'จตุพร' ฟาดกลับรัฐบาลตกลงผลประโยชน์เชฟรอนก่อนเจรจาเขตแดน สุ่มเสี่ยงสูญเสียดินแดน

'จตุพร' เย้ยรัฐบาล แค่เสียงทักท้วงกลับแตกตื่น ออกอาการหวั่นวิตกชะตากรรมใกล้มาถึง ส่งพรรคร่วมรวมพลการันตีเกาะกูดของไทย ฟาดกลับทุกคนรู้ ไม่ได้บ้า เตือนปัญหาอยู่กับการไปตกลงผลประโยชน์เชฟรอนก่อนเจรจาเขตแดน เชื่อสุ่มเสี่ยงสูญเสียดินแดน ย้ำโปร่งใสต้องกางสัญญาสัมปทานเชฟรอน 50 ปี

6 พ.ย.2567- นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ถึงรัฐบาลปลุกปั่นโยง MOU 44 และการเจรจาผลประโยชน์แหล่งพลังงานกับกัมพูชา เพราะต้องการล้มรัฐบาลอุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร

“ไม่มีใครปลุกม็อบล้มคุณหรอก คุณนะปลุกม็อบขึ้นมาเอง แต่ที่สำคัญคือ วันนี้ มันจะเร่งเจรจาหาอะไรกัน ขณะที่คุณใช้เวลา 2 สัปดาห์ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเจรจา แล้วไม่คิดจะเจรจาสัมปทานกับเชฟรอนบ้างเลยเหรอ อะไรไปอุดปากอยู่”

นายจตุพร กล่าวว่า การพูดถึงปัญหาเกาะกูดและยอมรับว่าเป็นของไทยนั้น เพราะเป็นผลมาจากการแสดงวิสัยทัศน์ไทยแลนด์วิชั่น 2024 เมื่อ 22 ส.ค. 2567 ของทักษิณ ชินวัตร ได้เสนอมุมมองถึง 14 ประเด็น แล้วถูกบรรจุไว้เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลอุ๊งอิ๊งถึง 11 ประเด็น ซึ่งการเจรจาผลประโยชน์แหล่งพลังงานทับซ้อนใต้ทะเลกับกัมพูชาก็เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนด้วย

อย่างไรก็ตาม ทุกวาระนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ล้วนไม่ได้เป็นวาระแห่งชาติ แต่เป็นวาระเร่งด่วนของผลประโยชน์ทับซ้อนหรือส่อไปในทางทุจริตเชิงนโยบาย โดยไม่สนใจจะเกิดผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร

“วันนี้รัฐบาลอย่างมาอวดรู้อธิบายเกาะกูดเป็นของไทย ซึ่งคนไทยไม่บ้าก็รู้ดีว่าเกาะกูดเป็นของไทยมาตั้งแต่ลงนามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสในยุคล่าอาณานิคมอินโดจีน ส่วนการอธิบายย้ำกันต่อเนื่องเพื่อเตือนสติอย่าได้ชะล่าใจเหมือนการเสียปราสาทพระวิหารที่รัฐบาลบอกมาตลอดตั้งแต่สมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยืนยันว่าเป็นของไทย แต่กลับแพ้คดีในศาลโลก แล้วตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชาไปแล้วในปี 2505

“การเรียกร้องในปัญหาเกาะกูดเพื่อต้องการให้ตกลงเรื่องเขตแดนให้จบเสียก่อน เพราะเขตแดนไทยกับกัมพูชาขีดเส้นอาณาเขตไม่เหมือนกัน ถ้าจะไปตกลงผลประโยชน์ก่อนจะเกี่ยวพันมาลุกล้ำเรื่องดินแดนได้ ดังนั้นถ้าเจรจาในเรื่องดินแดนไม่จบ ต้องไม่ตกลงในเรื่องผลประโยชน์แหล่งพลังงาน”

อีกทั้งกระตุ้นรัฐบาลว่า ทำไมไม่นำสัญญาสัมปทานพลังงานให้เชฟรอนมาเปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ สิ่งสำคัญต้องยกเลิกสัญญาที่ไทยไม่ได้ประโยชน์นี้ไปด้วยเพราะล้าสมัย อีกอย่างผลประโยชน์และภูมิรัฐศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงไป เกิดปัญหาระหว่างประเทศ ดังนั้น สัญญาสัมปทานพลังงานให้เชฟรอนจะชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน จนไทยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดนได้

