"ภูมิธรรม" ตรวจเยี่ยม "หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด" ยืนยัน "กัมพูชา" ไม่เคลม และยอมรับว่าเป็นดินแดนไทย ขอให้กลุ่มการเมืองคำนึงถึงประโยชน์ชาติ ย้ำ เขตแดน อธิปไตย ไม่ใช่ของเล่น ชี้ กรณีที่ "ทักษิณ" เคยนั่งที่ปรึกษาเศรษฐกิจกัมพูชาไร้ปัญหา วอนอย่าปลุกทุกเรื่อง
9 พ.ย.2567 - นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม ตรวจเยี่ยมการปฎิบัติงานของกำลังพลหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมกล่าวให้โอวาทว่า มาตรวจเยี่ยมและดูความเป็นอยู่ของกำลังพลในพื้นที่ เพื่อให้สามารถปฎิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพเต็มที่ หากขาดเหลืออะไรขอให้แจ้งไปยังหน่วยที่เกี่่ยวข้อง สิ่งใดที่ดำเนินการแก้ไขได้ จะผลักดันเต็มที่
การเดินทางลงพื้นที่วันนี้ มายืนยันว่า เกาะกูดเป็นของประเทศไทย มีหน่วยงานราชการ ประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนถึงกำลังพลของกองทัพเรือที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ เพราะที่ผ่านมามีความเข้าใจผิดของคนบางกลุ่มในประเทศที่รู้สึกว่ามีปัญหาเอ็มโอยู 2544 ที่กัมพูชาลากเส้นมาและมีแนวเกาะกูดอยู่ตรงนั้นด้วย ถือเป็นการประกาศอ้างไหล่ทวีปขยายอาณาเขตตัวเองออกไปในปี 2515
ขณะที่ปี 2516 ไทยได้ประกาศไหล่ทวีปเส้นเขตแดนของเราเช่นกัน ทำให้มีเส้นทับซ้อนที่ต้องเจรจากัน โดยยึดกฎหมายระหว่างประเทศทางทะเล แต่ข อยืนยันได้ว่า พื้นที่ตรงนี้ยังเป็นของไทย และกัมพูชาไม่เคยพูดเรื่องนี้ และยอมรับโดยปริยาย ทั้งนี้มีการขีดเส้นที่เคยคุยกันในปี 2549 โดยเว้นเกาะกูดเอาไว้ เพียงแต่เราอยากให้เส้นนี้ขยายออกไปเพื่อให้เกิดความชัดเจน
นายภูมิธรรม ยังระบุว่า การเดินทางลงพื้นที่วันนี้ในฐานะรองนายกฝ่ายความมั่นคง และ รมว.กลาโหม พื้นที่นี้เป็นอธิปไตยของไทย มีกองทัพเรือรับผิดชอบทั้งบนบกและทะเล การลงพื้นที่เนื่องจากมีความไม่เข้าใจเอ็มโอยู44 และพื้นที่เกาะกูด หากมองไปรอบๆจะเห็นได้ว่าเกาะกูดมีธงชาติไทยอยู่บริเวณรอบๆ รวมถึงกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ใช้ป้องกันประเทศ
อีกทั้งความสัมพันธ์ตามแนวชายแดนทางผู้บังคับหน่วยระดับสูงของไทย-กัมพูชาไปมาหาสู่กัน ผลัดกันมาเยี่ยมเยือน และร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน พื้นที่ตรงนี้ไม่ได้มีอะไรวิกฤติหรือน่ากังวล ยืนยันว่าที่นี่มีความสงบสุข มั่นคงปลอดภัย
ทั้งนี้หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด นอกจากดูแลอธิปไตยประเทศแล้ว ยังทำหน้าที่ดูแลเหตุทางทะเล อีกทั้งประชาชนในพื้นที่ไม่มีปัญหาเรื่องการพิสูจน์สิทธิ์ หลายพื้นที่เป็นเขต อุทยานพิสูจน์สิทธิ์ได้พอสมควรแล้ว อาจต้องเร่งคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติ เพื่อใช้ วันแมพ ซึ่งมีความคืบหน้ามาตามลำดับ โดยได้มีการประชุมเพิ่มงบประมาณส่งเสริมให้กรมแผนที่ทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเรื่องนี้ให้สำเร็จเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ส่วนจะต้องปรับปรุงเอ็มโอยู 44 หรือเปลี่ยนใหม่เพราะแม้จะผ่านมาหลายปีแล้วการเจรจาไม่สำเร็จนั้น ย้ำว่า เอ็มโอยู44 ไม่ได้พูดถึงผลประโยชน์อะไร เพียงแต่ระบุว่ามีพื้นที่ทับซ้อนที่อยู่ในกฎหมายทะเล และเอ็มโอยู44 ขอให้มาดำเนินการในเรื่องที่ยังตกลงกันไม่ได้อย่างสันติ
เวลาจะผ่านไปกี่ปี เอ็มโอยู44 ก็เป็นกลไกที่สำคัญ ทั้งกองทัพ กระทรวงต่างประเทศ กรมสนธิสัญญา เห็นตรงกันว่ากลไกนี้มีความสำคัญ แม้แต่นายกษิต ภิรมณ์ อดีต รมว.ต่างประเทศ อดีตทหารเรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เคยเป็นประธานคณะกรรมการร่วมเทคนิคฝ่ายไทย สะท้อนให้เห็นว่าเรื่องนี้เดินหน้าต่อเนื่องมาในทุกรัฐบาล
กรณียุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกษิตพูดชัดเจนว่า ไม่ใช่เพราะเอ็มโอยู 44 ไม่มีประโยชน์ เพียงแต่ขณะนั้น รัฐบาลไม่พอใจสมเด็จฮุนเซน นายกฯกัมพูชา แทรกแซงหรือไม่ จึงแสดงออกด้วยการตอบโต้ ไม่มีผลอะไร เพราะไม่ได้เข้าสภา หรือยกเลิก และทางกัมพูกชาไม่ได้ยกเลิกด้วย
มาถึงยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ดำเนินการต่อ เรื่องนี้หากใช้วิจารณญาณให้ครบถ้วนจะเห็นได้ว่าไม่มีปัญหาอะไร โดยกังวลเรื่องเดียวอย่าให้เอาผลประโยชน์ของพรรคการเมืองที่กำลังต่อสู้กัน หรือ แสดงออกด้วยกันกระทบผลประโยชน์ประเทศชาติ เพราะเรื่องอธิปไตยหรือเขตแดนไม่ใช่ของเล่นเฉพาะคนบางส่วน อยากให้คำนึงผลประโยชน์คนไทยเป็นสำคัญ
นายภูมิธรรม ย้ำถึงการลงพื้นที่เกาะกูดท่ามกลางการต่อต้านของฝ่ายการเมืองและครบางกลุ่มว่า ไม่ใช่การฝ่ากระแส แต่ในฐานะจะเป็นผู้รับผิดชอบการแบ่งผลประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ควรมาดูพื้นที่ที่จะเจรจากันเท่านั้นเอง และมีภารกิจเยี่ยมกำลังพลอยู่แล้ว ถือโอกาสนี้ ส่วนการตั้งคณะกรรมการร่วมเทคนิคฝ่ายไทย (JTC) เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ตามที่นายกฯได้ระบุไปแล้ว ขณะนี้นายกฯไปปฎิบัติราชการต่างประเทศ แต่ระหว่างนี้ทางกรมสนธิสัญญา กระทรวงต่างประเทศนำร่างเดิมมาดูแล้วปัดฝุ่น ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการโดยตำแหน่งเกี่ยวข้องเขตแดน กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายทะเล แต่พยายามให้เพิ่มสำนักงานกฤษฎีกา อัยการสูงสุด สภาพัฒน์ ครอบคลุมมากขึ้น จะได้ไม่รู้สึกว่ากระทำเพื่อคนกลุ่มหนึ่ง รัฐบาลแคร์เรื่องนี้ ไม่ต้องห่วง
ส่วนกรณีสมเด็จฮุนเซน เคยแต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจกัมพูชานั้น เรื่องนี้ไม่มีปัญหา คิดว่าจากการสำรวจเสียงต่อต้านที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการเมืองที่ต่อสู้กันมา กรณีนายทักษิณ เกือบ 20 ปีมาแล้วที่ได้รับการแต่งตั้ง และนายทักษิณยังเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจประเทศอื่นด้วย ไม่ใช่เฉพาะกัมพูชา เพราะเห็นว่านายทักษิณประสบความสำเร็จแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หลายประเทศเชิญไป แต่ประเด็นนี้ไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นปัญหา และจบภารกิจไปแล้ว เรื่องธรรมดา อย่ากังวลและไปปลุกกันมาทุกเรื่อง
ส่วนนายกฯแพทองธารจะเดินมางมาเกาะกูดหรือไม่นั้น คงต้องสอบถามนายกฯอีกครั้ง เพราะภารกิจมีมาก หากมาได้ ท่านคงมา แต่อย่างน้อยในฐานะคณะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้ว การเดินทางลงพื้นที่ครั้งนี้ ก็เหมือนตัวแทน ครม. ทั้งคณะอยู่แล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กมธ.มั่นคงฯ ขอดูลาดเลาปม MOU44 ให้รอบด้าน
'กมธ.มั่นคง' ขอฟังข้อมูลปม MOU 44 รอบด้าน หลังหลายฝ่ายมีความเห็นต่าง 'โรม' ยันยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก เล็งใช้กลไกสภาเดินหน้าตรวสอบ เหตุเรื่องรื้อรังมานาน
ต้องอ่าน! เทพมนตรีออก 'บทวิเคราะห์ MOU44'
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา
ทร. เตรียมจัดเสวนาเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเล ปม MOU 44 หวังสื่อสารให้สังคมเข้าใจ
พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี เมื่อถามว่า อดีต ผบ.ทร. ได้ฝากถึงกรณี MOU 44
ระดมพลคนคลั่งชาติ ศุกร์ที่ 22 พ.ย.นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล ยื่นแสนชื่อค้าน MOU44
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า ระดมพลคนคลั่งชาติ เราจะปล่อยให้รัฐบาลพูดไม่จริงเรื่องmou44 อีกนานแค่ไหน
1แสนชื่อจี้นายกฯเลิกMOU44
“ภูมิธรรม” ลั่้นไม่มีใครเลิกเอ็มโอยู 44 ได้ ไม่ว่าประชาชนหรือสภาฯ
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !