เอ็ดดี้ ข้องใจปม ‘เกาะกูด’ ถาม ‘ทักษิณ’ มีข้อตกลงอะไรกับ ‘ฮุนเซน’ หรือไม่

28 ต.ค.2567-อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ เรื่อง “เกาะกูด ทักษิณ ชินวัตร ไร้น้ำยา ไม่สมราคาคุย หรือ ทักษิณ ชินวัตร มีข้อตกลงอะไรกับฮุนเซน หรือไม่ อย่างไร เป็นคำถามที่ค้างคาใจประชาชนคนไทยทั้งชาติ?” ระบุว่า ตาม สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907) ฝรั่งเศสได้ยอมคืนดินแดนบางส่วน รวมถึง เกาะกูด และดินแดนในแถบจังหวัดตราดและด่านซ้ายให้แก่สยาม หลังจากที่ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองบางพื้นที่ในช่วงวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 โดยตามสนธิสัญญาฉบับนี้ สยามได้สละสิทธิ์ในบางพื้นที่ของฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของลาว) แต่ได้รับดินแดนในฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยคืน

ดังนั้น เกาะกูด และพื้นที่ที่ฝรั่งเศสได้คืนให้ตามสนธิสัญญานี้ จึงถือเป็นของไทยตามหลักกฎหมายและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไทยจะมีหลักฐานจาก สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907) ที่แสดงว่าฝรั่งเศสยอมคืนเกาะกูดและดินแดนในบางส่วนให้กับสยาม แต่ถ้ากัมพูชาเกิดอ้างสิทธิจนเรื่องราวไปถึงศาลโลกขึ้นมา ไทยก็อาจไม่ได้ชนะคดีทันที ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการในระบบกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้การตัดสินข้อพิพาทไม่ได้ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว:

1. แนวทางการแก้ไขปัญหาในระดับสากล: การตัดสินของศาลโลกมักจะคำนึงถึงแนวทางที่สร้างความยุติธรรมให้กับทั้งสองฝ่าย รวมถึงการเจรจาและข้อตกลงในอนาคต การตัดสินที่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจทำให้เกิดความตึงเครียดและเป็นปัญหาทางการทูต ดังนั้น ศาลโลกมักมองหาทางออกที่เป็นกลางและให้ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน

2. หลักการกฎหมายระหว่างประเทศและ UNCLOS: ในกรณีของเขตน่านน้ำ ศาลโลกมักจะใช้ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) เป็นหลักในการพิจารณา โดยเฉพาะในเรื่องของเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) ซึ่งจะใช้หลักเส้นกึ่งกลางในการแบ่งเขต หากพิจารณาแล้วว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีสิทธิ์สมบูรณ์เหนือพื้นที่นั้น ศาลอาจเลือกที่จะตัดสินให้มีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน

3. การตีความกฎหมายและสนธิสัญญา: ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ไม่ได้พิจารณาเฉพาะเอกสารหรือสนธิสัญญาเพียงอย่างเดียว แต่ยังคำนึงถึงการตีความกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น หลักการของสนธิสัญญาและการตีความขอบเขตอำนาจของแต่ละฝ่ายในพื้นที่พิพาท รวมถึงหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและใช้ประโยชน์พื้นที่นั้น

4. หลักฐานการควบคุมและประโยชน์: หากกัมพูชามีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นมาอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้รับการคัดค้านจากไทย ก็อาจเป็นหลักฐานที่ศาลนำมาพิจารณาว่าเป็นพื้นที่ที่มีข้อพิพาทซึ่งควรต้องมีข้อตกลงพิเศษในการแบ่งผลประโยชน์ หรือศาลอาจตัดสินว่าทั้งสองฝ่ายควรร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่นั้น

ดังนั้น แม้ว่าไทยจะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน การพิจารณาคดีในศาลโลกมีความซับซ้อนและใช้หลักการกฎหมายระหว่างประเทศหลากหลายด้าน ซึ่งทำให้ไม่สามารถรับรองได้ว่าไทยจะชนะคดีได้เสมอ

แต่จากหลักการในข้อที่ 4 หลักฐานการควบคุมและประโยชน์

ตามข้อมูลที่มีอยู่ เกาะกูดอยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศไทย ตามที่กำหนดใน สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907) ซึ่งฝรั่งเศสได้ยอมคืนเกาะกูดและจังหวัดตราดให้แก่สยาม ขณะนั้นกัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส จึงไม่ได้โต้แย้งในอำนาจอธิปไตยของสยามเหนือเกาะกูด นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้ยืนยันหลายครั้งว่าเกาะกูดเป็นของไทย “โดยไม่มีหลักฐานว่ากัมพูชาได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องแต่อย่างใด“

ข้อพิพาทในพื้นที่ทะเลใกล้เคียง ซึ่งเรียกว่า เขตน่านน้ำที่ทับซ้อน (Overlapping Claims Area – OCA) เป็นพื้นที่ที่วันดีคืนดีกัมพูชาก็ลุกขึ้นมาอ้างสิทธิ์

ปัญหาเกิดขึ้นตรงที่ว่า ประเทศไทยโดยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กลับไปลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในปี 2001 เพื่อยอมรับการเจรจาแบ่งปันทรัพยากรในพื้นที่นี้ ซึ่งครอบคลุมถึงแหล่งปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติที่มีมูลค่าสูง 

ทั้งที่….

1. จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์: ในขณะที่กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและฝรั่งเศสได้ยอมคืนเกาะกูดและจังหวัดตราดให้แก่สยาม ที่ปรากฏเป็นหลักฐานตาม สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907) และกัมพูชาซึ่งเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ไม่ได้โต้แย้งในอำนาจอธิปไตยของสยามเหนือเกาะกูด

2. จากหลักฐานการควบคุมและประโยชน์: ฝ่ายไทยยังได้ยืนยันหลายครั้งว่าเกาะกูดเป็นของไทย “โดยไม่มีหลักฐานว่ากัมพูชาได้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องแต่อย่างใด“

จากหลักฐาน 2 ประการเป็นอย่างน้อยนี้ก็เป็นหลักฐานยืนยันเชิงประจักษ์แล้วว่า เกาะกูดเป็นของไทย

แล้วถึงแม้ว่าถ้าสมมติกัมพูชาไปฟ้องศาลโลก ไทยก็ยังสามารถชนะคดีจากหลักฐานเชิงประจักษ์ดังกล่าว

คำถามคือ ทำไม รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จึงไปยอมรับโดยง่ายดายกับการอ้างสิทธิ์ของกัมพูชาทั้งที่ไม่มีสิทธิ์

ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งคุยหนักหนาว่าเป็นผู้นำที่เก่งรอบด้าน ทำไมอยู่ๆ กลับไร้ความสามารถในกิจการระหว่างประเทศกับประเทศที่เป็นรองประเทศไทยทุกด้าน ขึ้นมาในบัดดล

ผิดกับรัฐบาลของพระบาทสมพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ที่ถึงแม้สยามจะเป็นรองฝรั่งเศสมหาอำนาจอันดับ 2 ของโลกในขณะนั้น แต่ยังทรงใช้พระปรีชาสามารถเอาเกาะกูดมาเป็นของไทยได้

แผ่นดินที่เป็นของเรามาตั้งแต่ทักษิณยังไม่เกิด แต่เมื่อทักษิณเติบโตจนเป็นผู้นำประเทศ กลับไปยอมทำรับว่า เกาะกูดเป็นพื้นที่ทับซ้อนร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชา

พระมหากษัตริย์ทำให้ไทยได้คืนดีพื้นแผ่นดิน

แต่นักการเมืองทำให้ไทยสูญเสียแผ่นดิน

สรุป ทักษิณ ชินวัตร ไร้น้ำยา ไม่สมราคาคุย หรือ ทักษิณ ชินวัตร มีข้อตกลงอะไรกับฮุนเซน หรือไม่ อย่างไร เป็นคำถามที่ค้างคาใจประชาชนคนไทยทั้งชาติ

แพทองธาร ชินวัตร นายกฯทายาทนายกฯ จะสานต่องานที่พ่อทำไว้ให้กัมพูชาได้เกาะกูดเป็นพื้นที่ทับซ้อนหรือไม่ คงรู้คำตอบตั้งแต่ยังไม่เริ่มเจรจาแล้วใช่มั้ย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หอบหลักฐานยุบ 6 พรรค มัด 'ทักษิณ' ครอบงำ ท้า 'พท.-ชินวัตร' สาบานวัดพระแก้ว

'พิราบขาว' หอบหลักฐาน แจง กกต. คำร้องยุบ 6 พรรค ยันสัมพันธ์ชัด 'ทักษิณ' ครอบงำสั่งการ บี้นายกฯอิ๊งค์เปิดภาพแค่กินข้าวจริงหรือไม่ ท้า 'พท.-ชินวัตร' สาบานวัดพระแก้ว

‘ธีระชัย’ ถาม ‘ภูมิธรรม’ ปมเกาะกูด หลักฐาน MOU44 ชัวร์หรือมั่วนิ่ม

เห็นตามหลักฐานเหล่านี้ว่า MOU44 อาจจะผิดกฎหมาย  ผมจึงขอแนะนำให้นายภูมิธรรม ระวังดำเนินการที่ผิดกฎหมาย ควรเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ยกเลิก MOU44  พร้อมแจ้งกัมพูชาว่า การที่ในปี 2515 กัมพูชาลากเส้นผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูด ออกไปยังอ่าวไทย เพื่อกำหนดเขตไหล่ทวีปนั้น ไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาฯ

'อิ๊งค์' คุย กกร. ชื่นมื่น! ปลื้มอวย 'พ่อนายกฯ' แก้เศรษฐกิจเก่งสุด

นายกฯ คุย ‘กกร.’ รับข้อเสนอแก้เศรษฐกิจ จับมือเอกชนหารายได้ใหม่เข้าประเทศ ด้าน ‘สนั่น’ เชื่อมั่นรัฐบาลอิ๊งค์ พร้อมช่วยดันจีดีพีโต ชมเปาะ 'ทักษิณ' เก่งสุด

'สว.ชิบ' เค้นรัฐบาล! ใครสั่งโยกคดี 'ดิไอคอน' ให้ดีเอสไอ หวั่นบอสรอดคุก

'สว.ชิบ' ตั้งกระทู้ถามนายกฯ ข้องใจคำสั่งจากใคร ทำให้รัฐบาลโยกคดี 'ดิ ไอคอน' ใส่มือดีเอสไอ หวั่นสรุปคดีไม่ทันเวลา เปิดโอกาสบรรดา 'บอส' รอดคุก

ไทยคงต้องตายกันยกแผง! ‘สมหมาย ภาษี’ ซัดตรงรัฐบาล ไม่เห็นทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

เรื่องที่เป็นนโยบายจะทำโน่นทำนี่เพื่อแก้ไขเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งการยกระดับคนจนระดับล่างให้ดีขึ้น ไม่เห็นรัฐบาลนี้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

เครือข่ายชาวเลอันดามัน ยื่น 3 ข้อ ขอรัฐบาลแก้ไขปัญหา ฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล

เครือข่ายชาวเลอันดามัน นำโดย นายวิทวัส เทพสง ผู้ประสานงานฯ พร้อมตัวแทน 10 คน ยื่นหนังสือถึงนายกฯ