28 ต.ค.2567-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เรื่อง “หลักฐาน MOU44 ชัวร์หรือมั่วนิ่ม?” ระบุว่า นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า จะเดินหน้าเจรจาแบ่งผลประโยชน์ปิโตรเลียมกับกัมพูชา
ผมแนะนำว่า ควรพิจารณาหลักฐานก่อนว่า MOU 2544 ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่? หลักฐานที่ปรากฏใน MOU44 คือ
1 มีการกำหนดพื้นที่ในอ่าวไทยสองพื้นที่ คือ พื้นที่ที่ต้องแบ่งเขต และ พื้นที่พัฒนาร่วม
2 กรอบขอบเขตทั้งสองพื้นที่ ทิศเหนือและทิศตะวันตก กำหนดโดยเส้นแบ่งเขตของกัมพูชาที่ประกาศในปี 2515 ทิศตะวันออก กำหนดโดยเส้นแบ่งเขตของไทยที่ประกาศในปี 2516
3 สำหรับพื้นที่ที่ต้องแบ่งเขต ให้เจรจากรอบขอบเขตให้ชัดเจน
4 สำหรับพื้นที่พัฒนาร่วม ทั้งสองประเทศยอมรับกรอบขอบเขตไปแล้ว ให้เจรจาสัดส่วนการแบ่งผลประโยชน์
นายภูมิธรรม จึงควรพิจารณาหลักฐานต่อไปนี้ว่า เส้นแบ่งเขตของกัมพูชาที่ประกาศในปี 2515 นั้น รัฐบาลไทยสามารถยอมรับว่าถูกต้องตามกฏหมายได้หรือไม่?
ทั้งนี้ เส้นแบ่งเขตที่พาดผ่านเกาะกูด นั้น เกิดจากเอกสารแนบสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ข้อ 1 ซึ่งมีข้อความว่า “เพื่อประไยชน์ ที่จะให้กรรมการซึ่งกล่าวไว้ในข้อ ๕ ของหนังสือสัญญาลงวันนี้ จัดการปักปันเขตร์แดนให้สะดวกดี และเพื่อที่จะไม่ให้เกิดมีข้อขัดข้องขึ้นได้ ในการปักปันเขตร์แดนนั้น รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม กับรัฐบาลของรีปับลิกฝรั่งเศสจึงได้ตกลงยินยอมกันตามความที่กล่าวต่อไปนี้
ข้อ ๑
เขตร์แดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด เป็นหลักแล้ว …”
กัมพูชาจึงอาศัยข้อความนี้ ลากเส้นตั้งแต่ชายทะเล ผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด กินเนื้อที่เข้ามาในอ่าวไทย
ถามว่า การอ้างของกัมพูชาเช่นนี้ถูกต้องตามสนธิสัญญาฯ หรือไม่?
ตอบว่า ไม่ถูกต้อง ด้วยสามหลักฐาน
หนึ่ง สนธิสัญญาฯ ไม่เกี่ยวกับไหล่ทวีป
ใน ค.ศ. 1907 ไม่มีเรื่องไหล่ทวีป เพราะสหประชาชาติเพิ่งจะเจรจากำหนดอนุสัญญาเรื่องไหล่ทวีปใน ค.ศ. 1958
ดังนั้น สนธิสัญญาที่อ้างถึงยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด จึงไม่สามารถใช้เพื่อกำหนดพื้นที่ไหล่ทวีป ให้กินเนื้อที่เข้ามาในอ่าวไทย
สอง ข้อความในสนธิสัญญาฯ กล่าวถึงแต่พื้นที่บนชายฝั่ง ไม่ได้กล่าวถึงพื้นที่ในทะเล
ถ้าอ่านข้อความทั้งหมดในเอกสารแนบ จะเห็นได้ว่า เป็นคำบรรยายพื้นที่บนชายฝั่ง เพื่อกำหนดแบ่งแยกพื้นที่ระหว่างสยามกับกัมพูชา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพื้นที่ในทะเลแต่อย่างใด
ข้อความทั้งหมดคือ
“เขตร์แดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด เป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน และเป็นที่เข้าใจกันชัดเจนด้วยว่า แม้จะมีเหตุการณ์อย่างไรๆ ก็ดี ฟากไหล่เขาเหล่านี้ข้างทิศตะวันออกรวมทั้งที่ลุ่มน้ำคลองเกาะด้วยนั้น ต้องคงเป็นดินแดนฝ่ายอินโดจีนของฝรั่งเศส แล้วเขตร์แดนต่อไปตามสันเขาพนมกระวานทาง
ทิศเหนือ จนถึงเขาพนมทม ซึ่งเป็นเขาใหญ่ปันน้ำทั้งหลายระหว่างลำน้ำที่ไหลตกอ่าวสยามฝ่ายหนึ่ง กับลำน้ำน้ำที่
ตกทะเลสาปอีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่เขาพนมทมนี้เขตร์แดนไปตามทิศพายัพก่อนแล้ว จึงไปตามทิศเหนือตามเขตร์แดน ซึ่งเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ระหว่างเมืองพระตะบองฝ่ายหนึ่ง กับเมืองจันทบุรีแลเมืองตราดอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ต่อไปจนถึงที่เซตร์แดนนี้ข้ามลำน้ำใส ตั้งแต่นี้ต่อไปตามลำน้ำนี้จนถึงปากที่ต่อกับลำน้ำน้ำศรีโสภณ และตามลำน้ำศรีโสภนต่อไปจนถึงที่แห่งหนึ่งในลำน้ำนี้ ประมาณสิบกิโลเมตร์หรือสองร้อยห้าสิบเส้นใต้เมืองอารัญ ตั้งแต่นี้ตีเส้นตรงไปจนถึงเขาแดงแรก ตรงระหว่างกลางทางช่องเขาทั้ง ๒ ที่เรียกว่าช่องตะโกกับช่องเสม็ด แต่ได้เป็นที่เข้าใจกันว่า เส้นเขตร์แดนที่กล่าวมาที่สุดนี้ จะต้องปักปันกันให้มีทางเดินตรงในระหว่างเมืองอารัญกับซ่องตะโกคงไว้ในเขตร์กรุงสยาม ตั้งแต่ที่เขาแดงแรกที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เขตร์แดนต่อไปตามเขาปันน้ำที่ตกทะเลสาปและน้ำโขงฝ่ายหนึ่ง กับที่ตกน้ำมูนอีกฝ่ายหนึ่งแล้วต่อไปจนตกลำแม่น้ำโขงใต้ปากมูน ตรงปากห้วยดอนตามเส้นเขตร์แดน ที่กรรมการปักปันแดนครั้งก่อนได้ตกลงกันแล้วเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ คริสตศักราช ๑๔๐๗”
สรุปแล้ว ข้อความทั้งหมดบรรยายเกี่ยวกับพื้นที่บนชายฝั่ง
สาม แผนที่แนบสนธิสัญญาฯ ก็บรรยายสภาพภูมิประเทศบนชายฝั่ง
สนธิสัญญาฯ ระบุว่า “ได้เขียนเส้นพรมแดนประเมินไว้อย่างหนึ่ง ในแผนที่ตามความที่กล่าวในข้อนี้ติดเนื่องไว้ท้ายสัญญานี้ด้วย”
จะเห็นได้ว่า แผนที่แนบสนธิสัญญาฯ มีแต่สภาพภูมิประเทศบนชายฝั่ง เพื่อกำหนดพรมแดนคร่าวๆ หลักฐานสามอย่างนี้สรุปได้ว่า การที่กัมพูชาลากเส้นผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด ไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาฯ ด้วยประการทั้งปวง
ผมจึงเห็นตามหลักฐานเหล่านี้ว่า MOU44 อาจจะผิดกฎหมาย ผมจึงขอแนะนำให้นายภูมิธรรม ระวังดำเนินการที่ผิดกฎหมาย
ควรเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ยกเลิก MOU44 พร้อมแจ้งกัมพูชาว่า การที่ในปี 2515 กัมพูชาลากเส้นผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด ออกไปยังอ่าวไทย เพื่อกำหนดเขตไหล่ทวีปนั้น ไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาฯ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ช่วยกันแชร์! 'เทพมนตรี' แนะวิธีการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลด้วยการยกเลิกMOU44
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thepmontri Limpaphayorm หัวข้อ การ
จี้รัฐบาลประท้วงกัมพูชา
"สนธิรัตน์" นำทีมพลังประชารัฐลงพื้นที่ตราด "ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์" ชี้อันตรายมาก แนวสันเขื่อนดินที่กัมพูชาสร้างต่อเติมออกไป หากไม่มีการประท้วงหรือไม่มีข้อคัดค้านใดๆ ก
พปชร. ลงตราด ชวนชาวบ้านในพื้นที่ร่วมคัดค้าน MOU 44
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานร่วมศูนย์นโยบาย และวิชาการ และ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ ได้เดินทางมาเยี่ยมพี่น้องประชาชนในจังหวัดตราด โดยได้รับการประสานงานจากประชาชนในพื้นที่
'ดร.อานนท์' ยกนิ้วชม 'ลุงป้อม' สมกับเป็นทหาร!
ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
‘เกาะกูด’ สงครามที่ ‘ทักษิณ’ ไม่มีทางชนะ จับตาจะถอยอย่างไร ไม่ให้ตัวเองเสียหน้า และ ‘ฮุนเซน’ เสียใจ
ประเด็นเรื่องเกาะกูดเป็นของไทยหรือไม่ นั้น ได้ข้อยุติจากคุณทักษิณเมื่อวานนั้น ว่ารัฐบาลไทยก็เห็นด้วย ว่าเป็นของคนไทย แต่จะเห็น
'วรงค์' สวน 'ทักษิณ' โคตรควาย! จะเอาแต่ผลประโยชน์ ไม่สนใจเสียดินแดนตามมา
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #ควายหรือโคตรควาย