6 พ.ย.2567- นายไทกร พลสุวรรณ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ เรื่องลับจาก 3 ป. มีเนื้อหาดังนี้
ทำไมรัฐบาลประยุทธ์จึงไม่ยอมเจรจากับกัมพูชาตามกรอบ MOU 44 ?
เหตุ เสียทั้งทะเล เสียทั้งเกาะ
หลังพรรคพลังประชารัฐเสนอให้ยกเลิก MOU 44 นายภูมิธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โยนให้สมาชิกพรรคพลังประชารัฐกลับไปถาม พล.อ.ประวิตร เรื่องเจรจากับกัมพูชาตาม MOU 44 ว่าเจรจาอย่างไร?
จุดเริ่มต้นของปัญหาเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา
- ปี 1970(2513) นายพลลอนนอน ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากกษัตริย์สีหนุ สถาปนาสาธารณรัฐกัมพูชา และตั้งตนเองเป็นประธานาธิบดีของกัมพูชา ชาวกัมพูชาจึงต่อต้านนายพลลอนนอนอย่างหนัก เพื่อสร้างกระแสความนิยมให้กับตนเอง นายพลลอนนอน จึงใช้สาเหตุที่รัฐบาลไทยสมัยจอมพลถนอมได้ออกพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และได้ให้สัมปทานกับบริษัทของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ในวันที่ 13 กันยายน 2514 เพื่อขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย นายพลลอนนอนจึงได้ประกาศประกาศเขตทะเลของกัมพูชาในวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 โดยลากเส้นสมมุติจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดเป็นรูปตัว U แล้วลากไปทางทิศตะวันตกจนถึงกึ่งกลางอ่าวไทย แต่กลับไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้กับชาวกัมพูชาในเวลานั้น
ดังนั้นในวันที่ 12 กันยายน 2515 นายพลลอนดอนจึงสั่งให้ลากเส้นเขตแดนทะเลอาณาเขตของกัมพูชาใหม่ โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดทางทิศตะวันออกแล้วลากผ่ากลางเกาะกูดไปทางทิศตะวันตกจนถึงกึ่งกลางอ่าวไทย แบ่งเกาะกูดออกเป็นสองส่วน
ซึ่งในการกระทำของกัมพูชาที่ลากเส้นเขตแดนทางทะเลทั้งสองเส้นทำให้ไทยปฏิเสธไม่ยอมรับเส้นเขตแดนทางทะเลที่กัมพูชาลากขึ้นโดยไม่มีกฎหมายทะเลใดๆ หรือสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาใดๆ รองรับ ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ได้มีการประกาศพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ประกาศเขตแดนทางทะเลของไทยโดยยึดหลัก
1. สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส 1907
2. อนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ลงวันที่ 29 เมษายน 1958 หรือเรียกกันสั้นๆ ว่าอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป 1958
โดยลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ลากพากึ่งกลางของพื้นที่เท่ากันระหว่างเกาะกูด(ไทย) และเกาะกง(กัมพูชา) แล้วลากตรงไปถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล แล้วลากเส้นเขตแดนทางทะเลไปยังทิศใต้ตามแนวเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเลจนถึงเขตทะเลมาเลเซีย
กองทัพไทยโดยเฉพาะกองทัพเรือได้ยึดถือเส้นเขตแดนทางทะเลตามพระบรมราชโองการวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 นี้มาโดยตลอดไม่เปลี่ยนแปลง
รัฐบาลได้นำพระบรมราชโองการเขตแดนทางทะเลของไทยด้านอ่าวไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 1 มิถุนายน 2516
จากวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ถึงเดือนมกราคม 2544 เป็นเวลา 28 ปีเศษที่ทะเลไทยไม่เคยทับซ้อนกับทะเลกัมพูชา
ผ่านนายกรัฐมนตรีมา 13 คน จากจอมพลถนอมถึงนายชวน หลีกภัย
ทะเลไทยไม่เคยทับซ้อนกับทะเลกัมพูชา
พ.ต.ท.ทักษิณ ชนะการเลือกตั้งปี 2544 ได้รับโปรดเกล้าเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 ต่อมาอีก 4 เดือนกับ 9 วันได้มีการลงนาม MOU 44 ระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา
ยอมรับว่าทะเลไทยกับทะเลกัมพูชาทับซ้อนกันเป็นพื้นที่มากกว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร ตามเอกสารประกอบใน MOU 44 จึงทำให้ประชาชนชาวไทยวิตกกังวลว่าเรื่องนี้จะซ้ำรอยเขาพระวิหาร
