25 ต.ค.2567- ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “คุยกับหม่อมกร” ระบุว่า
เนื่องในวันปิยะมหาราช
ก็รำลึกถึงพระองค์ท่านจึงหยิบสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสมาอ่าน เพราะกำลังเป็น กระแสว่า พื้นที่อ่าวไทยแท้ๆ กลับมีเจ้าของร่วมเป็นกัมพูชา ทั้งที่พระองค์ท่านได้คืนมาด้วยความเสียพระทัยอย่างยิ่ง ยอมเสียดินแดน พระตะบอง เสียมราฐ สีโสภณ ให้ฝรั่งเศสไป เพื่อแลกเอาจังหวัดตราดซึ่งเป็นชาวสยามกลับคืนสู่มาตุภูมิ สนธิสัญญาสยาม ฝรั่งเศส ระบุชัดเจนตามมาตรา 2 ว่า รัฐบาลฝรั่งเศสยกดินแดนด่านซ้าย และตราดให้แก่สยาม รวม ทั้งเกาะทั้งหมดที่ตั้งอยู่ทางใต้ของแหลมลิง (แหลมสิงห์) ลงไปและรวมถึงเกาะกูด เป็นอันชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของไทยโดยสมบูรณ์
ประเทศไทยได้ให้สัมปทานปิโตรเลียมในปี 2514 กลับบริษัทบริษัทยูโนแคล และบริษัท บริติส แก๊ส ต่อมา ในปี 2515 กัมพูชาได้ขีดเส้นพรมแดนทางทะเลข้ามเกาะกูดมายังกลางอ่าวไทย ทับพื้นที่สัมปทานปิโตรเลียมไทยอย่างไม่แยแส เส้นเขตแดนทางทะเลของกัมพูชาดังกล่าว ขัดต่อกฎหมายสากลทั้งอนุสัญญาเจนีวา 1958 ราวกับการขัดขาไทยไม่ให้ดำเนินการใดๆ ในพื้นที่ของไทยเอง
ในปี 2516 ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงมีพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย โดยยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศ “อนุสัญญาเจนีวา 1958” เพื่อแสดงแนวของไหล่ทวีปที่ติดกับประเทศข้างเคียง
แต่ฝ่ายกัมพูชากลับประกาศให้สัมปทานปิโตรเลียมทับบนพื้นที่ ที่แนบท้ายพระบรมราชโองการ แก่ชาติมหาอำนาจตะวันตก ดังนั้น สิ่งที่ไทยควรทำ คือ การแจ้งให้ฝ่ายกัมพูชา ทราบว่าสิ่งที่ดำเนินการไปนั้น มิได้เป็นไปตามกฎหมายสากล เป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยสูงสุดของไทย และมีผลกระทบกระเทือนต่อพระบรมราชโองการย่อมเป็นการเสียสัมพันธไมตรี และขอให้กัมพูชาขีดเส้นเขตแดนตามกฎหมายสากล
แต่รัฐบาลไทยในปี 2544 กลับกระทำตรงกันข้ามคือ ไปทำหนังสือ MOU ยอมรับเส้นเขตแดนที่ไม่มีกฎหมายสากลรองรับของฝ่ายกัมพูชา โดยรัฐบาลไทยโฆษณาว่า จะได้ขุดน้ำมัน และก๊าซร่วมกัน ราคาพลังงานจะได้ถูกลง ทั้งที่ไม่เป็นความจริง เนื่องจากเราได้ให้สัมปทานปิโตรเลียมให้แก่ชาติตะวันตกหมดสิ้นแล้ว สิทธิในทรัพยากรจึงเป็นของบริษัท ไทยจะได้เพียง ค่าภาคหลวงและภาษี ซึ่งถือว่า เล็กน้อยเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของบริษัท ที่สำคัญคือหากฝ่ายไทยยอมรับว่ากัมพูชาเป็นเจ้าของร่วมในพื้นที่ดังกล่าวนั่น ย่อมหมายความว่า มิใช่เพียงสิทธิการขุดน้ำมันและก๊าซ ที่จะต้องสละให้กัมพูชาครึ่งหนึ่ง แต่รวมถึงพื้นที่น่านน้ำอ่าวไทยในการทำประมงและท่องเที่ยว และพื้นที่น่านฟ้าเหนือพื้นที่ทับซ้อนจะเป็นสิทธิร่วมกับกัมพูชาทันที คณะรัฐมนตรีจึงสมควรนำ MOU 2544 เข้าสู่รัฐสภาเพื่อยกเลิกโดยเร็ว
