาม่า อาหารยอดฮิตในเรือนจำ

มากินมาม่า คำนี้อาจออกจากจิตใต้สำนึกของทักษิณ เหตุเพราะตัวเองรู้ดีว่าคดีชั้น 14 กำลังเดินหน้าไปสู่จุดที่ต้องวัดใจ

อยู่ติดคุก หรือหนีไปต่างประเทศ

เมื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กสม. ได้ยื่นคำร้องให้ ป.ป.ช. ดำเนินคดีกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ ที่กระทำผิดฐานละเมิดสิทธิมนุษยชนผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานช่วยเหลือผู้ต้องขังทักษิณให้ได้รับสิทธิ์พิเศษเหนือผู้ต้องขังทั่วไป

ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐจะกระทำผิดตามคำร้องของ กสม. หรือไม่อยู่ที่สองการกระทำหลักๆ

1. การเอาตัวผู้ต้องขังออกจากเรือนจำ(คุก) ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่

2. การให้นักโทษผู้ต้องขังอยู่นอกเรือนจำ(คุก) เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 181 วันถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่

เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และข้อปฏิบัติในกรณีนักโทษทักษิณ ยืนยันได้ว่าการเอาตัวนักโทษผู้ต้องขังทักษิณออกนอกเรือนจำไม่ชอบด้วยกฏหมายแน่นอน โดยพิจารณาจาก

1. ข้อปฏิบัติของเรือนจำทุกเรือนจำ การนำตัวนักโทษผู้ต้องขังออกไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลนอกเรือนจำร้อยละ 99.99% เป็นการนำตัวออกไปตอนเช้าและนำตัวกลับมาที่เรือนจำตอนเย็น เหมือนกรณีเบิกตั๋วนักโทษผู้ต้องขังไปศาล

2. หากนักโทษผู้ต้องขังป่วยเรื้อรังก็จะให้นอนในเรือนพยาบาลซึ่งทุกเรือนจำมีเรือนพยาบาลหรืออาคารพยาบาลอยู่ในเรือนจำแห่งนั้น และก็มีผู้ป่วยเรื้อรังนอนรักษาตัวในเรือนพยาบาลเป็นประจำ ส่วนเรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ทัณฑสถานหญิงกลาง และเรือนจำบำบัดยาเสพติด ที่อยู่ติดกันบริเวณคุกลาดยาว ทุกเรือนจำมีอาคารพยาบาลในเรือนจำ ผู้ป่วยเรื้อรังในเรือนจำก็จะนอนพักรักษาตัวอยู่ในอาคารพยาบาล เว้นแต่ป่วยวิกฤติจึงนำตัวออกจากเรือนจำทั้งสี่แห่งมาไว้ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน

3. ข้อปฏิบัตินี้กรมราชทัณฑ์ปฏิบัติเป็นมาตรฐานเนื่องจากการเอาตัวนักโทษผู้ต้องขังออกจากเรือนจำไปค้างคืนนอกเรือนจำ(คุก) หรือสถานที่อื่นซึ่งไม่มีกฎหมายหรือคำสั่งศาลให้มีสภาพเสมือนเป็นเรือนจำหรือคุก ต้องยื่นคำร้องแจ้งให้ศาลที่พิพากษาออกหมายขังให้ศาลได้รับทราบเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพื่อรองรับการกระทำของราชทัณฑ์ให้ชอบด้วยกฎหมายและคำพิพากษา และหมายบังคับจำคุกของศาล เช่น กรณีของผู้ต้องหากระทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้อดอาหารประท้วงจนสภาพร่างกายวิกฤติ ต้องนำตัวออกจากเรือนจำไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ราชทัณฑ์ต้องยื่นคำร้องแจ้งให้ศาลทราบเพราะผู้ต้องหาไปติดคุกในระหว่างพิจารณาคดีด้วยคำสั่งศาล หากต้องเอาตัวออกจากคุกก็ต้องใช้คำสั่งศาล

