'รสนา' ฉะรัฐบาลอย่าอ้างเรื่องพลังงานแล้วทำไทยเสียดินแดน!

17 ต.ค.2567 - น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “อย่าปล่อยให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนเพิ่มด้วยข้ออ้างเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน” ระบุว่า ข้ออ้างรัฐบาลเจรจาพื้นที่อ้างว่าทับซ้อนกันทางทะเลระหว่างไทย -กัมพูชาเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน เป็นพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่มโหฬารถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร

ไม่มีประเทศไหนที่จะมีพื้นที่อ้างว่าทับซ้อนกัน ที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 26,000 ตารางกิโลเมตรอย่างกรณีนี้เลย
ขอให้ดูแหล่ง JDA พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย มาเลเซียมีขนาดพื้นที่เพียง 7,250 ตารางกิโลเมตรเท่านั้นหากจะมีพื้นที่ที่ทับซ้อนกันจริงระหว่างไทยกับกัมพูชา ก็ไม่ควรมีพื้นที่ใหญ่เกินกว่าแหล่ง JDA ที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง ไทย กับ มาเลเซีย

รัฐบาลที่อ้างว่าสนิทชิดเชื้อกับผู้นำฝ่ายกัมพูชาควรเกลี้ยกล่อมให้กัมพูชายอมรับการเจรจาแบ่งเขตแดน ตามกฎหมายทะเลให้เสร็จสิ้นเสียก่อน การจัดการผลประโยชน์ทางทะเล

การเจรจาแบ่งเขตแดน และแบ่งผลประโยชน์ตาม MOU 2544 ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายทะเล ย่อมมีข้อน่าสงสัยในเจตนาและความโปร่งใสของรัฐบาลว่าเป็นเจตนาดีต่อประเทศจริงหรือไม่ หรือสนใจเพียงผลประโยชน์ของนักการเมืองและกลุ่มทุนเท่านั้น ใช่หรือไม่

ใน MOU 2544 มีข้อตกลงว่าพื้นที่เหนือเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือ ให้เจรจาแบ่งเขตแดน ส่วนใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการแบ่งผลประโยชน์กัน โดยมีการกำหนดสัดส่วนแบ่งผลประโยชน์ไว้แล้ว คือส่วนที่ติดฝั่งไทยไทยได้ 90% กัมพูชาได้ 10% ตรงกลางแบ่งกัน 50:50 ส่วนที่ติดฝั่งกัมพูชา ไทยได้10% กัมพูชาได้90 % (ดูรูป 1))

การกำหนดสัดส่วนแบ่งผลประโยชน์เช่นนี้ ย่อมกระทบต่อดินแดนในอธิปไตยของไทยทั้งดินแดนส่วนที่อยู่เหนือ และอยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนืออย่างแน่นอน ใช่หรือไม่

การแบ่งเขตแดนและแบ่งผลประโยชน์แบบในข้อตกลง MOU 2544 ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายทะเล ที่เส้นเขตแดนทางทะเลต้องลากเส้นกึ่งกลางจากเกาะกูดของไทย และเกาะกงของกัมพูชา (ดูรูป 2)

การแบ่งผลประโยชน์ตามรูปที่1 กัมพูชาจะสามารถอ้างสิทธิเป็นเจ้าของดินแดนเพิ่มขึ้นในภายหลังได้ ดินแดนที่เคยเป็นของไทยตามกฎหมายทะเล จะกลายเป็นดินแดนของกัมพูชา เพราะการมีผลประโยชน์แม้เพียง 10% ก็ย่อมสามารถอ้างสิทธิในดินแดนตรงจุดนั้นได้ ใช่หรือไม่

ข้ออ้างว่าต้องรีบเร่งแบ่งผลประโยชน์กันเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน แท้ที่จริงแล้วเป็นความมั่นคงทางพลังงานของใครกันแน่ ?!?

ต่อให้ได้ก๊าซและน้ำมันจากพื้นที่นี้ คนไทยก็ไม่มีหวังจะได้ค่าไฟที่ถูกลง ค่าน้ำมันที่ถูกลง และค่าก๊าซหุงต้มที่ถูกลง มีแต่นักการเมืองและกลุ่มทุนพลังงานจะรวยขึ้น แต่ประเทศต้องเสี่ยงในการเสียดินแดนเพิ่มขึ้น ใช่หรือไม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อาจารย์อุ๋ย' แนะรัฐบาลต้องส่งทหารเข้าตรึงพื้นที่เกาะกูดก่อนเปิดเจรจากัมพูชา

อาจารย์อุ๋ยจี้รัฐบาลเลิกใช้คำว่า 'พื้นที่ทับซ้อน' ชี้เกาะกูดและพื้นที่ทางทะเลเป็นของไทย 100 % ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ย้ำ!ไทยต้องส่งกองกำลังเข้าตรึงพื้นที่ก่อนเปิดเจรจาขุมพลังงาน

'พัชรวาท' สั่ง 3 ข้อเร่งด่วน แนวทางแก้ปมพิพาทป่าทับลาน

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากกรณีกรณีปัญหาพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานที่มีประชาชนแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางนั้น

'ธรรมนัส' แจงปม Saveทับลาน ไม่เกี่ยว ก.เกษตรฯ อย่าโยงพาดพิง สปก.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาพื้นที่ทับซ้อนในอำเภอทับลาน จังหวัดนครราชสีมา ว่า ขั้นตอนขณะนี้ไม่อยู่ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ผ่านมาทุกเรื่องของกระทรวงเกษตรฯ

ทร.แจงปมเสี่ยงเสียดินแดนทางทะเล หลังกัมพูชาสร้างเขื่อนกันคลื่น

พลเรือตรี วีรุดม ม่วงจีน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า ภารกิจหน้าที่ของกองทัพเรือ ที่สำคัญคือ การรักษาสิทธิและอธิปไตยตามแนวเขตแดน ตาม