เรื่อง MOU 2544 นี้ เงียบหายไปหลายปี จนกระทั่งปัจจุบันนายกรัฐมนตรีได้กลับมาพูดเรื่องนี้ครั้งหนึ่ง ว่าจะเร่งเจรจาให้จบโดยเร็ว และมีข่าวลือว่า US Asean business council มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลักดันอย่างเต็มที่เพราะเป็นผลประโยชน์ของบริษัทสัญชาติตะวันตก แต่คำถามที่ประชาชนต้องหาคำตอบคือ ฝ่ายรัฐบาลไทยเร่งรีบเจรจาตามกรอบเดิม เพื่อผลประโยชน์ของใคร ทั้งที่ MOU 2544 มีผลขัดแย้งกับพระบรมราชโองการ ปี 2516 และสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดนดังเช่นกรณีเขาพระวิหาร
และที่สำคัญที่สุด คือ เมื่อ MOU 2544 สัมฤทธิ์ผลจะเป็นการชักศึกเข้าบ้าน เพราะพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นของมหาอำนาจตะวันตก จึงเป็นเป้าหมายการโจมตีทางยุทธศาสตร์หากเกิดสงครามขึ้น ผลกระทบอย่างใหญ่หลวงก็จะขึ้นกับประเทศ และคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สมชาย กางเหตุผลทำไม ไทยถึงเสียดินแดน ถ้าไม่ปักปันเขตแดน ก่อนเจรจา MOU2544
นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ทำไมการดื้อเจรจาตาม MOU2544 แบ่งผลประโยชน์กัน ถ้าไม่ปักปันเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชาให้ถูกต้องยุติก่อน
'ดร.อาทิตย์' ข้องใจทำไม พระบรมราชโองการ-คำพิพากษาศาลฎีกา ไม่ได้รับการปฏิบัติตาม
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
'พปชร.' ลั่น ยกเลิก MOU44 ฝ่ายเดียวได้ หวั่นเอกสารแนบท้าย ทำไทยเสี่ยงเสียพื้นที่ทางทะเล
พปชร. ย้ำจุดยืน ยกเลิกเอ็มโอยู 44 ทำฉบับใหม่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายสากล ระบุ เลิกฝ่ายเดียวได้ ชี้ เอกสารแนบท้ายมีข้อบกพร่องเยอะ ทำไทยเสียเปรียบ เสี่ยงเสียพื้นที่ทางทะเล จี้ กต.แจง ปมทำผิดกติกาสากล ปัด เคลื่อนไหวหวังผลทางการเมือง
'อิ๊งค์-อ้วน' ยัน MOU44 สำคัญ ไทยต้องคุยกัมพูชาชัดเรื่องเขตแดนภายใต้ JTC แล้วนำเข้ารัฐสภา
นายกฯ ยัน MOU44 สำคัญ ย้ำไม่ยกเลิกฝ่ายเดียวจะเกิดปัญหาระหว่างประเทศ ไทยต้องคุยกับกัมพูชาชัดเรื่องเขตแดน ภายใต้คกก. JTC เพื่อเป็นหลักฐานการคุย คาดตั้งเสร็จกลาง พ.ย.นี้ ลั่นผลประโยชน์ใต้ทะเลยังไม่คุยจนกว่าจะชัดเจนและนำเข้ารัฐสภา ยอมรับกัมพูชาถามคืบหน้า
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' แจงยุค 'ลุงตู่' เจรจา 'เกาะกูด' 3 แนวทาง ไม่มีแรงต้านเหมือนนักการเมือง
8พ.ย.2567-นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าบูรณภาพกับพลังงานอะไรมาก่อน
จี้รัฐบาลยื่นข้อเสนอให้กัมพูชายอมรับแผนที่ UNCLOS เพื่อยุติปัญหาพื้นที่ทับซ้อนโดยเร็ว
ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์เฟซบุ๊ก หัวข้อ แผนที่ UNCLOS ช่วยยุติพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา มีเนื้อหาดังนี้่