29 ต.ค.2567- นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยไม่ควรเร่งรีบเจรจาหาผลประโยชน์จากแหล่งพลังงานทับซ้อนกับกัมพูชาตาม MOU 44 เพราะจะทำให้สุ่มเสี่ยงกับการเสียดินแดนเกาะกูด
อีกทั้งกล่าวว่า สิ่งที่น่าสังเกตกับการเจรจา MOU 44 รัฐบาลได้ออกอาการเร่งอย่างผิดปกติและพูดความจริงกับคนไทยไม่ครบถ้วน อย่างไรก็ตาม ถ้าการเจรจาสามารถตกลงกันได้กับกัมพูชา จนร่วมมือขุดสูบพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว แต่มีปัญหาว่าประเทศไทยไม่ได้ประโยชน์อะไรจากพลังงานที่สูบขึ้นมาเลย เพราะได้ยกสัมปทานให้กลุ่มเชฟรอนไปเมื่อกว่า 50 ปีที่ผ่านมาแล้ว
“การเร่งของรัฐบาลจึงเท่ากับทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงในการไทยต้องเสียดินแดนซ้ำรอยอีก และครั้งนี้เป็นการเสียดินแดนเพื่อให้เชฟรอนได้ประโยชน์จากพลังงาน ส่วนคนไทยไม่ได้ใช้น้ำมันหรือพลังงานราคาลดลงแต่อย่างใด”
นายจตุพร กล่าวถึงต้นทุนราคาพลังงานของไทยถูกนำไปอิงกับราคาการผลิตของสิคโปร์ ขณะที่ไฟฟ้าผลิตได้จากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซยังอิงราคาขายจากการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนกักน้ำ ที่สร้างมาจากงบประมาณของรัฐ และราคาไม่ได้ถูกลงเลย ดังนั้นราคาไฟฟ้าจึงมีราคาแพงภายใต้การกำกับราคาของรัฐ
ส่วนราคาน้ำมันนั้น เราไม่สามารถประเมินได้ว่า นำเข้าจากต่างประเทศมาเท่าไรโดยรัฐบาลไม่ชี้แจงความจริงให้ประชาชนรับรู้อย่างถ่องแท้ แต่เข้าใจคร่าวๆ ว่า น้ำมันในไทยมีประมาณ 10% และมีต้นทุนอยู่ที่ 20 บาทแล้วนำมาขาย 30-40 บาทต่อลิตรในทุกวันนี้ เพราะไปอิงกับราคาสมมุติที่สิงคโปร์
อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงแล้ว เราควรต้องลดต้นทุนการผลิตน้ำมัน ด้วยการหักกำไรจากภาษีบางประเภทได้หรือไม่ เพื่อให้คนไทยได้ใช้น้ำมันราคาถูกลง และการอิงราคาน้ำมันจากสิงคโปร์ ไม่ได้ทำให้การสูบน้ำมันในไทยขึ้นมาแล้วราคาจะถูกลง
“สิ่งที่พูดมาตลอดเพื่อจะบอกว่า การเร่งรีบต่างๆ เพื่อนำน้ำมันจากแหล่งทับซ้อนกับกัมพูชามาหาประโยชน์ แต่ทำไมรัฐบาลไม่พูดว่าจะไปรื้อเรื่องสัญญาสัมปทานที่ไทยทำไว้กับเชฟรอนว่าจะยกเลิกอย่างไร เพราะกว่า 50 ปีที่ทำสัญญานั้นสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ยิ่งกว่านั้น การเร่งอย่างผิดสังเกตของรัฐบาล เราต้องตรวจสอบคนไทยเป็นใครที่ไปร่วมทำธุรกิจน้ำมันกับกัมพูชา เพื่อให้ทุกอย่างได้คลี่คลายเป็นคำตอบ”
นายจตุพร กล่าวว่า การเร่งเพื่อสูบพลังงานหาประโยชน์ร่วมกับกัมพูชานั้น จะสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดนไทยให้กัมพูชาด้วย เพราะการเสียปราสาทเขาพระวิหารไปแล้วยังอยู่ในความจดจำของคนไทยมิลืม
