31 ต.ค.2567 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ธุรกิจสำนักพิมพ์ทางวิชาการ กับดัก ผลงานทางวิชาการ สำหรับมหาวิทยาลัยไทย แนวทางแก้ไข” มีเนื้อหาว่า ธุรกิจของสำนักพิมพ์ เกิดขึ้นในทุกสำนัก มีบางมหาวิทยาลัย ห้ามโรงพิมพ์ในสำนักพิมพ์ … แล้วจะเบิกค่าใช้จ่ายไม่ได้ ส่วนตัวไม่เห็นด้วย เพราะทุกสำนัก ดำเนินการเป็นธุรกิจทั้งนั้น จึงไม่ได้เป็นทางแก้ไข
ธุรกิจที่กำไรมากกว่า 30% ถือว่าเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างเอาเปรียบผู้บริโภค และบอกว่าการตั้งราคา จะลดให้หรือไม่คิดเลยสำหรับ ประเทศที่มีรายได้ต่ำ (low income country) ซึ่งเป็นเพียงน้อยนิดที่ประเทศที่มีรายได้ต่ำ ตีพิมพ์ผลงานวิชาการแล้วเป็นนักวิจัยบรรณกิจ ที่จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ส่วนใหญ่จะมีนักวิจัยจากประเทศตะวันตกมาเป็นผู้ร่วมวิจัยทั้งนั้น และมักจะเป็นผู้รับผิดชอบ
การคิดค่าตีพิมพ์จะกระทบมาก ในการจัดที่เอาประเทศรายได้ปานกลาง ต้องจ่ายเท่ากับประเทศที่มีรายได้สูง กำลังความสามารถในการรับทุน และค่าใช้จ่ายต่างๆมันต่างกันมาก ควรนำมาพิจารณา และเป็นสิ่งที่จะต้องต่อรอง
Open access เป็นสิ่งที่ดี ควรจะสนับสนุนอย่างยิ่ง แต่ควรอยู่บนฐานของความยุติธรรม ระหว่าง นักวิชาการและสำนักพิมพ์ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาและอยู่ในระดับรายได้ปานกลาง แทนที่จะใช้เงินจำนวนมาก ในภารกิจดังกล่าว ที่เงินทุนสนับสนุนทางด้านการวิจัย ได้รับน้อยมาก
ควรมีการศึกษาวิจัยผลกระทบทางด้านงบประมาณ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการเมื่อเปรียบเทียบกัน ผลประโยชน์ที่ได้รับ และทุนวิจัยที่สนับสนุนของประเทศ มากกว่าที่ผู้วิจัยที่ยอมเสียสละแล้วต้องมารับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายดังกล่าว วิจัยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ประเทศจ่าย รวมทั้งห้องสมุดและการซื้อโปรแกรมต่างๆ
ผู้บริหารระดับสูง หรือระดับกระทรวง อว. ควรรวมตัวกัน ต่อรอง ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ให้อยู่ในระดับที่เป็นธรรม ทั้งในประเทศ มหาวิทยาลัย นักวิจัย และผู้ให้ทุน ควรจะมีตัวเลขที่ชัดเจนและเปิดเผย
ควรพิจารณาชดเชยค่าตีพิมพ์ หรือค่าตอบแทน ตามคุณค่าของผลงาน และวารสารที่ตีพิมพ์ ไม่ใช่ยึด ตัวเลข เช่น T หรือ Q จะเข้าทางสำนักพิมพ์
ผมเองทำงานวิจัยมากกว่า 40 ปี มีผลงานตีพิมพ์ร่วม 700 เรื่องในระดับนานาชาติ และมีการอ้างอิงมากกว่า 26,000 ครั้ง แต่งานที่ภูมิใจมากที่สุด คือผลงานที่เกี่ยวกับตับอักเสบในประเทศไทย อันเป็นประโยชน์มหาศาล รวมทั้งงานวิจัยการกวาดล้างไวรัสตับอักเสบ รูปแบบเพชรบูรณ์ เป็นงานที่ภูมิใจมากที่สุด มากกว่าการจัดให้เป็นผู้มีการอ้างอิงสูงที่มีการชื่นชมกัน
การช่วยทบทวนบทความทางวิชาการ ของผู้เชี่ยวชาญ ควรมีการ return ในรูปแบบของการลดค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสำนักพิมพ์ที่จะต้องใช้จ่าย
ประเทศไทยควรส่งเสริม วารสารที่เผยแพร่ในประเทศไทย ให้มีคุณภาพและระดับสูงในระดับนานาชาติ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ควรอยู่ในประเทศไทย
ถึงเวลาแล้วที่ประเทศของเรา จะต้องรวมกันสร้างความเป็นธรรม ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ให้เกิดประโยชน์จริงๆ กับมวลมนุษย์ มากกว่าที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะยึดเป็นธุรกิจ รับผลประโยชน์นั้นไป
ยังมีความในใจที่อยากจะพูดต่อไปอีก โปรดติดตาม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' บอกอย่าตื่นตะหนกโนโรไวรัส
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์