จี้รัฐบาลยื่นข้อเสนอให้กัมพูชายอมรับแผนที่ UNCLOS เพื่อยุติปัญหาพื้นที่ทับซ้อนโดยเร็ว

6 พ.ย.2567- ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ แผนที่ UNCLOS ช่วยยุติพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา มีเนื้อหาดังนี้่

สาเหตุสำคัญที่ต้องหยิบ UNCLOS ขึ้นมาเป็นบรรทัดฐาน เพราะ UNCLOS ได้ช่วยสร้างแผนที่ทางทะเลของแต่ละประเทศอันมีความเป็นสากลและสามารถสืบค้นได้โดยทั่วไป เท่ากับว่าปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาได้กลายเป็นเรื่องที่ล้าหลังไปเสียแล้ว เส้นเขตแดนทางทะเลของ UNCLOS สามารถช่วยคลี่คลายปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลได้อย่างสันติ ปัญหาที่กินเวลายาวนานจะจบลงทันทีหากกัมพูชายอมรับแล้วลงสัตยาบันเข้าร่วม UNCLOS ในที่สุด

ทางด้าน ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชา ได้เคยระบุไว้ว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วม UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส จะเห็นได้ว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่ยอมเสียเปรียบประเทศไทยอย่างชัดเจน จึงเป็นหน้าที่สำคัญของรัฐบาลไทยเช่นเดียวกันที่จำเป็นต้องไม่ยอมเสียเปรียบใดๆ ให้กับทางกัมพูชา

เมื่อกรอบกติกาของ UNCLOS เป็นหลักสากลที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก โปร่งใส และมีความเป็นธรรม โดย UNCLOS น่าจะทำให้ประเทศไทยได้เปรียบมากกว่าข้อพิพาทในอดีตตาม MOU 2544 รัฐบาลไทยจึงควรยึดประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ไม่ควรเดินตาม MOU 2544 ที่อยู่กับสมมติฐานการแบ่งเขตแดนทางทะเลที่ล้าหลัง แถมกัมพูชายังน่าจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ รัฐบาลไทยควรต้องยื่นข้อเสนอให้กัมพูชายอมรับแผนที่ UNCLOS เพื่อยุติปัญหาพื้นที่ทับซ้อนโดยเร็ว

ส่วนการกำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา (Joint Development Area : JDA) ต้องเกิดขึ้นภายหลังทั้งสองประเทศยอมรับเส้นเขตแดนทางทะเลของ UNCLOS เรียบร้อยแล้ว จึงค่อยนำข้อมูลการสำรวจน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติมาดูว่ามีหลุมน้ำมันดิบหรือหลุมก๊าซธรรมชาติหลุมใดบ้างที่คร่อมเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ก็จะสามารถกำหนดพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาที่เป็นธรรมได้ ยิ่งในปัจจุบันที่มีวิทยาการซึ่งทันสมัยกว่าเดิมมาก

ทรัพยากรของชาติเป็นของปวงชนชาวไทย รัฐบาลไทยจึงควรตระหนักอย่างยิ่งถึงที่สุด ในการคัดเลือกแนวทางการเจรจาที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุด เมื่อแผนที่ UNCLOS ได้ระบุเส้นเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศไว้แล้ว การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนก็ไม่น่าจะมีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะแผนที่ UNCLOS ได้กำหนดเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone : EEZ) ไว้อย่างชัดเจน ที่สำคัญพื้นที่พิพาทเดิมส่วนใหญ่น่าจะตกเป็นของไทย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดเหตุผล นายกฯกัมพูชา กล้าประกาศว่าจะได้พื้นที่จากฝ่ายไทยมากขึ้นกว่าเดิม

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง แผนที่เขมรที่เตรียมใช้สู้ในศาลโลกรอบใหม่ มีเนื้อหาดังนี้

'จตุพร' ลั่นถ้ามั่นใจก็แบ่งประโยชน์ 50:50 เลย เชื่อ 'กิตติรัตน์' วืดเข้าครม. รัฐบาลลังเล

'จตุพร' ท้าอำนาจเอาแต่ได้ ลั่นถ้ามั่นใจก็แบ่งประโยชน์ 50:50 เลย เอาตามลูกพี่สบายใจ แล้วจะได้วัดกัน ส่วน 'กิตติรัตน์' วืดเข้าครม. เชื่อรัฐบาลลังเล หวั่นเป็นปัญหาหัวเชื้อคนค้านขย่ม แม้กฤษฎีการะบุคุณสมบัติไม่เข้าข่ายข้าราชการการเมือง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะใช้อ้างในศาล รธน.จะชนะทุกกรณีไป

‘ปานเทพ’ ถามพื้นที่ด้านใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ  MOU44 ขัดพระบรมราชโองการหรือไม่

แผนที่กรอบการเจรจาตกลงกันตาม MOU2544 จึงย่อมขัดต่อแผนที่พระบรมราชโองการด้านซ้าย เมื่อไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ย่อมต้องเป็นโมฆะหรือไม่