4. ส่วนกรณีต้องเอาตัวนักโทษผู้ต้องขังออกจากเรือนจำไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพราะป่วยหนักขั้นวิกฤตและยังต้องรักษาต่อเนื่อง จะมีกฎหมายควบคุมเรื่องนี้ไว้อย่างรัดกุมและรอบคอบ นั่นคือประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 246 ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้

มาตรา 246

เมื่อจำเลย สามี ภริยา ญาติของจำเลย พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำ หรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุกร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำคุกก่อน จนกว่าเหตุอันควรทุเลาหมดไป ในกรณีต่อไปนี้

(1) เมื่อจำเลยวิกลจริต

(2) เมื่อเกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก

(3) ถ้าจำเลยมีครรภ์

4() ถ้าจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึงสามปี และจำเลยต้องเลี้ยงดูบุตรนั้น

ในระหว่างทุเลาการบังคับอยู่นั้นศาลจะมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวอยู่ในความควบคุมในสถานที่อันควรนอกจากเรือนจำ หรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายจำคุกก็ได้และให้ศาลกำหนดให้จากพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามคำสั่ง ฯ

ข้อเท็จจริง ในช่วงเวลาดังกล่าวมีนักโทษผู้ต้องขังรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลนอกเรือนจำอย่างต่อเนื่องเกิน 120 วันเพียงสามคน สองคนแรก เป็นผู้ป่วยจิตเวช อีกหนึ่งคนคือทักษิณ

นักโทษผู้ต้องขังสองคนที่ป่วยจิตเวช เรือนจำได้ปฏิบัติตาม ป.วิอาญา มาตรา 246 ยื่นคำร้องให้ศาลทราบเพื่อให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการจำคุก

ส่วนนักโทษผู้ต้องขังทักษิณ เรือนจำไม่ปฏิบัติตาม ป.วิอาญา มาตรา 246

ดังนั้น การเอาตัวนักโทษทักษิณออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพในคืนวันที่ 22 สิงหาคม 2566 จึงเป็นการเอาตัวออกจากเรือนจำ(คุก) โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไปตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 246

ส่วนการพักรักษาตัวอย่างต่อเนื่องถึง 181 วัน ก็เป็นการกระทำผิดกฎหมาย ผิดประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 246 เนื่องจากกรมราชทัณฑ์ไม่ยื่นคำร้องให้ศาลฎีกาฯ มีคำสั่งทุเลาการจำคุก เพราะการอยู่โรงพยาบาลตำรวจชั้นที่ 14 ไม่ถือถือว่าเป็นการจำคุกตามคำสั่งศาล เพราะศาลไม่เคยมีคำสั่งให้โรงพยาบาลตำรวจชั้น 14 มีสภาพทางกฎหมายเสมือนเรือนจำและราชทัณฑ์ก็ไม่ได้ยื่นคำร้องให้ศาลมีคำสั่งให้โรงพยาบาลตำรวจชั้น 14 มีสภาพทางกฎหมายเป็นเรือนจำ

สรุป เอาตัวนักโทษทักษิณออกจากเรือนจำก็ผิดกฎหมาย ให้นักโทษทักษิณอยู่โรงพยาบาลตำรวจชั้นที่ 14 ถึง 181 วันก็ผิดกฎหมาย เมื่อผิดกฎหมายก็ต้องทำให้ถูกกฎหมาย ก็ต้องเอาตัวทักษิณกลับไปติดคุกจริงๆ อีกครั้ง เพราะครั้งที่แล้วเป็นการติดคุกปลอมๆ

ส่วนต้มมาม่า ก็เป็นอาหารยอดฮิตชนิดหนึ่งของคนในคุก การซ้อมกินมาม่าที่ออกจากปากทักษิณก็มาจากจิตใต้สำนึกที่วิตกกังวลว่าอีกไม่นานตนเองต้องเข้าไปติดคุกจริงๆ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา

ดร.เสรี หวังศาลเป็นที่พึ่งปชช. ลุ้น 22 พ.ย. รับไม่รับคำร้อง ‘ทักษิณ-เพื่อไทย’ ล้มล้างฯ

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถูกสงสัยว่าป่วยทิพย์ ณ ห้อง VVIP ชั้น 14 โรงพ

รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง