30 ต.ค2567- ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์เฟซบุ๊กว่า
UNCLOS ไม่เสียเกาะกูดแน่แถมได้พื้นที่ส่วนใหญ่
หลายคนอาจสงสัยว่า UNCLOS ที่อ่านออกเสียงว่า "อันโคลซ" คืออะไร? และมีความสำคัญต่อทางออกของผลประโยชน์ชาติในท้องทะเลอย่างไร? โดย UNCLOS คือ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) มีประโยชน์ประการสำคัญในการช่วยแบ่งพื้นที่ในท้องทะเลตามหลักสากล มีความเป็นธรรม และไม่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ ประชาชนคนไทยทั้งประเทศจึงต้องช่วยกันสร้างการรับรู้
สาเหตุสำคัญที่กัมพูชาเป็นชาติเดียวในภูมิภาคแทบนี้ที่ไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะกัมพูชารู้ดีว่าเข้าร่วม UNCLOS แล้วจะเสียเปรียบ สมมติฐานของการประกาศเขตแดนทางทะเลของกัมพูชาตาม MOU 2544 ค่อนข้างเกินจริงมาก หากกัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS พื้นที่ทับซ้อนในท้องทะเล Overlapping Claims Area (OCA) ขนาดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร และทรัพยากรธรรมชาติมูลค่าหลายล้านล้านบาทตามที่ถกเถียงกันมานาน ส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย
เนื่องจากหลักการสำคัญของ UNCLOS ถือว่าภายใน 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานของรัฐชายฝั่งจะเรียกว่า เขตเศรษฐกิจจำเพาะ หรือ Exclusive Economic Zone (EEZ) ทรัพยากรธรรมชาติมูลค่ามหาศาลในท้องทะเลจะตกเป็นสิทธิ์ขาดของรัฐชายฝั่งเพียงผู้เดียว ซึ่งการกำหนด EEZ เป็นวิทยาศาสตร์ มีหลักการและกฎหมายระหว่างประเทศที่มีมาตรฐานรองรับ ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถขีดเส้นแบ่งกันมั่วๆ เห็นได้ชัดว่ากรอบและกติกาของ UNCLOS เป็นประโยชน์ต่อการเจรจาของไทยอย่างมาก
UNCLOS จึงเป็นทางออกที่เป็นสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถยุติปัญหาพื้นที่ทับซ้อนได้ในทันที เพราะแผนที่ทางทะเลตามหลักการของ UNCLOS มีออกมานานแล้วและแพร่หลายอยู่ทั่วไป สิ่งที่เหลือให้ทางไทยและกัมพูชายังต้องเจรจากันอีก คือ หลุมน้ำมันดิบและหลุมก๊าชธรรมชาติที่วางตัวก้ำกึ่งอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ ต้องตกลงกันว่ามีกี่หลุม หลุมไหนบ้าง ซึ่งวิทยาการสมัยใหม่น่าจะช่วยแบ่งผลประโยชน์ตามปริมาตรจริงได้อย่างเป็นธรรม
ดังนั้น ถ้ายึดตามแผนที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของ UNCLOS ไทยจะไม่สูญเสียเกาะกูดแน่ อีกทั้งพื้นที่ทับซ้อนส่วนใหญ่ที่มีมาแต่เดิมจะตกเป็นของไทย นับได้ว่าเป็นแนวทางที่ไทยได้ประโยชน์อย่างชัดเจนที่สุด การเจรจาผลประโยชน์ชาติในท้องทะเลจึงไม่ควรเกิดขึ้นโดยเด็ดขาดหากกัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS และหากรัฐบาลไทยยอมเจรจากับกัมพูชาภายใต้ MOU 2544 ไม่ใช่ UNCLOS ตามที่ควรจะเป็น ก็เท่ากับว่ารัฐบาลไทยกระทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอวรงค์' ซัด MOU44 ถ้าไม่โง่ก็ขายชาติ!
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่าถ้าไม่โง่ก็ขายชาติ
'ณัฐวุฒิ' บอกรักชาติต้องมีเหตุผล ชี้ MOU ไทย-กัมพูชา ผ่านมา 23 ปี ยังไม่มีข้อพิพาท
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่า ผมเชื่อว่าทุกคนรักชาติ แต่การแสดงออกถึงความรักชาติ ก็ต้องอยู่บนข้อเท็จจริงและเหตุผล
'จตุพร' บี้รัฐบาลเปิดสัญญาสัมปทานปิโตรเลียม อย่าทึกทักไทยได้ใช้น้ำมันถูกไม่เสียดินแดน
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า กรณีเกาะกูดและพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา นายกฯ อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร ควรอธิบายความจริงให้ประชาชนรับรู้อย่างครบถ้วน
'หมอวรงค์' ยก 3 ข้อ ถามรัฐบาลตอบไม่ได้พังแน่!
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่าถ้าตอบไม่ได้รัฐบาลพังแน่
'ฝ่ายค้าน' ขวางรัฐบาลเร่งเจรจาเชิงพาณิชย์ โดยไม่พิจารณาการทับซ้อนเขตแดนทางทะเล
นายจุลพงศ์ อยู่เกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ผู้แทนราษฏร กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาล โดย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พปชร.ค้านMOU2544จี้ 'นายกฯอิ๊งค์' เลิกด่วน
'พปชร.' แถลงค้านกรอบ MOU 2544 เตรียมยื่นจดหมายเปิดผนึก จี้ 'นายกฯ' ยกเลิกด่วน ก่อนเสียดินแดน โต้ 'ภูมิธรรม' เกาะกูดอยู่ในใจกัมพูชา เผย 'ลุงป้อม' เล่าเองเจรจาทีไรพูดถึงทุกที จนต้องเลื่อนออกไป