ทำให้ MOU 44 กลายเป็นหนึ่งในสาเหตุของวิกฤตการเมืองในประเทศไทย
จนถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 คณะรัฐมนตรียุคนายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีมติให้กระทรวงต่างประเทศไปดำเนินการยกเลิก MOU 44 ต่อมารัฐบาลนางยิ่งลักษณ์ ไม่ได้ดำเนินการยกเลิก MOU 44 ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แต่กลับมีการรื้อฟื้นการเจรจากับกัมพูชาตามกรอบ MOU 44 ใหม่อีกครั้ง
เมื่อรัฐบาลนางยิ่งลักษณ์หมดอำนาจเหตุมีการรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์จากกลุ่ม 3 ป. เป็นนายกรัฐมนตรี และตลอดระยะเวลา 5 ปีของการเป็นรัฐบาล คสช. มีการเจรจาลับกับกัมพูชาในเรื่อง MOU 44 แต่ไม่มีการเจรจาอย่างเป็นทางการของทั้งสองฝ่ายแต่ประการใด
รัฐบาล คสช. ดอง MOU 44
ในรัฐบาลหลังการเลือกตั้งปี 2562 พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อเนื่อง จึงได้มีการเปิดเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา อย่างเป็นทางการในประเด็นเขตแดนทางทะเลและกรอบการปฎิบัติตาม MOU 44
แต่มีการเจรจากันเพียงครั้งเดียว
ครั้งเดียวเท่านั้น
หลังจากนั้นไม่มีการเจรจาตามกรอบ MOU 44 อีกเลย
ข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ได้เข้าร่วมการประชุมเจรจาดังกล่าวได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้ดังนี้
1. กัมพูชาขอให้ไทยรับรองเขตแดนทางทะเลของกัมพูชาตามเอกสารประกาศเขตแดนฉบับลงวันที่ 12 กันยายน 2515 ที่ลากเส้นผ่ากึ่งกลางเกาะกูด
2. กัมพูชาพยายามยื่นข้อเสนอให้ไทยกับกัมพูชาใช้พื้นที่เกาะกูดเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน
ฝ่ายไทยเมื่อได้รับทราบเจตนารมย์ของกัมพูชา จึงขอยุติการประชุมโดยให้เหตุผลว่าต้องนำข้อเสนอกลับไปปรึกษากับรัฐบาลเสียก่อน จากนั้นก็เลิกประชุม
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ไม่มีการประชุมกันอีกเลย
ปัญหาการเจรจาตามกรอบ MOU 44 คือ
1. กัมพูชาไม่ให้ความสำคัญกับเขตแดนทางทะเลของไทยตามพระบรมราชโองการลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2516
2. กัมพูชาต้องการให้ไทยแสดงการรับรองเขตแดนทางทะเลของกัมพูชาที่ลากเส้นขึ้นในปี 2515 อย่างเป็นทางการ
3. กัมพูชายังมีความพยายามตลอดเวลาที่จะนำประเด็นเกาะกูดขึ้นมาเจรจาไปพร้อมกับการให้ไทยรับรองเขตแดนทางทะเลที่กัมพูชากำหนดขึ้นในปี 2515
นี่คือเหตุผลว่าทำไมยุค 3 ป. จึงไม่มีการเจรจากับกัมพูชาตามกรอบ MOU 44 อย่างต่อเนื่อง เปิดการเจรจากันเพียงครั้งเดียวแล้วก็เลิกคุย เพราะยิ่งเดินหน้าตามกรอบ MOU 44 ต่อไป ยิ่งจะทำให้เสียทั้งทะเลและเสียทั้งเกาะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กองทัพเรือ จัดเสวนาหลักกฎหมายอาณาเขตทางทะเล แต่คำตอบสุดท้ายอยู่ที่ผู้บริหาร
กรมยุทธศึกษา กองทัพเรือ จัดงานเสวนาวิชาการ เรื่องหลักกฎหมายว่าด้วยอาณาเขตทางทะเล เพื่อชี้ให้เห็นถึงบทบาทของกองทัพเรือ ความท้าทายที่กองทัพเรือต้องเผชิญ
รุมดีดปาก‘เชิดชัย’ขู่ยุบสภา
"ภูมิธรรม" โบ้ย "หมอเชิดชัย" ให้ไปยุบสภาเอง ยันอำนาจอยู่ที่นายกฯ
เมินเปิดเวทีถกMOU รอทีบีซีช่วยคนไทย
“ภูมิธรรม” ปัดทิ้งข้อเสนอ พปชร.เปิดเวทีสาธารณะถก MOU 44
จับตา! ‘ภูมิธรรม’ นั่งหัวโต๊ะประชุม คกก.ผลประโยชน์ทางทะเล ครั้งที่1/2567
'ภูมิธรรม' จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (นปท.) ครั้งที่ 1/2567
‘ปานเทพ’ ถามพื้นที่ด้านใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ MOU44 ขัดพระบรมราชโองการหรือไม่
แผนที่กรอบการเจรจาตกลงกันตาม MOU2544 จึงย่อมขัดต่อแผนที่พระบรมราชโองการด้านซ้าย เมื่อไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ย่อมต้องเป็นโมฆะหรือไม่
นักการเมืองไทยอย่าทะลึ่ง! ยก 4 เคส บัวแก้วเคยประท้วงกัมพูชา อ้างสิทธิ 'เกาะกูด'
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คนกัมพูชาจำนวนไม่น้อยเคยเชื่อหรือยังเชื่อว่าเกาะกูดเป็นของเขา ไม่ทั้งหมดก็อย่างน้อยกึ่งหนึ่ง!