'ดร.ณัฏฐ์' มือกฎหมายมหาชน ชำแหละ ที่ดินเขากระโดง

"ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชำแหละ ที่ดินเขากระโดง แผนที่ท้าย พรฎ.ไม่ยืนยันแนวเขต เปิดช่องให้อธิบดีกรมที่ดินประวิงเวลา มติวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการสอบสวนฯ ไม่เพิกถอนที่ดินเขากระโดง เป็นเพียงคำสั่งทางปกครอง ยังไม่เป็นที่สุด 
 
7 พ.ย.2567 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชนคนดัง กล่าวถึงกรณี "ที่ดินเขากระโดง" ว่า กรณีที่ดินเอกสารสิทธิทับที่ดินเขากระโดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นมหากาพย์ที่ยาวนาน ประชาชนอาจสับสนว่า คำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ขัดแย้งกันหรือไม่อย่างไร และมติที่คณะกรรมการสอบสวนฯ ของกรมที่ดินที่ตั้งคณะกรรมการหยิบมาพิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท. มติดังกล่าวมีผลทางกฎหมายเพียงใด 
 
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าตนให้ความรู้ด้านกฎหมายมหาชนให้แก่ประชาชนอีกแง่มุมหนึ่งว่า มติคณะกรรมการสอบสวนที่กรมที่ดินใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินตั้งขึ้นมาตามมาตรา 61 เป็นการที่อธิบดีกรมที่ดินใช้อำนาจตามกฎหมายในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อพิจารณาเพิกถอนที่ดินตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางหรือไม่ คำวินิจฉัยไม่เพิกถอน เป็นเพียงคณะกรรมการสอบสวนฯวินิจฉัยเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายมีผลกระทบต่อสถานภาพสิทธิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย ถือว่า เป็นคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 5 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสอบสวนที่ดินมีผลกระทบต่อการรถไฟ ยังไม่เป็นที่สุด หากการรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นว่ามติของคณะกรรมการสอบสวนฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมใช้สิทธิฟ้องต่อศาลปกครองภายใน 90 วันนับแต่ได้รับทราบผลมติวินิจฉัยของคณะกรรมการสอบสวนฯของชุดที่กรมที่ดินตั้งขึ้น เพื่อเพิกถอนคำสั่งทางปกกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง(1) ประกอบมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 หากไม่ฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง กระบวนการขอให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยสิ้นสุดทันที 
 
 
ส่วนคำพิพากษาของศาลยุติธรรม กับคำพิพากษาศาลปกครอง ในประเทศไทยใช้ระบบศาลคู่ ศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นโดยผลของรัฐธรรมนูญ 2540 ผลคำพิพากษาของทั้งสองศาล แยกต่างหากจากกัน ประชาชนอาจสับสวน คำพิพากษาศาลยุติธรรม คือ คำพิพากษาของศาลฎีกา ถือเป็นศาลสูงสุด หากเป็นคดีแพ่ง คำพิพากษาย่อมมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีและต้องบังคับตามคำพิพากษา  
           
นักกฎกมายมหาชน กล่าวว่าส่วนคำพิพากษาศาลปกครอง นั้น เป็นเรื่องระหว่างหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชน หรือหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน พิพาทกัน คดีที่จะใช้สิทธิฟ้องศาลปกครอง แยกเป็น 4 กลุ่ม คือ คำสั่งทางปกครอง การกระทำทางปกครอง การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ และสัญญาทางปกครอง  เป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง 
 
"คำพิพากษาทั้งสองศาล ต้องแยกต่างหากจากกัน เพราะคู่ความแตกต่างกัน มีผลเฉพาะคู่ความเท่านั้น แตกต่างจากศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 วรรคสี่ แห่งรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาด ผู้กพันทุกองค์กร" ดร.ณัฐวุฒิ ระบุและว่าคำพิพากษาของศาลปกครอง ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ถือตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรม มีเพียงศาลยุติธรรมในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือตามคำพิพากษาส่วนอาญาเท่านั้นและมีผลเฉพาะคู่ความ 
           
ดร.ณัฐวุฒิ อธิบายว่า กรณีที่ดินออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือที่เรียกว่า คดีเขากระโดงหากพิจารณาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842 – 876 /2560 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คดีหมายเลขดำที่ 111/2563 คดีหมายเลขแดงที่ 1112/2563 ได้วินิจฉัยไว้อย่างชัดแจ้งว่า ที่ดินตามแผนที่แสดงเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 เป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 เมื่อกรมรถไฟแผ่นดินใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยการก่อสร้างทางรถไฟเข้าไปลำเลียงหินที่บริเวณเขากระโดง จึงถือได้ว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย
 