มาครั้งนี้ การกลับมาเร่งรีบดำเนินการตาม MOU 44 จึงสะท้อนถึงความเป็นอื่นไปไม่ได้เลย เพราะถึงเจาจราสำเร็จขุดน้ำมันขึ้นมาได้ เชฟรอนก็ได้ไป แม้ไทยได้ค่าสัมปทานบ้าง แต่น้อยนิดเมื่อเทียบกับผลประโยชน์โดยรวมทั้งหมด อีกอย่างคนไทยไม่ได้มีหลักประกันใดว่าจะได้ใช้น้ำมันราคาถูกลง ดังนั้น ปัญหาจึงมีว่า จะรีบเจรจาขุดน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนกันไปทำไม
อีกทั้งกล่าวว่า ไทยยกสัมปทานน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนให้เชฟรอนมากว่า 50 ปี โดยมีหลักคิดทางพื้นที่ทางยุทธศาสตร์สงครามอินโดจีน ลาว กัมพูชา เวียดนามเป็นตัวกำหนดให้หาพื้นที่พลังงานเพื่อการทำสงครามแต่เมื่อวันนี้สงครามยุติ เมื่อเชฟรอน บริษัทสัญชาติสหรัฐ ได้ครอบครองการผลิตน้ำมัน ส่วนจีนมีความสัมพันธ์ชัดเจนกับกัมพูชา และลาว ดังนั้น การขุดน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนอาจนำไปสู่ปัญหาระหว่างมหาอำนาจส่งผลกระทบให้ไทยได้ ดังนั้น นอกจากการเสียดินแดนไปอีกแล้ว ยังจะเกิดปัญหาใหม่ตามมาอีก เพื่อให้ใครบางคนได้ผลประโยชน์ส่วนตัวกับเชฟรอน โดยคนไทยไม่ได้ประโยชน์ใดๆ เลย
“เมื่อเรามีบทเรียนเรื่องการเสียดินแดนมาแล้ว เราต้องรู้เลยว่า ถ้าจัดการเรื่องดินแดนไม่สำเร็จ ต้องไม่สุ่มเสี่ยงกับปัญหาข้างใต้ทะเล เพราะคนไทยไปยกสัมปทานให้เชฟรอนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ในด้านผลประโยชน์แล้ว ไทยยังสามารถเจรจาได้อีกสารพัด แต่ประเทศก็สุ่มเสี่ยง ดังนั้น เราอาจเจอปัญหาอย่างประสาทพระวิหารกันอีกก็ได้”
นายจตุพร กล่าวว่า กัมพูชาในอดีตตั้งแต่สมเด็จฮุนเซนมา พวกเขาต่อสู้เรื่องการปลดปล่อยประเทศ โดยยึดหลักชาตินิยมเป็นศูนย์รวม ดังนั้น การเจรจาเพื่อให้กัมพูชาเสียดินแดนจึงเป็นเรื่องยาก เพราะจะทำให้เขาเสียการเมืองภายในประเทศ
ส่วนไทยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.กลาโหม กลับบอกไม่ให้คนไทยคลั่งชาติ ในความหมายไม่ยอมเสียดินแดนเพื่อแลกกับผลประโยชน์การขุดน้ำมันมาพัฒนาเศรษฐกิจ แต่พอถึงเวลาคนไทยไม่ยอมเสียดินแดนแล้ว สหายอ้วน-ภูมิธรรม ก็เอาอะไรไม่อยู่เหมือนกัน
“ถ้าสถานการณ์นำพาไปสู่ความสุ่มเสี่ยง คุณภูมิธรรม อธิบายความซิว่า ถ้าสูบน้ำมันตรงนี้ ปตท.ได้อะไร ประเทศไทยได้อะไรเมื่อยกให้ต่างชาติไปแล้ว คือชีวิตของคุณภูมิธรรม มาการันตีไม่ได้ โดยจะคลั่งชาติ หรือคลั่งอ้วนก็ตาม เพราะประวัติศาสตร์บอกไทยอยู่แล้วว่า อะไรที่สุ่มเสี่ยงแล้วคิดว่าจะชนะ มันไม่ใช่”
พร้อมกล่าวว่า เราไม่ได้คลั่งชาติ แต่มีความรักชาติบ้านเมือง เพราะอะไรที่มีความสุ่มเสี่ยงในเรื่องดินแดน โดยที่ยังจัดการปัญหาต่างๆ ให้พร้อมแล้วจะเอาดินแดนไปเสี่ยงอีกรอบได้อย่างไร ดังนั้น กรณีเกาะกูดจึงเป็นความสุ่มเสี่ยง ถ้าไปยอมรับในเรื่องใต้แผ่นดิน เราจะเสียเรื่องบนดินคือ เสียดินแดน
“ดังนั้น อย่ารีบไปหาเรื่อง ควรเริ่มทำเรื่องดินแดนให้จบก่อน จากนั้นไปจัดการเปิดสัญญาสัมปทานกับเชฟรอนให้คนไทยได้รู้ว่า เราเสียอะไรบาง โดยไม่ต้องรีบ ถ้าขุดน้ำมันขึ้นมาแล้ว เราได้ลดราคาน้ำมันไปครึ่งหนึ่ง ก็พอรับฟังในความทุเรศได้บ้าง แต่นี้ไม่มีหลักประกันอะไร เราก็ซื้อน้ำมันแพงเหมือนเดิม”
นายจตุพร กล่าวว่า วันนี้ต้องทำความจริงให้ปรากฎ ส่วนรัฐบาลไม่พยายามจะพูดความจริง ซึ่งนายกฯ ที่จะเร่งเจรจาขุดน้ำมันขึ้นมานั้น ต้องตอบคำถามด้วยว่า ประเทศไทยจะได้อะไรก่อน และประเทศไทยจะเสียอะไร ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเร่งขุดน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมาแบบออกอาการผิดสังเกต
ส่วนการทำบ่อนคาสิโน 10 แห่งนั้น นายจตุพร กล่าวว่า จะเป็นการทำลายบ้านเมืองให้ฉิบหายเร็วขึ้น เพราะการตั้งบ่อนในประเทศได้ซุกการพนันออนไลน์ให้คนไทยได้เข้าถึงได้ง่ายและมากยิ่งขึ้น เท่ากับทำให้ไทยเป็นเมืองอบายมุขร้ายแรงตามมาทั้งยาเสพติด การขายตัว ปล้นจี้ วิ่งราวทรัพย์สิน เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้หาเงินได้ง่ายเพื่อไปเล่นพนันออนไลน์ที่จะเกิดตามมาพร้องการตั้งบ่อนคาสิโนในไทย
นายจตุพร กล่าวว่า ประเทศรอบข้างไทยล้วนหาทางลดบ่อนการพนันลง เพราะไม่เกิดผลดีกับการพัฒนาประเทศ แต่ไทยกลับส่งเสริมให้เปิดในประเทศถึง 10 แห่ง และนายทุนบ่อนก็จะเป็นนายทุนการพนันออนไลน์ผ่านมือถือมามอมเมาคนไทย เมื่อยังควบคุมเยาวชนไม่ให้หลงทางไปสู่อบายมุขไม่ได้ ก็ไม่ควรมีบ่อนคาสิโน
อีกทั้งเชื่อว่า รัฐบาลเพื่อไทยไม่หยุดโครงการแจกเงินดิจิทัล โครงการแลนด์บริดจ์พร้อมขายที่ดิน 99 ปี และโครงการซื้อคอนโดอยู่นาน 99 ปี เช่นกัน อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวมีการใช้จ่ายผ่านระบบเงินดิจิทัลเป็นแกนกลาง ดังนั้นเงินดิจิทัลคือ ความสัมพันธ์ต่อเนื่องที่นำไปเชื่อมต่อการซื้อขายที่ดิน รวมทั้งการเล่นพนันในบ่อนคาสิโนและการพนันออนไลน์ด้วย
“การคิดเช่นนี้ เป็นคนก็เสียคน เป็นประเทศก็เสียประเทศ เราจะมาสุ่มเสี่ยงแบบนี้ได้อย่างไร แต่ชี้ได้ชัดว่า คนเหล่านี้ไม่ได้คิดถึงอนาคตของประเทศชาติ ถ้าดีจริงทำไม ร.5 ยกเลิกไม่ให้มีบ่อนพนัน เพราะเป็นการทำลายชาติบ้านเมือง ที่สำคัญลามไปสู่เยาวชน และยากต่อการควบคุม
ดังนั้น การทำบ่อนประเทศมีแต่เจ๊งกับเจ๊ง แม้มีรายได้น้อยนิดปีละ 9 พันกว่าล้าน ซึ่งเทียบกับรายได้อย่างอื่นไม่ได้เลย โดยความสูญเสียไม่รู้กี่ล้านล้านที่จะเอาประเทศกลับมาคืนได้เหมือนเดิม”
นายจตุพร หวังว่า องค์กรตาม รธน. ทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุขริตแห่งชาติ (ปปช.) คณกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และแพทยสภา คงได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์เพื่อจะได้จบเรื่องหายนะกับประเทศ เพราะศาล รธน.จะได้รับฟ้อง
