'อาจารย์อุ๋ย' แนะรัฐบาลต้องส่งทหารเข้าตรึงพื้นที่เกาะกูดก่อนเปิดเจรจากัมพูชา

อาจารย์อุ๋ยจี้รัฐบาลเลิกใช้คำว่า 'พื้นที่ทับซ้อน' ชี้เกาะกูดและพื้นที่ทางทะเลเป็นของไทย 100 % ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ย้ำ!ไทยต้องส่งกองกำลังเข้าตรึงพื้นที่ก่อนเปิดเจรจาขุมพลังงาน

16 ต.ค. 2567 - นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย หรืออาจารย์อุ๋ย นักวิชาการด้านกฎหมายและอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า กรณีพื้นที่พิพาททางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา บริเวณเกาะกูด เป็นของไทยนับแต่ที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 กับฝรั่งเศสทำสนธิสัญญากันเมื่อปี พ.ศ. 2450 หรือ ร.ศ.125 ซึ่งฝรั่งเศสตกลงคืนจันทบุรี ตราด และเกาะกูดให้แก่สยาม แลกกับดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้แก่ จังหวัดเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวมีความสมบูรณ์ในตัวเองตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และในปี พ.ศ. 2516 รัฐบาลไทยสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ก็ลากเส้นเขตแดนไทยโดยวัดจากจุดกึ่งกลางระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง โดยประกาศพิกัดภูมิศาสตร์ของไหล่ทวีปในอ่าวไทยทั้งสิ้น 18 จุด ลากเส้นผ่านอ่าวไทยจากบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาที่จังหวัดตราด ไปจนถึงชายแดนไทย-มาเลเซียที่จังหวัดนราธิวาส ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ณ กรุงเจวีนา ค.ศ. 1958

ส่วนเส้นเขตแดนที่กัมพูชากำหนดเองในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งลากผ่ากลางเกาะกูดนั้น เป็นการขีดเส้นโดยไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศรองรับ กัมพูชาจึงไม่มีสิทธิใดๆ ในพื้นที่ และการลากเส้นตามอำเภอใจโดยไม่มีกฎหมายรองรับเช่นนี้จึงถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทยอย่างชัดแจ้ง ส่วน MOU 44 ที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายไปตกลงแบ่งพื้นที่กันเองก็ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะไม่มีการรับรองโดยรัฐสภา ทั้งที่ถือเป็นหนังสือสัญญาที่มีผลเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจของรัฐ ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภา จึงตกเป็นโมฆะ ไม่จำต้องนำมาพิจารณาบนโต๊ะเจรจาอีก

เมื่อยึดตามหลักการข้างต้นแล้ว จึงมิพักต้องพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็น “พื้นที่ทับซ้อน” อีกต่อไป แต่ถือเป็นพื้นที่ที่รัฐไทยมีอธิปไตยโดยสมบูรณ์นับแต่ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2450 ประเทศไทยจึงมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในการส่งกองกำลังเข้ายึดตรึงพื้นที่เกาะกูด และพื้นที่ทางทะเลที่เกี่ยวเนื่อง โดยไม่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะถือเป็นพื้นที่ของประเทศไทยเอง หาใช่เป็นการรุกรานประเทศอื่นไม่ และหลังจากประเทศไทยส่งกองกำลังเข้าตรึงพื้นที่แล้ว หากกัมพูชาจะขอเปิดการเจรจา ก็สามารถร้องขอมาได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายไทยว่าจะยอมเจรจาหรือไม่ หรือหากคิดว่าฝ่ายไทยสามารถบริหารแหล่งพลังงานแต่ฝ่ายเดียวได้ ก็ทำไปเลย เพราะเป็นพื้นที่ของไทย

“ผมเชื่อว่าหากมีการเจรจาก็จะต้องดำเนินไปโดยที่ประเทศไทยถือไพ่เหนือกว่าทุกประตู เพราะประเทศไทยเหนือกว่ากัมพูชาในทุกด้าน ทั้งด้านกำลังทหารและด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งอำนาจต่อรองของประเทศไทยบนเวทีโลกและความสำคัญของประเทศไทยที่มีต่อประเทศมหาอำนาจก็มากกว่ากัมพูชาไม่รู้กี่เท่า ซึ่งผมมั่นใจว่าหากถึงเวลาที่ต้องเลือก สุดท้ายแล้วประเทศมหาอำนาจจะเลือกข้างประเทศไทย”

สุดท้ายนี้ขอฝากไปยังผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ให้ทำหน้าที่รักษาอธิปไตยของประเทศอย่างเต็มที่ มิเช่นนั้นท่านจะตกเป็นคนขายชาติตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 119 ซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิต ด้วยความปรารถนาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปล่อยเกียร์ว่าง! 'มาริษ' ยอมรับรัฐบาลยังไม่ตั้งคกก.เจรจาตามกรอบ MOU 44 ไทย-กัมพูชา

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาฯคนที่สอง ทำหน้าที่ประธานในการประชุม พิจารณากระทู้ถามทั่วไปของนายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.

'นพดล' ฟังทางนี้! 'หมอวรงค์' จับโป๊ะ คำชี้แจง 'MOU 44'

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ถึงนพดล ปัทมะ" โดยระบุว่า คำพูดของนายนพดล ปัทมะ ที่ชี้แจงพันธมิตรฯ เรื่อง MOU 44

จี้รัฐบาลประท้วงกัมพูชา

"สนธิรัตน์" นำทีมพลังประชารัฐลงพื้นที่ตราด "ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์" ชี้อันตรายมาก แนวสันเขื่อนดินที่กัมพูชาสร้างต่อเติมออกไป หากไม่มีการประท้วงหรือไม่มีข้อคัดค้านใดๆ ก

พปชร. ลงตราด ชวนชาวบ้านในพื้นที่ร่วมคัดค้าน MOU 44

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานร่วมศูนย์นโยบาย และวิชาการ และ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ ได้เดินทางมาเยี่ยมพี่น้องประชาชนในจังหวัดตราด โดยได้รับการประสานงานจากประชาชนในพื้นที่