'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

2 พ.ย.2567 - นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการนิรโทษกรรม จะดำเนินการยื่นต่อสภาทันที หลังจากที่เปิดสมัยประชุมสภา ช่วงเดือน ธ.ค. ตามมติการประชุม สส.ของพรรค ยึดหลักเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีทางการเมือง แต่ไม่รวมมาตรา 110 มาตรา 112 รวมถึงคดีทุจริต และคดีอาญาที่ร้ายแรง โดยเชื่อว่ามวลชนจะเข้าใจ เพราะหลักการการเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนั้น ต้องคำนึงถึงการสร้างความปรองดอง ไม่ต้องการเพิ่มความขัดแย้ง

ผมเห็นว่าการออกพรบ.นิรโทษกรรม มีเป้าหมายเพื่อความปรองดอง และสมานฉันท์ของคนในชาติ แต่ต้องเป็นความเห็นพ้องของทุกภาคส่วน และได้ประโยชน์จากการนิรโทษกรรมทุกกลุ่มที่เป็นคดีการเมืองด้วย จึงจะทำให้การนิรโทษกรรมบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง

แต่ตอนนี้การออกพรบ.นิรโทษกรรม กำลังซ้ำรอยเดิมของการออกพรบ.โทษกรรมแบบสุดซอย สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีคนเห็นต่างและคัดค้านกันเป็นจำนวนมาก จนมีการนัดชุมนุมประท้วงทำให้บ้านเมืองเข้าสู่ทางตัน และอำนาจนอกระบบก็เข้ามาควบคุมการบริหารประเทศ

การออกพรบ.นิรโทษกรรมครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน เกรงว่าจะเป็นจุดชนวนความขัดแย้งรอบใหม่ขึ้นมาอีกก็ได้ เพราะการออกพรบ.นิรโทษกรรม มีการได้ประโยชน์เฉพาะบางกลุ่ม และเสียประโยชน์ไม่ได้ประโยชน์ในบางกลุ่ม ซึ่งอาจจะเกิดความขัดแย้งขึ้นมาอีกได้ คนที่ไม่ได้รับประโยชน์จาก พรบ.นิรโทษกรรมครั้งนี้ คงไม่ยอมและไม่พอใจ อาจจะถึงขั้นเคลื่อนไหวทางการเมือง จุดม็อบ ชุมนุมสร้างความขัดแย้งในสังคมรอบใหม่ขึ้นมาอีกก็ได้

เพราะฉะนั้นการที่พรรคเพื่อไทยออกมายกข้ออ้างเรื่องความปรองดองนััน เป็นการอ้างเหตุผลทางทฤษฎีแต่ในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้ว่า จะมีการปรองดองกัน จึงทำให้พรบ.นิรโทษกรรมครั้งนี้ไม่ตอบโจทย์ของสังคม

ผมไม่มีส่วนได้เสียใดๆกับการออกพรบ.นิรโทษกรรมครั้งนี้ แต่ยึดหลักการว่า ถ้าจะออกพรบ.นิรโทษกรรมเพื่อความปรองดองและสมานฉันท์ จะต้องมีการนิรโทษให้กับคดีการเมืองทุกกลุ่ม ถ้าไม่นิรโทษให้กับทุกกลุ่ม ความปรองดองก็จะไม่เกิดขึ้น เมื่อความปรองดองไม่เกิดขึ้น ก็ไม่รู้ว่าจะออกพรบ.นิรโทษกรรมไปทำไม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม

นายทักษิณ​ ชิน​วัตร​ อดีต​นายก​รัฐมนตรี​ ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568​ ว่า​ การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น

เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น

รทสช.ขยับทันควัน! หลังสื่อทำเนียบตั้งฉายา ‘พีระพัง‘

จากกรณี ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายารัฐบาล และรัฐมนตรีประจำปี ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่