22 ต.ค.2567- อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ระบุข้อความว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรจ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างไร?
พอล แชมเบอร์ส ระบุว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการแต่งตั้งตำแหน่งระดับสูงในกองทัพ
ดร.พอล แชมเบอร์ เป็นอาจารย์และที่ปรึกษาพิเศษด้านกิจการต่างประเทศ ของ Center of ASEAN Community Studies คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทความมากมายของเขาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสถาบันกษัตริย์ กับความสัมพันธ์ระหว่าง ทหารและพลเรือน และระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
นี่คือส่วนหนึ่งของการวิพากษ์วิจารณ์ของเขา ว่าพระมหากษัตริย์มีอำนาจทางกฎหมายมากกว่านายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งในเรื่องการปรับโครงสร้างกองทัพ ดังนี้
“เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2024 ประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนผู้นำในกองทัพและตำรวจใหม่ ซึ่งการแต่งตั้งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงระดับสูงมีอำนาจผูกขาดในด้านการควบคุมอาวุธของประเทศ
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ขาดการควบคุมกองทัพโดยพลเรือน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ กองทัพยังคงอยู่ภายใต้อำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยพระมหากษัตริย์มีอำนาจทางกฎหมายมากกว่านายกรัฐมนตรีที่ได้รับการเลือกตั้งในเรื่องการปรับโครงสร้างกองทัพ
ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญต่อกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย การปรับโครงสร้างกองทัพในปีนี้แสดงถึงความแตกแยกภายในและความตึงเครียดระหว่างความต้องการของพลเรือนและทหาร”
Prime Minister Paethongtarn Shinawatra’s government currently lacks civilian control over the military, which, under the constitution, remains under the authority of His Majesty the King. The King, rather than the elected Prime Minister, wields more legal power over decisions regarding military reshuffles—a clear impediment to the democratization process.
https://www.iseas.edu.sg/…/thailands-2024-military-and…/
พอล แชมเบอร์ส ระบุว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการแต่งตั้งตำแหน่งระดับสูงในกองทัพ
แต่ข้อเท็จจริงตามหลักรัฐธรรมนูญของไทย การแต่งตั้งข้าราชการทหารระดับสูง เช่น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้บัญชาการเหล่าทัพนั้น อยู่ในอำนาจของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้เสนอรายชื่อเพื่อให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย
นักการเมือง โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มีบทบาทหลักในการแต่งตั้งตำแหน่งสูงในกองทัพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องผ่านคณะรัฐมนตรีและระบบการปกครองตามรัฐธรรมนูญ การลงพระปรมาภิไธยจากพระมหากษัตริย์เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบรัฐธรรมนูญแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)
สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยและมีบทบาทเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งสอดคล้องกับ หลักการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีบทบาทในการบริหารประเทศโดยตรง การเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนจึงเน้นไปที่การส่งเสริมความสามัคคีและความสงบสุขมากกว่าการแทรกแซงทางการเมือง
สถาบันพระมหากษัตริย์ยังเป็นศูนย์กลางความเป็นเอกภาพของคนไทย สังเกตได้ชัดเจนจากการที่สถาบันฯ ยังคงเป็นที่เคารพรักของประชาชน ก็เพราะการที่สถาบันฯ ส่งเสริมคุณค่าแห่งความสงบสุขและความเจริญรุ่งเรืองของสังคมไทย
ดังนั้น ความเห็นที่ว่า “รัฐบาลพลเรือนไม่มีอำนาจในการควบคุมกองทัพ และการแต่งตั้งข้าราชการทหารระดับสูงอยู่ภายใต้การควบคุมของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการตีความที่ไม่ตรงกับหลักการปกครองปัจจุบันของไทย และถือเป็นการบิดเบือนเพื่อสร้างความบั่นทอนให้เกิดขึ้นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย
เนื่องจากอำนาจการแต่งตั้งตำแหน่งสูงในกองทัพอยู่ภายใต้อำนาจริหารของรัฐบาล รัฐมนตรีกลาโหมก็เป็นพลเรือน เป็นนักการเมืองจากพรรคแกนนำของรัฐบาล
คนไทย หน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติและรัฐบาลไทย จะปล่อยให้คนต่างชาติอาศัยแผ่นดินไทย ปลุกปั่นและบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นองค์พระประมุขของชาติ ไปอีกนานแค่ไหน หรือจะรอวันให้เขาล้มเจ้าสำเร็จ
มหาวิทยาลัยนเรศวร จ้างฝรั่งมาสอน หรือปลุกปั่น หรือชี้นำให้นักศึกษามองพระมหากษัตริย์อย่างบิดเบือน ด้วยจุดประสงค์ใด?
มหาวิทยาลัยนเรศวร จ้างฝรั่งเข้ามาสร้างข้อมูลบิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง เพื่อบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือไม่?
มหาวิทยาลัยนเรศวร มีจุดประสงค์ซ่อนเร้นอะไรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์หรือไม่?
คนไทยและหน่วยงานของรัฐ จะปล่อยให้ มหาวิทยาลัยนเรศวรจ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ อันอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือ?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แก้วสรร : หลักคิดทางกฎหมายเรื่องอำนาจบริหารโทษของราชทัณฑ์
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
'บิ๊กเล็ก' ยันกองทัพไม่ได้อ่อนแอ รัฐบาลสั่งก็พร้อม ลั่นรบว้าแดงไม่ยาก แต่ผลกระทบเกินเยียวยา
พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทยเมียนมา กรณีพื้นที่ที่มีการพิพาทเกิดขึ้นกับกลุ่มว้าแดงในขณะนี้ ว่า ประเด็นนี้ไม่ขอลงรายละเอียด
'บิ๊กเล็ก' คาดร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบกลาโหม เสร็จอย่างช้า ก.พ.68
พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการตรวจเยี่ยมกองบัญชาการกองทัพบก ว่า เป็นไปตามที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีแ
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'อนาคตรัฐบาลชินวัตร 4 ใต้กรอบกฎหมายไทย'
นายแก้วสรร อติโพธิ วิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง "อนาคตรัฐบาลชินวัตร 4 ใต้กรอบกฎหมายไทย"
'หัวเขียง' ปรับแก้ 10 กว่าจุด ลั่นหัวเด็ดตีนขาดยังไงก็ต้องเสนอ กม.ยึดอำนาจกองทัพ กลับไปใหม่
นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าในวันที่ 12 ธ.ค.ตนจะแจ้งเรื่องต่อที่ประชุมพรรคเพื่อไทย เพื่อขอถอนร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่เสนอ
นายกฯอิ๊งค์ ยืนยันจุดยืนรัฐบาล ไม่มีเจตนาแทรกแซงกองทัพ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ว่า เรื่องนี้มีความคิดเห็นต่างกันอยู่แล้วก็ต้องรับฟังทุก