โดยมีข้อเท็จจริงว่า ที่ดินบริเวณทางแยกเขากระโดง ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของการรถไฟที่ได้มาตาม พ.ร.บ.จัดวางการรถไฟแลทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 และถือเป็นที่ดินของรัฐประเภทหนึ่ง กรมที่ดิน จึงมีหน้าที่ในการคุ้มครองและป้องกันที่ดินบริเวณดังกล่าวตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดินกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2557 ประกอบกับ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่มีผลเกี่ยวเนื่องจากคำพิพากษาศาลฎีกาทั้ง 2 คดีดังกล่าวว่า อธิบดีกรมที่ดิน ได้มีคำสั่งกรมที่ดิน ที่ 2992/2564 ลงวันที่ 11 พ.ย.2564 แก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ข.) เลขที่ 200 หมู่ที่ 9 (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 13) ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8027/2561 และสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการยกเลิกใบไต่สวน พร้อมจำหน่าย ส.ค.1 เลขที่ 209 หมู่ที่ 1 ต.อิสาณ อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดิน และยกเลิกเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินจำนวน 40 ฉบับของประชาชนจำนวน 35 ราย ตามผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-876/2560 รวมทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 3  ได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดบุรีรัมย์ และเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 206 ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งที่ดินทั้งหมดข้างต้นเกิดขึ้นในพื้นที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวอ้างว่า เป็นการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินทับซ้อนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย แม้ในคำพิพากษาของศาลฎีกาทั้ง 2 คดี และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3  จะไม่ได้วินิจฉัยให้เพิกถอนที่ดินแปลงอื่นๆนอกเหนือจากที่ปรากฎเป็นข้อพิพาทในคดีก็ตาม แต่คำพิพากษาดังกล่าวก็ได้วินิจฉัยอย่างชัดแจ้งถึง ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดี (รฟท.) จึงสามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ เว้นแต่ บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า 
 
"ตรงนี้แหละที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้หยิบเอาผลของคำพิพากษาศาลฎีกา มาร้องขอให้อธิบดีกรมที่ดิน เพื่อดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิแสดงกรรมสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณแยกเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ จำนวน 995 ฉบับ" 
            
นักฎหมายมหาชน กล่าวอีกว่า หากพิจารณาจากกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2557 ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 2 ว่า ให้กรมที่ดินมีภารกิจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในที่ดินของบุคคลและจัดการที่ดินของรัฐ...
 
จากข้อกำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าว เห็นได้ว่า กรมที่ดิน มีภารกิจหน้าที่ในการคุ้มครอง ดูแลและรักษาที่ดินของรัฐทุกประเภท และอธิบดีกรมที่ดิน ในฐานะผู้บังคับบัญชา ก็ย่อมมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้กรมที่ดิน ให้สำเร็จลุล่วงตามภารกิจที่ถูกกำหนดไว้  
           
การรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้ช่องทางนี้ ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยอ้างว่า กรมที่ดิน หน่วยงานของรัฐ อธิบดีกรมที่ดิน เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตาม พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) 
            
หากพิจารณาจาก คำพิพากษาศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 วินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง (กรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดิน) ละเลยต่อหน้าที่ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมีหน้าที่ในการดำเนินการมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อพิจารณาตามคำร้องขอของผู้ฟ้องคดี (รฟท.) เพื่อตรวจสอบถึงความถูกต้องในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินบริเวณที่พิพาทว่าเป็นการออกโดยทับซ้อนกับที่ดินของผู้ฟ้องคดีหรือไม่
 
คำวินิจฉัยศาลปกครองกลาง ตรงนี้  เป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่ดินเขากระโดง นำไปสู่มติไม่เพิกถอน อ้างความไม่ชัดเจนของเอกสารสิทธิ์ หมายความว่า อธิบดีกรมที่ดิน ปฎิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางแล้ว เมื่อตั้งคณะกรรมการสอบสวนฯ ทำให้เกิดคำสั่งทางปกครอง ฉบับใหม่เกิดขึ้น การโยนภาระการพิสูจน์เอกสารสิทธิ์ เป็นภาระของการรถไฟ เพราะเพิกถอนทีดินที่อยู่นอกเหนือคำพิพากษาของศาลฎีกาด้วย และแผนที่ ท้าย พรฎ.การจัดซื้อที่ดินฯ ไม่มียืนยันแน่ชัด โดยเปิดช่อง ให้คณะกรรมการสอบสวนฯใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นได้ เพราะเป็นคำสั่งทางปกครอง ที่เกิดขึ้นใหม่   ไม่ขัดกับคำพิพากษาศาลฎีกาและไม่ขัดต่อคำพิพากษาศาลปกครองกลาง เพราะคำพิพากษาไม่ได้บังคับให้เพิกถอน แต่ไปออกช่องให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้เปิดช่องให้ คดีกลับไปสู่สารตั้งต้นในการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินใหม่  
 
เมื่อถามว่า มติของคณะกรรมการสอบสวนฯ กรมที่ดิน มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดง เนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐาน เป็นที่ข้อยุติว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของ รฟท.ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลฎีกาหรือไม่  ดร.ณัฐวุฒิ นักกฎหมายมหาชนคนดัง กล่าวว่าคำวินิจฉัยชี้ขาดของมติคณะกรรมการสอบสวนฯ กรมที่ดิน เป็นคำสั่งทางปกครองใหม่ที่เกิดขึ้น แยกต่างหากจากคำพิพากษาศาลฎีกาและคำพิพากษาศาลปกครองกลาง  สะท้อนให้เกิดแตกเป็นคดีใหม่  คดีเดิมยังทำอะไรไม่ได้ เป็นการประวิงเวลา 
 
อีกประการหนึ่งเปิดช่องมิให้ อธิบดีกรมที่ดิน หรือ เจ้าหน้าที่ที่ดินที่เกี่ยวข้องมิให้ถูก ดำเนินคดีอาญามาตรา 157 โดยอ้างว่า ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางแล้ว แต่มติคณะกรรมการสอบสวนไม่เพิกถอน เป็นคำสั่งทางปกกครองใหม่เกิดขึ้น ยังเพิกถอนเอกสารนสิทธิ์ไม่ได้ 
 
ดร.ณัฐวุฒิ  กล่าวว่า แต่หากพิจารณาถึงประเด็นแนวทาต่อสู้ เป็นจุดอ่อนของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยคำพิพากษาระบุตอนหนึ่งว่า มีหนังสือกรมที่ดิน ลับ ที่ มท 0516.2/15572 ลงวันที่ 27 ก.ค.2564 ขอให้การรถไฟ ชี้แจงว่า แผนที่แสดงเขตที่ดินของการรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมา ถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375+650 เป็นแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ลงวันที่ 27 พ.ย.2465 หรือไม่  มีหนังสือการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ รฟ 1/2281/2564 ลงวันที่ 20 ส.ค.2564 แจ้งตอบผู้กรมที่ดิน ว่า ผู้ฟ้องคดี (รฟท.) ไม่มีแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯ  มีเพียงแผนที่แสดงเขตที่ดินของการรถไฟแผ่นดินสายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง ซึ่งเป็นเอกสารที่ยื่นในคดีพิพาทต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรมที่ดิน) ใช้อำนาจตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรมที่ดิน) จึงมีหนังสือกรมที่ดิน ลับ ที่ มท 0516.2 ลงวันที่ 27 ก.ย.2564 แจ้งให้ผู้ฟ้องคดี(รฟท.)นำส่งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ หรือนำครอบแผนที่อีกครั้ง พร้อมทั้งแจ้งว่า คำพิพากษาของศาลฎีกาทั้ง 2 คดีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้าง ไม่ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแต่อย่างใด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่สามารถดำเนินการแก้ไขหรือเพิกถอนตามมาตรา 61 วรรคแปด แห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้..” การตอบคำถามโดยยืนยันข้อเท็จจริง เป็นการเปิดช่องในเรื่อง แผนที่ที่ดิน เป็นภาระการพิสูจน์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะฟ้องให้อธิบดีกรมที่ดิน ฟ้องเพิกถอนทั้งหมด นอกเหนือที่ปรากฏในคำพิพาษาของศาลฎีกาทั้งฉบับและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หนึ่งฉบับ คือ ฟ้องเหมารวมทั้งทั้งหมด แต่คำพิพากษาของศาลฎีกาผูกพันเฉพาะคู่ความที่ศาลให้เพิกถอนเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมถึงบุคคลอื่นที่ถือครองและไม่ใช่เป็นบริวารของคู่ความ  ดังนั้น ที่อธิบกรมที่ดิน หยิบเอา “แผนที่ท้ายตามพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟแผ่นดินจัดสร้าง ลงวันที่ 27 พ.ย.2465 ” มาหักล้าง ทำให้คณะกรรมการสอบสวน หยิบมาพิจารณาเปิดช่องใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นได้
 
"เป็นเพียงเทคนิคทางกฎหมายมหาชนในคดีปกกครอง ในการใช้คำสั่งทางปกครอง ประวิงเวลาในการพิเพิกกถอน ไม่ต่างจากจะต้องเริ่มฟ้องใหม่ เพราะคำพิพากษาคดีแพ่งผู้กพันเฉพาะคู่ความ ไม่ได้เหมารวมถึงที่ดินแปลงอื่น  เปิดช่องประวิงให้ประวิงเวลา หากใช้เวลาฟ้องเพิกถอนคำสั่งใหม่ ต้องใช้ระยะเวลานาน ส่งผลให้กลุ่มพรรคพวกของหมอผี บุรีรัมย์ ที่กุมอำนาจเสร็จเด็ดขาดในกระทรวงมหาดไทยขณะนี้  ใช้ประโยชน์ในที่ดินเขากระโดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐอีกนาน" ดร.ณัฐวุฒิ ระบุ 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จนท.หลายภาคส่วน ลงพื้นที่ตรวจสอบ แม่สร้างห้องกรงในบ้าน รอขังลูกทาสยา

นายวรพนธ์ หิรัญรัตนา พนักงานอัยการจังหวัดนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมด้วยนายชัยสิทธิ์ สูงเนิน ผอ.คุมประพฤตินางรอง , นางรัชนีกร สวัสดิ์พูน ปลัดอาวุโส รักษาราชการนายอำเภอนางร

'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

จ่อออกหมายเรียก 'เท้าแชร์กิ๊ฟซี่' โกงเหยื่อ 66 ราย เสียหาย 15 ล้าน

ร.ต.อ.พนัส โกรดประโคน รอง สว.(สอบสวน) สภ.บ้านกรวด ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างสอบปากคำผู้เสียหาย และรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

สรุป'พีที กรังปรีซ์ฯ2024' สร้างเงินหมุนเวียนในบุรีรัมย์-อื่นๆ ประมาณ4,759 ล้าน

สรุปผลกระทบทางเศรษฐกิจ (สร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ) PT Grand Prix of Thailand 2024 ระหว่างวันที่ 25 – 27 ต.ค. 67 ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต

'ก้อง'บิดแซงสุดระห่ำ ออกสตาร์ทที่13จบอันดับ4 ศึก'ไทยจีพี 2024'บุรีรัมย์

“ก้อง” สมเกียรติ จันทรา ยอดนักบิดขวัญใจชาวไทยจากโครงการ “ฮอนด้า เรซ ทู เดอะ ดรีม” สวมหัวใจ “พยัคฆ์คำราม” ลงบิดโฮมเรซต่อหน้าแฟนๆ ชาวไทยที่ร่วมส่งกำลังใจเชียร์ บู๊ไล่แซงสุดโหดจากกริด 13 ทะยานคว้าอันดับ 4 หลังเกิดธงแดง 2 รอบสุดท้าย ในศึก โมโตทู เวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ 2024 สนาม 18 รายการ พีที กรังด์ปรีซ์ ออฟ ไทยแลนด์ ท่ามกลางเสียงเชียร์กระหึ่มก้อง สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์

'ไทยจีพี'เปิดฉากสุดโหด ทุบสถิติสนามช้างฯทุกรุ่น 'มาร์เกซ'เร็วสุด'พรีเมียร์คลาส'

ทัพนักบิดระดับพระกาฬของโลกพร้อมหน้า ประเดิมลงสนามวันแรก ต่อหน้าแฟนความเร็วชาวไทยที่ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ในศึก โมโตจีพี สนาม 18 ในศึก PT Grand Prix of Thailand 2024 พร้อมโชว์ความเร็วสุดโหดทุบสถิติทุกรุ่น “มาร์ค มาร์เกซ” แชมป์โลก 8 สมัยชาวสแปนิชจาก เกรซินี เรซซิ่ง รั้งจ่าฝูงในรุ่นใหญ่ ส่วน ขณะ “แอรอน คาเน็ต” รั้งหัวแถว โมโตทู ด้าน “ก้อง” สมเกียรติ จันทรา นักบิดไทย รั้งอันดับ 14 ส่วนรุ่น โมโตทรี เป็น “ดาวิด อลอนโซ” แชมป์โลกคนใหม่ถอดด้ามครองหัวแถว