นายจตุพร กล่าวว่า การเอาพลังงานขึ้นมาก่อนยุติปัญหาดินแดน แล้วผลประโยชน์ขาติอยู่ตรงไหน อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้นักการเมืองรู้ถึงผลประโยชน์นอกงบประมาณกันทั้งนั้น บรรดาเสือหิวทั้งหลายที่จ้องงับผลประโยชน์ชาติ โดยไม่คิดว่าชาติจะไปสุ่มเสี่ยงอะไร อีกอย่างคนไทยแทบไม่ได้อะไรเลย แต่ได้แค่ภาคหลวงจากแหล่งพลังงานทับซ้อน

สิ่งสำคัญเราไม่ต้องการเอาเปรียบกัมพูชา ขณะเดียวกันเราก็ไม่ต้องการเสียเปรียบด้วย เราอยากให้ได้ผลประโยชน์เสมอเท่าเทียมกัน จึงต้องพิสูจน์เขตแดนเป็นของใครให้ชัดเจนก่อน ส่วนเขตแดนทับซ้อน ยุติไม่ได้ก็หยุดไว้ก่อน ไม่ควรรีบเร่งตกลงกัน อีกอย่างเมื่อถูกทักท้วงก็บอกจะล้มรัฐบาล แต่สิ่งที่คุณทำนั้น เป็นการล้มตัวเองทั้งสิ้น

“เรื่องล้มรัฐบาลมีเรื่องอื่นอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับเกาะกูดและการเจรจาหาประโยชน์แหล่งพลังงานกับกัมพูชา เพราะเรื่องนี้มีผลประโยชน์ทับซ้อน ส่อแววเป็นผลประโยชน์เชิงนโยบาย และสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดนในอนาคต"นายจตุพร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บี้ตัวแทนครม.ตอบเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ไม่เจรจาเขตแดนทางทะเล คนไทยได้ประโยชน์ตรงไหน

นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า นายกและตัวแทนครม ที่จะตั้งคณะไปเจรจาตามMOU2544 ช่วยตอบคำถามง่ายๆ ตามแผนที่พลังงานในอ่าวไทย

'มาริษ' ยันเจรจาพื้นที่ทับซ้อน กต.จะทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพสูงสุด!

รมว.กต.ยืนยันผลการเจรจาเพื่อใช้ประโยชน์ปิโตรเลียมในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนไทย-กัมพูชา ประชาชนไทยต้องเห็นชอบก่อน - ย้ำผลประโยชน์ต้องเป็นของประชาชน – ชี้ MOU44 เป็นกลไกทำให้การเจรจาเดินหน้าได้

เปิดเรื่องลับทำไมยุค 3 ป. เจรจากับกัมพูชาตามกรอบ MOU 44 เพียงครั้งเดียวแล้วเลิกคุย

นายไทกร พลสุวรรณ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ เรื่องลับจาก 3 ป. มีเนื้อหาดังนี้

แฉแผน ผลประโยชน์ทับซ้อน 'ทักษิณ' เคยเป็นที่ปรึกษานายกฯกัมพูชา ที่มีข้อพิพาททางทะเล

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กกรณี คณะรัฐมนตรี (ครม.) เตรียมแต่งตั้งนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็น ประธานคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา (JTC) ว่า

'ปานเทพ' ชำแหละ กต. บังอาจแถลง MOU 44 ตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาล 9

นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9? มีเนื้อหาดังนี้

นายกฯ คาดไม่เกิน 2 สัปดาห์ ชง ครม. ตั้งทีม JTC เจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค หรือ JTC เพื่อพูดคุยกับทางกัมพูชา เกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนแล้วหรือยัง ว่า วันนี้ยังไม่มีเรื่องนี้ในที่ประชุมครม. แต่คิดว่าเรื่องนี้ไม่น่าเกิน 2 สัปดาห์ คงเข้าคณะรัฐมนตรี