5 พ.ย. 2567 - นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกฯ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า อาวุธสำคัญที่พลังฝ่ายขวาสุดซึ่งพ่ายแพ้ในสนามเลือกตั้ง ใช้โจมตีทางการเมืองต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมาตลอดคือ เรื่องสถาบัน ทุจริตคอร์รัปชันภายใต้ภูมิทัศน์คนดีคนชั่ว และอุดมการณ์ชาตินิยม
ข้อกล่าวหาเรื่องสถาบันพุ่งเป้าใส่รัฐบาลไม่ง่ายเหมือนก่อน คอร์รัปชันก็ทำอะไร 1 ปีของรัฐบาลเศรษฐาไม่ได้ ยิ่งรัฐบาลแพทองธารเพิ่งทำงานไม่ถึง 2 เดือนจะว่าร้ายเรื่องนี้ก็ห่างไกล
วาระนี้จึงเป็นเรื่องชาตินิยม ใช้กรณี MOU44 เชื่อมโยงกับเกาะกูด สร้างแรงกดดันหลายมิติ บางกลุ่มนัดชุมนุมขับไล่ ทั้งที่รัฐบาลนี้ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆนอกเหนือจากที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ทำไว้ เรื่องทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อน ก็ยังไม่มีการเจรจากันแม้แต่คำเดียว
เทียบเคียงกับการทวงคืนปราสาทเขาพระวิหาร ที่ใช้โจมตีรัฐบาลสมัครข้อหาขายชาติ โดยกลุ่มพันธมิตรฯซึ่งประกอบด้วยคนกลุ่มเดียวกันหลายคนที่กำลังปั่นกระแสเกาะกูดอยู่ขณะนี้
วันนั้นทวงคืนปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งไทยแพ้คดีในศาลโลกไปแล้วตั้งแต่ปี 2505 วันนี้ปกป้องเกาะกูดทั้งที่เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราดมาหลายสิบปี โดยไม่เคยมีประเทศใดทักท้วงทวงสิทธิ์
วันนั้นเรียกร้องให้ยกเลิกแถลงการณ์ร่วม (joint communique) วันนี้ให้ยกเลิก MOU44
วันนั้นปลุกกันจนมีคนเดินขบวนเกิดปะทะกับคนในพื้นที่ บานปลายต่อเนื่องถึงขั้นทหารทั้ง 2 ฝ่ายเปิดฉากยิงใส่กัน มีการบาดเจ็บสูญเสีย ถือเป็นการปะทะกันครั้งล่าสุดระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน
ถึงที่สุดเรื่องกลับศาลโลก ปี 2556 ศาลชี้ว่าตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา
ปี 2558 ศาลฎีกาชี้ว่า การดำเนินการของนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศขณะนั้น (ซึ่งถูกฝ่ายต่อต้านฟ้อง) ไม่มีความผิด ประเทศไทยได้ประโยชน์จากกรณีดังกล่าว ไม่มีคนรับผิดชอบ ไม่มีใครพูดถึงแถลงการณ์ร่วม (joint communique)นั้นอีก
หรือไม่มีใครสรุปบทเรียนจากเรื่องนี้ ?
วันนี้MOU44 ซึ่งทั้งกระทรวงการต่างประเทศและฝ่ายความมั่นคง ยืนยันตรงกันว่าไม่ใช่เป็นการยอมรับการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของอีกฝ่าย จะถูกใช้เป็นเครื่องมือปั่นกระแสไปถึงไหน
อาเซียนกำลังเนื้อหอม สิ่งที่โลกอยากรู้และต้องการเห็น คือ 2 ประเทศจะบรรลุข้อตกลง นำทรัพยากรปิโตรเลียมใต้ทะเลมูลค่ามหาศาลกว่า 10 ล้านล้านบาทมาใช้ประโยชน์หรือไม่ อย่างไร ไม่ใช่พิพาทสู้รบชิงดินแดน เพิ่มอุณหภูมิในภูมิรัฐศาสตร์ ทำลายบรรยากาศและความเชื่อมั่นในภูมิภาค
ผมเชื่อว่าสังคมไทยมีประสบการณ์ อ่านขาดว่าเรื่องนี้คือการเมืองของฝ่ายขวาสุดขอบ ซึ่งรัฐบาลยังต้องรับมืออีกหลายขนาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิธรรม' ลั่นไม่ยอมเสียเกาะกูด รักษาเท่าชีวิต!
ที่ทำเนียบรัฐบาลนาย ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะดูแลหน่วยงานด้าน
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' แฉคนหากินกับพลังงาน นักการเมืองแอบมีหุ้นในกิจการน้ำมัน เร่งคุย MOU 44
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก Nantiwat Samart หัวข้อ อย่าเป็นคนดี
'จตุพร' ย้อนรัฐบาลระบอบทักษิณ! เกาะกูดเป็นของไทยแล้วเซ็น MOU 44 ทำไม?
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า กรณี MOU 44 บันทึกสู่การเจรจาเกาะกูดและพลังงาน
'ธีระชัย' ท้า! ก.ต่างประเทศแจง กัมพูชายอมรับเกาะกูดเป็นของไทยแล้วลากเส้นผ่าทำไม
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้
นายกฯ นำพรรคร่วมรัฐบาล แถลงเดินหน้า MOU ปี 44 ถามยกเลิกแล้วได้อะไร
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เรียกแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลเข้าหารือ โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย นายพิชัย ชุนหวชิร
'อนุทิน' ชี้ MOU 44 ไทย-กัมพูชา ต้องเจรจาจัดสรรทรัพยากรใต้ทะเล ไม่เกี่ยวเกาะกูด
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังหารือกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ว่า มีการหารือเรื่องเอ็มโอยู 44