ส่วนการยุบสภานั้น คงหนีไปไม่ได้ เนื่องจากข้อกล่าวหาถ้าศาล รธน.รับพิจารณาแล้วย่อมเป็นคดีล้มล้างการปกครองและยุบพรรคเพื่อไทย ซึ่งไม่ใช่คดีเฉพาะบุคคลในการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองเมื่อยุบสภาหรือลาออกก็พ้นหน้าที่ได้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ภูมิธรรม' เผย 4 ลูกเรือประมงไทยได้กลับบ้าน 4 ม.ค.68 ยันกองทัพไม่ได้อ่อนแอ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าการช่วยลูกเรือประมงไทยทั้ง 4 คนที่ถูกดำเนินคดีและตัดสินโทษจำคุกในข้อหารุกล้ำน่านน้ำเมียนมา ว่า การล่วงล้ำชายแดนไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล
'รมว.กลาโหม' ลั่นยึดหลักเจรจา ปม 'ว้าแดง' บอกมีอีกหลายเรื่องพูดไม่ได้
นายภูมิธรรม เวชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาพื้นที่พิพาทชายแดนไทยเมียนมา ซึ่งอยู่ในกลุ่มอิทธิพลของกลุ่มว้า ว่า มีการพูดคุยในที่ประชุมสภากลาโหม และได้เห็นเอกสารทั้งหมดโดยเฉพาะ เรื่องเขตแดน
การเมืองมกรา’68 พรรคร่วมร้อนรุ่มแตกหัก ‘ทักษิณ’ หนาวสะท้านชั้น 14
ทักษิณขยี้หนัก โชว์ภาพตีกอล์ฟขนาบข้างทุนผูกขาด ส่อสื่อสัญญาณรุก “พีระพันธุ์-รวมไทยสร้างชาติ” คาดชะตากรรมไม่แตกต่าง “ประวิตร-พปชร.” ประเมินปี 68 ปมชั้น 14 ทำการเมืองร้อนแรง
'รัฐบาลพ่อเลี้ยง' ฉายารัฐบาลปี67 นายกฯ'แพทองโพย' อนุทิน'ภูมิใจขวาง' วาทะแห่งปี'สามีเป็นคนใต้'
สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายาปี 67 'รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง' ส่วนฉายานายกฯ 'แพทองโพย' 7 รมต.ติดโผ 'บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี' พ่วง 3 รมต.โลกลืม
'อดีตบิ๊กทอ.' ไล่บี้นายกฯอิ๊งค์ ใช้กฎหมายรักษาผลประโยชน์ทางทะเล ลบล้าง MOU 44
พลอากาศโทวัชระ ฤทธาคนี หรือ เสธ.นิด อดีตนายทหารนักบินกองทัพอากาศ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ผมไม่แน่ใจว่า “นายกรัฐมนตรี อ.อ.” เคยรู้เห็นเรื่องเกี่ยวกับ พรบ.การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ปี ๒๕๖๒ หรือไม่
'จตุพร' ฉะ 'ทักษิณ' เดินเกมการเมืองอบจ. แบบตีท้ายครัว ใช้นโยบายปราบผู้มีอิทธิพลเพื่อต้อนเข้าคอก
นายจตุพร พรหมพันธุ์ กล่าวถึงบทบาทของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในการเป็นผู้ช่วยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ.ของพรรคเพื่อไทยในพื้นที่ต่างๆ ว่า จากคำพูดของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา ที่ออกมาระบุว่าได้พานายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์